ข้าพเจ้า นางสาวศิริพร สุวรรณโพธิ์ประเภทประชาชน ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์หลักสูตร

ID07โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าได้เข้าสอบถามข้อมูลกับ
นายบัญฑิด สมัครคดี ชาวบ้านบุหมู่17เกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดลนายบัญฑิด สมัครคดีได้กล่าวว่าได้มีโครงการโคกหนองนาโมเดลจากทางรัฐซึ่งเป็นเกษตรผสมผสานตนเองจึงได้มีโอกาสได้ทำในที่นาทั้งหมด3ไร่ซึ่ง3ไร่นี้มี
โคกมีหนองมีนามีป่าได้ปลูกต้นไม้หลายชนิดเพื่ออนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมและให้เป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้นและได้เลี้ยงหมูเลี้ยงไก่เลี้ยงปลาและพืชผักสวนครัวเป็นต้น

ความหมายและที่มาโครงการโคกหนองนา

แนวคิดการจัดการน้ำ “โคก หนอง นา โมเดล” นี้ เป็นการทำเกษตรในพื้นที่ขนาดจำกัด หรือขนาดเล็ก เป็นการกักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดิน (ด้วยหนอง คลองไส้ไก่ และคันนา) และใต้ดิน (ด้วยป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง) ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ร.9 โดยเฉพาะในพื้นที่จำกัด อย่างน้อยเพียง 3 ไร่ หรือ แล้วแต่ขนาดของที่ดินตามสภาพความเหมาะสมก็ได้ เมื่อปี 2561 มีแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา โมเดล จำนวนประมาณ 40 แบบให้กรมพัฒนาที่ดินไว้แจกจ่ายประชาชน ทั้ง 40 แบบ เป็นโมเดลต้นแบบสำหรับที่ดินขนาดแบบ 3 ไร่ 5 ไร่ หรือ 10-15 ไร่ ที่เป็นโมเดลพื้นที่ขนาดเล็ก

(1) โคก
– ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ
– ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
– ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

(2) หนอง
– ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)
– ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้
– ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง

– พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คูคลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

(3) นา
– พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน
– ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา โดยความร่วมมือของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้มีการออกแบบพื้นที่กสิกรรมโดยอาศัย “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นแนวคิดหลักในการจัดการพื้นที่ ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดของเมืองไทย

จุดแข็ง

เป็นการต่อยอดโครงการตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามทฤษฎีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงดำริและดำเนินการโครงการพระราชดำริมานานแล้วรวมสี่พันกว่าโครงการ

แนวคิด “โคก หนอง นา โมเดล” เดินตามศาสตร์ของพระราชา เพื่อการทำเกษตรแนวใหม่ ที่ยึดหลักของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก โครงการนี้ใช้เงินของมูลนิธิชัยพัฒนาส่วนหนึ่ง ใช้เงินของราชการส่วนหนึ่ง โดยวิธีขุดบ่อน้ำ เพื่อใช้น้ำนั้นมาทำการเพาะปลูก ตาม “เกษตรทฤษฎีใหม่” ตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม 2537

จุดอ่อน

โครงการนี้ เพิ่งเริ่มโหมโรงเป็นแนวคิดเพื่อผลสำเร็จในทางปฏิบัติในปีนี้ (2563) โดยโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” เดินหน้าสู่ปีที่ 8 (2555) ภายใต้แนวคิด “สู้ทุกวิกฤต รอดพอดีด้วยศาสตร์พระราชา” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นต่อ ๆ ไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมวางมาตรการความปลอดภัยในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับภาวะปกติใหม่ (New Normal) ในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและเศรษฐกิจพอเพียง เช่น โคก หนอง นาโมเดล

สรุป โครงการโคก หนอง นา โมเดล เป็นการสร้าง ความมั่นคง ในแหล่งทำกินด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ สู้กับภัยแล้ง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้หันกลับมา อุดมสมบูรณ์ โดยปรับปรุงพื้นที่รองรับ ฝนธรรมชาติ และการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ ให้เดินทางร่วมกันได้

   

     

        

 

 

อื่นๆ

เมนู