บทความประจำเดือนมิถุนายน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ข้าพเจ้านางสาวรัชฤทัย สมใจหวัง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลา 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูล หมู่ที่ 5 บ้านบุ ต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
เมื่อวันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ข้าพเจ้าและทีมงาน U2T ตำบลจรเข้มาก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ ณ โรงเรียนบ้านจรเข้มาก ต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เพื่อมอบเจลแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัยให้กับกลุ่มบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ชาวบ้าน และได้ให้ความรู้ความรู้ เรื่องโรคไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) และรณรงค์สนับสนุนให้ฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
ความรู้ เรื่องโรคไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) สำหรับสถานศึกษา
– ทำความรู้จักโรคไวรัสโคโรนา 2019
– ไวรัสโคโรนา เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจในคน
– อยู่ในกลุ่มเดียวกับ SARS และ MERS (อัตราตาย SARS ร้อยละ 10 , MERS ร้อยละ 30 )
วิธีการติดต่อและอาการของโรค
อาการของโรค
– คล้ายกับไข้หวัด
– ไอแห้ง ๆ
– เจ็บคอ
– น้ำมูกไหล
– จาม
– มีไข้สูง
– หายใจเหนื่อยหอบ
– ท้องเสีย
– ระยะฟักตัวของอาการประมาณ 2-14 วัน
วิธีการติดต่อ
– แพร่ระบาดจากคนสู่คนได้
– สัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น ละอองจากการไอ
– สัมผัสสิ่งที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสแล้ว
วิธีป้องกัน
– สวมหน้ากากอนามัย
– ล้างมือให้สะอาด
– รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
– เลี่ยงพื้นที่แออัด
– เลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย
– กินเนื้อสัตว์และอาหารปรุงสุก
คำแนะนำการป้องกันและควบคุมไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับสถานศึกษา
1. ให้ความรู้หรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ไว้ในสถานศึกษา เช่น โปสเตอร์ให้ความรู้เรื่องโรค การล้างมือการสวมหน้ากากอนามัย
2. สถานศึกษาควรมีการคัดกรอง อาการไข้ ไอ มีน้ำมูก ก่อนเข้าเรียน
3. กำหนดให้เจ้าหน้าที่หรือครูอนามัย ให้บริการในห้องพยาบาล จัดทำบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วยของนักเรียน และประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
4. หากพบว่ามีนักเรียน ขาดเรียนจำนวนมากผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อสอบสวนหาสาเหตุ
5. ส่งเสริมให้นักเรียนมีของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น แก้วน้ำ อุปกรณ์การรับประทานอาหาร ผ้าเช็ดหน้า
6. จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการล้างมืออย่างเพียงพอในห้องเรียน โรงอาหาร เป็นต้น
7. จะเตรียมห้องพยาบาลสำหรับแยกนักเรียนที่ป่วยโรคระบาดทางเดินหายใจออกจากนักเรียนที่เกิดจากสาเหตุอื่น
8. ควรมีการทำความสะอาดพื้นที่หรือปกรณ์ที่นักเรียนใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ ลูกบิด ประตู โรงอาหารด้วยน้ำผงซักฟอก น้ำยาฟอกขาว หรือ 70% แอลกฮอล์ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
9. กรณีสถานศึกษามีรถรับ – ส่งนักเรียน ให้ทำความสะอาดยานพาหนะ ด้วยน้ำยาผงซักฟอก น้ำยาฟอกขาวหรือ 70 เปอร์เซ็นต์ แอลกอฮอล์ หลังรับส่งนักเรียนทุกวัน
การล้างมือ
การล้างมือเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เราห่างไกลจากไวรัสโคโรนา 19 ได้เป็นอย่างดี แต่ต้องล้างมืออย่างถูกวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.การล้างมือโดยใช้ฝ่ามือถูกัน
2. ใช้ฝ่ามือถูหลังฝ่ามือและซอกนิ้ว
3. ใช้ฝ่ามือถูฝ่ามือและซอกนิ้ว
4. ใช้หลังมือถูฝ่ามือ
5. ใช้ฝ่ามือถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบ
6. ใช้ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ
7. คือการใช้ฝ่ามือถูรอบข้อมือ ซึ่งการล้างมือนั้นสามารถใช้สบู่ทั่วไปในการฆ่าเชื้อไวรัสนี้ได้
ข้อแนะนำเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีนป้องกัน (covid-19)
1. ไม่อดนอนหลับให้เพียงพอ
2. เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
3. ต้องไม่มีอาการไข้ หรืออาการเจ็บป่วย
4. 2 วันก่อนฉีด และหลัง ให้งดออกกำลังกายหนัก
5. วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย 500 ถึง 1000 ซีซี
6. ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีด 2 วัน อย่าใช้แขนนั้นและอย่าเกร็ง ยกของหนัก
7. หลังฉีดแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที
8. ถ้ามีไข้หรือปวดเมื่อยมาก ทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด ซ้ำได้ถ้าจำเป็น แต่ให้ห่าง 6 ชั่วโมง (ห้ามกินยาพวก Brufen,Arcoxia,Celebrex เด็ดขาด)
9. แจ้งข้อมูลแพทย์ก่อนฉีด เช่น โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา หรือวัคซีน การตั้งครรภ์ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่แพทย์ควรทราบ
ภาพการลงพื้นที่