ข้าพเจ้า นางสาวอมรรัตน อินนอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลจรเข้มาก
หลักสูตร : โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ทำให้พวกเขา จึงมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง และอาหารของคนชนบท ก็นำมาจากทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก เช่น พืชผักท้องถิ่น อย่าง ผักบุ้ง , ผักกระเฉด , ยอดอ่อนของผักต่างๆ เป็นต้น ทำให้สังคมชนบทไม่ต้องซื้ออาหารกิน เหมือนคนเมือง เท่านั้นยังไม่พอ สัตว์,แมลงที่มีอยู่ในท้องถิ่น ก็สามารถใช้เป็นอาหารสำหรับคนชนบทได้ โดยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวบ้านมักกินแมลงอย่าง จิ้งหรีด , ตั้กแตน , ตัวอ่อนดักแด้ไหม เป็นต้น แล้วก็ยังกินปูนา , กบ , เขียด , กุ้งฝอย , ปลา ที่มาในช่วงน้ำหลาก , กินไข่มดแดง เป็นต้น โดยสังคมชนบทในภาคอีสาน ชาวบ้านมักจะนำปลาและกุ้งที่จับมาเอง นำมาทำเป็นปลาร้ากับกุ้งแจ่ว เพื่อจะได้เก็บไว้กินนานๆ ก็ได้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ในการปลูกชาว มัน อ้อย นำผลผลิตเหล่านี้ไปขายหาเงิน ด้วยเหตุนี้การทำมาหากินของสังคมชนบท จึงขึ้นอยู่กับสภาพธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ไม่เหมือนกัน
สภาพทั่วไปของบ้านเรือนที่ในสังคมชนบทมักรวมกันเป็นหมู่บ้าน สำรับคนประกอบอาชีพเพาะปลูก มักตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลอง , หนอง และบึง เพื่อสะดวกต่อการนำน้ำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นใช้ในการเพาะปลูก , เลี้ยงสัตว์หรือใช้เป็นทางคมนาคมเดินทางไปมาหาสู่กันอย่างสะดวก โดยลักษณะหมู่บ้านโคกธาตุ ตามปกติแล้วมีมากมายประเภท หากแบบที่สามมารถพบเห็นกันมาก คือ การตั้งบ้านเรียงรายยาวต่อกันเป็นหมู่บ้านริมคลอง สามารถพบเห็นได้มากในสังคมชนบท ส่วนสังคมภาคกลางอีกแบบหนึ่งก็คือ นั่นก็คือครัวเรือน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันแบบสนิทชิดใกล้ ปลูกติดกันเป็นกลุ่มๆ ถูกกล้อมรอบไปด้วยทุ่งนาหรือไร่ เป็นต้น
ภาพกิจกรรม ร่วมกิจกรรมพัฒนาและปรับภูมิทัศน์ตําบลจรเข้มาก หมู่บ้านโคกธาตุ ต.จรเข้มาก. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ขอพระองค์ทรงพระเจริญ