ข้าพเจ้านางสาวนัฐริกา กิติพันธ์ ประเภทบัณฑิต วันที่  5 กรกฏาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ไป หมู่ 3 สายโท 11 เหนือ ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ได้เข้าไปสอบถามข้อมูลกับ ผู้ใหญ่บ้านคำภีย์ หนองน้ำ เกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาของหมู่ 3 เพราะเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี  

วิสัยทัศน์ : หมู่บ้าน 11 นคร เมืองผ้าไหมสวย รวยผลิตภัณฑ์    คำขวัญ : หมู่บ้านพัฒนา ประชาสามัคคี เข้าปลามากมี ดินดีอุดม รื่นรมย์ 11 นคร

ประวัติความเป็นมา  บ้านสายโท 11 เหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยทางนิคมสร้างตนเองบ้านกรวดได้จัดสรรที่ดินที่อยู่อาศัยและตั้งชื่อตามหลักกิโลเมตร ซึ่งชาวบ้านอพยพมาจากหลายถิ่นฐานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยขณะนั้นยังเป็นหมู่ 2 ตำบลปราสาท จนกระทั่งปี พ.ศ 2517 ได้แยกออกจากตำบลปราสาท มาเป็นบ้านสายโท 11 หมู่ 3 ตำบลสายตะกู ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อปท) และได้มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายทองสุข ยกแก้ว ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ตั้งแต่นั้นมาปัจจุบันชาวบ้านนอกจากจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมแล้วยังมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆเช่นกลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มแปรรูปอาหาร งานจักสานฯ จึงได้รับความสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีตามนโยบายโครงการไทยนิยมยั่งยืนโดยการนำของนายคำภีร์ หนองน้ำผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

สภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ  บ้านสายโท 11 เหนือ เป็นที่ราบมีลำห้วยไซรตะกูไหลผ่านลักษณะดินร่วนซุย ภูมิอากาศอบอุ่นตลอดปีไม่ร้อนจัด หรือหนาวจัด ฝนตกตามฤดูกาล จากสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศดังกล่าวทำให้เหมาะแก่การทำการเกษตรปลูกข้าวนาปี ข้าวโพด พืชผักสวนครัวแบบผสมผสานซึ่งเป็นอาชีพหลักของราษฎรนอกจากนี้ยังปลูกพืชเศรษฐกิจเช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลังสร้างรายได้นำเข้าสู่ครัวเรือนและหมู่บ้านได้ส่งผลให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดี

 

สถานที่ท่องเที่ยว

 1 มีลำห้วยไซตระกู

 2 มีที่พักโฮมสเตย์ ฐานเรียนรู้ ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

กิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

   บ้านสายโท 11 เหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์  เป็นหมู่บ้านที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

   ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียงประกอบด้วย 3 ลักษณะความพร้อมดังนี้ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัว  ภายใต้เงื่อนไข 2 เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม ด้านเศรษฐกิจชุมชนคนในหมู่บ้านมีการค้าขายพืชผักสัตว์เลี้ยงที่เหลือจากการบริโภคและนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและขายเป็นรายได้และในพื้นที่หมู่บ้านนั้นมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมากสามารถก่อให้เกิดผลผลิตทางธรรมชาติที่เป็นแหล่งรายได้ในหมู่บ้าน

มีผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOPในพื้นที่

ฐานการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีตามนโยบายโครงการไทยนิยมยั่งยืน

อื่นๆ

เมนู