ข้าพเจ้า นายกฤษฎา พรมประโคน ประเภท บัณฑิต ผู้ปฏิบัติงาน ประจำสังกัด คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ID06 : ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ในวันที่ 2-4 เมษายน พ.ศ.2564 ณ ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด ได้เข้ารวมโครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจทอผ้าไหมพื้นเมืองประยุกต์ ชุมชนชายแดนสายตะกู นำทีมโดย รศ.สมบัติ ประจญศานต์ การออกแบบลายผ้าไหมให้กับกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าไหมพื้นเมืองประยุกต์ ชุมชนชายแดนสายตะกูการออกแบบลวดลายผ้าโดยการใช้กราฟในการเขียน จะกำหนดช่องบนกระดาษกราฟ โดยให้ 1 ช่องบนกระดาษกราฟเท่ากับลายมัดหมี่ 1 ลำ เวลาเขียนลายให้ใช้ดินสอจุดเบา ๆ ลงที่ช่องกราฟให้เห็นโครงสร้าง แล้วค่อยฝนดินสอลงเต็มช่องกราฟ โดยเขียนลายจากด้านบนลงข้างล่าง และเขียนลายตรงกลางกระดาษกราฟก่อน ถ้าลายเรขาคณิตมุมทุกมุมจะต้องตรงกัน และสามารถแบ่งครึ่งได้เสมอกันหรือเท่ากันทั้งสองด้าน หลังจากทำลวดลายส่วนบนของผืนผ้าแล้ว ค่อยมาทำเชิงผ้าทีหลัง และลงสีให้สวยงาม
การออกแบบลวดลายของผ้ามัดหมี่มีหลายรูปแบบ
- ลายมัดหมี่แบบเรขาคณิต คือ การกำหนดลงกราฟมีมุมจุดกึ่งกลางที่สามารถแบ่งครึ่งได้ เวลามัดลวดลายบนผืนผ้า ในส่วนของเส้นพุ่งให้มัดครึ่งหนึ่งของลาย เริ่มจากครึ่ง พอถอยก็จะเต็มลาย
- มัดหมี่แบบอิสระ สร้างสรรค์ คือ จะต้องร่างรูปภาพที่จะมัดหมี่แล้วมาลงกราฟ ให้ทำการคำนวณว่าลายขนาดนี้จะต้องใช้กี่ลำ เพื่อให้ได้ลายบนผ้าไหมเหมือนกับรูปภาพ
- มัดหมี่ตรงทอสไลด์ เวลาทอตั้งหมี่ให้ค่อย ๆ ไล่ไปเรื่อย ๆ แต่พอเล็กเกินก็จะตั้งสไลด์ใหม่
- มัดหมี่ทางเส้นยืน เป็นลวดลายที่สมัยก่อนนิยมทำกัน ส่วนใหญ่จะมีแต่ลวดลายแบบทรงเรขาคณิต เป็นลวดลายผ้าไหมที่ห่อคัมภีร์ในตู้พระของวัดโบราณ หรือผ้าที่ให้คนเฒ่าคนแก่ใช้มาเป็นเวลานาน
อุปกรณ์การออกแบบลวดลายผ้าไหม
- กระดาษกราฟ
- ดินสอ
- สีที่ระบาย