การทำอาชีพเสริมเกษตรกร การเพาะเลี้ยงหนูพุก ในเขตพื้นที่ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยนางสาวลัดดา กะรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ตามที่มหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ข้าพเจ้านางสาวลัดดา กะรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่สำรวจในเขตตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งหมด ๑๖ หมู่บ้าน และมีทั้งหมด ๒,๔๒๖ ครัวเรือน อาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ทำเกษตรภายในชุมชน
เมื่อวันที่ ๙-๑๔ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ จากการลงพื้นที่ในตำบลสายตะกู ซึ่งได้แก่หมู่ ๔ และหมู่ ๘ ส่วนใหญ่ทำอาชีพเสริมเกี่ยวกับการเลี้ยงหนูพุก ข้าพเจ้าได้สัมภาษณ์ นางไสว ใจกล้า อายุ ๔๔ ปี ประชาชนหมู่ที่ ๘ ตำบลสายตะกู เกษตรกรเลี้ยงหนูพุกในบ่อซีเมนต์ โดยได้ซื้อพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ มาจากต่างจังหวัดจำนวน ๖ ตัว เลี้ยงจนได้ลูกมาขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันนี้มีพ่อพันธ์-แม่พันธุ์ ประมาณ ๖๐ ตัว ซึ่งการเลี้ยงหนูนั้นถือว่าเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็ว ส่วนอาหารหาได้ในท้องถิ่น เช่น ข้าวเปลือก อ้อย และหัวมันสำปะหลัง เมื่อหนูพุกโตเต็มที่แล้วจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อทำให้คนในชุมชนมีรายได้จากอาชีพเสริม
ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่๔และ หมู่ที่๘ รวมถึงประชาชนในชุมชนเป็นอย่างมากที่ให้การต้อนรับและให้ความร่วมมือกับคณะผู้สำรวจเป็นอย่างดี