บทความ

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมในตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ข้าพเจ้านายวิฑูรย์ หินแก้ว ประเภทประชาชน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ลงพื้นที่สำรวจ สอบถามข้อมูลระดับบุคคลแต่ละครัวเรือนและชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชน  เริ่มลงงานตั้งแต่วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ ณ บ้านบัว หมู่ที่ ๑๖ ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์  ได้รวบรวมข้อมูล สอบถามบุคคลในครัวเรือน ต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจรายรับรายจ่ายในครัวเรือน ทางด้านสังคม โรคภัยไข้เจ็บ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะนำมาแก้ไขให้ดีขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป

เนื้อเรื่อง

 

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือประสานงานเป็นอย่างดีจากผู้นำชุมชนให้ชาวบ้านได้รับรู้ ทางด้านหอกระจายข่าว ซึ่งใช้งานได้ไม่ค่อยดีนัก แต่ก็ได้รับข่าวสาร สื่อสารกันได้เป็นอย่างดี  ผู้ประสานงานที่ดีก็มีผู้ใหญ่บ้านนายสมใจ มมประโคน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอีกสองท่านคือ นายพงษ์ศิริ มมประโคนและนายสมศักดิ์ เพ็งหากิจ จึงทำให้การลงเก็บข้อมูลพื้นฐานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

จากการลงสำรวจพื้นที่ในครั้งนี้ได้พบปะแลกเปลี่ยนทัศนะคติกับชาวบ้านทำให้ได้รู้ว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการทำนา เป็นส่วนใหญ่ ทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง เลี้ยงวัวเป็นส่วนน้อย อุตสาหกรรมในครัวเรือนในหมู่ ๑๖ คือการทอเสื่อ จากหญ้าไหล ซึ่งเหลือน้อยมาก กลุ่มสตรีแม่บ้านก็เคยมี ปัจจุบันจะเป็นเอกเทศมากกว่า ร้านค้าก็มีไม่เกิน ๕ ร้าน

การทำเกษตรกรรมก็รอแหล่งน้ำธรรมชาติ การชลประทานก็มีแต่หมู่บ้านใกล้เคียงในหมู่ ๑๖ มีแค่สระกลางบ้าน ซึ่งไม่เอื้ออำนวยในการทำการเกษตร  อีกปัญหาหนึ่งก็คือ ค่าน้ำค่าไฟฟ้า และค่าครองชีพจะแพงกว่าหลายปีที่ผ่านมา  จึงอยากจะได้แหล่งพลังงานทดแทน  เพื่อที่จะลดปัญหาค่าไฟฟ้า ซึ่งเห็นได้จากบ้านหลังเล็ก ๆ ค่าไฟฟ้าสูงถึงสี่ห้าร้อยบาท

บทสรุป

 

ชาวบ้านอยากจะมีอาชีพเสริม หลังจากฤดูกาลทำนาทำไร่

อยากจะได้แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์  แหล่งพลังงานทดแทน

ปัญหาสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านยังไม่มีจิตสำนึกพอในการกำจัดขยะ เผาไร่อ้อย ซังข้าว

ปัญหาหนี้สินของชาวบ้าน ก็คือ ในการลงทุนทำนาแต่ละครั้งต้องมีค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว, ค่าปุ๋ย, ค่าไถและค่าเก็บเกี่ยว ซึ่งไม่สมดุลกับรายรับที่ได้จากการขายผลิตผลหลังจากการเก็บเกี่ยว จึงทำให้เกิดหนี้สินรุงรังทั้งจาก ธ.ก.ส.แลกองทุนหมู่บ้าน แต่ละครัวเรือนแทบจะไม่มีเงินออมเลย

 

จึงอยากจะได้ความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านประกอบอาชีพ ทั้งทางเกษตรกรรม,เครื่องจักรยนต์,ช่างฝีมือแรงงานและคอมพิวเตอร์ ให้กับหนุ่มสาวทั่วไปและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิต ๑๙  อีกทั้งด้านสุขภาพอนามัยชุมชนด้วย

 

 

 

 

 

 

คอมพิวเตอร์ ให้กับหนุ่มสาวทั่วไปและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิต ๑๙ อีกทั้งด้านสุขภาพอนามัยชุมชนด้วย

 

อื่นๆ

เมนู