ข้าพเจ้า นางสาวจารุวรรณ ทองสุด ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงาน ประจำสังกัด คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ID06ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวดบุรีรัมย์ ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้ลงพื้นที่ในเขตตำบลสายตะกู ซึ่งมีทั้งหมด ๑๖ หมู่บ้าน มีทั้งหมด ๒,๔๒๖ ครัวเรือน สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ดินดอนอยู่บริเวณกลางของตำบล และพื้นที่ดินราบอยู่ทางทิศเหนือ บางพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณ ไร่ สวน ของชาวบ้านในชุมชน

   

จากการสำรวจพื้นที่ในตำบลสายตะกู ซึ่งได้แก่หมู่ ๗ , ๙ และหมู่ ๑๖ พบว่า ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ ทำอาชีพ ทำสวน ทำนา ทำไร่ เนื่องจากทรัพยากรดินในชุมชนเป็นดินที่มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ เป็นเขตชุมชนขนาดใหญ่ ทำให้ประชาชนมีพื้นที่ในการทำเกษตรค่อนข้างมากต่อหลังคาเรือน ซึ่งในชุมชนจะนิยมทำสวนยางพาราเป็นส่วนมาก ในการปลูกต้นยางพารา ระยะเวลาในการปลูก ใช้เวลา ๕-๗ ปี จึงจะสามารถกรีดได้ ช่วงที่กรีดยางจะเริ่มกรีดตั้งแต่ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน และเมื่อกรีดเสร็จก็จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อภายในหมู่บ้าน ทำให้คนในชุมชนมีรายได้หลักมาจากการขายยางพารา

ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขอขอบพระคุณผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗ , ๙ และ หมู่ที่ ๑๖ รวมถึงถึงประชาชนในชุมชนเป็นอย่างมากที่ให้การต้อนรับและ ให้ความร่วมมือกับคณะผู้สำรวจเป็นอย่างดี

 

 

 

อื่นๆ

เมนู