การปลูกมันสำปะหลังในบ้านบัวหมู่ที่ 16
ตามที่ข้าพเจ้านายวิฑูรย์ หินแก้วได้ลงพื้นที่บ้านบัวหมู่ที่ 16 ต่อเนื่องมานานพอสมควรได้เข้าในในการประกอบสัมมาอาชีพของประชาชนในชุมชนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว,เลี้ยงสัตว์,ทอเสื่อกกต่างๆเป็นต้น ในหมู่บ้านนี้ยังมีเกษตรกรดีเด่นอีกด้วย
ตามคำบอกกล่าวของผู้ใหญ่บ้าน นายสมใจ มมประโคนว่า มีพืชชนิดหนึ่งที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ชาวบ้านได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ มันสำปะหลัง ซึ่งได้รับความนิยมมากพอสมควรในหมู่เกษตรกร เพื่อใช้เวลาว่างจากการทำนาและในพื้นที่ว่างหันมาปลูกมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง เป็นพืชอาหารที่สำคัญรองจากข้าว,ข้าวโพด และมันฝรั่ง มันสำปะหลังนิยมปลูกในที่ลุ่มเขตร้อน มีหลักฐานว่า นิยมปลูกกันมากในอเมริกาใต้มากกว่า 3000 ปี นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์ ปลูกง่ายในที่ร้อนชื้น จึงได้มีการสนับสนุนให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีภูมิอากาศดังกล่าวเป็นพืชเศรษฐกิจ
สายพันธุ์มันสำปะหลัง
มันสำปะหลังที่ปลูกเชิงเกษตรกรรมมีอยู่ 2 ชนิดคือ
- ชนิดหวาน ซึ่งมีกรดไฮโดรไซยานิกต่ำ ไม่มีรสขม และสามารใช้ทำอาหารได้โดยตรง
- ชนิดขม ซึ่งมีกรดไฮโดรไซยานิกสูง ต้องนำไปแปรรูปก่อน
การปลูกมันสำปะหลัง ต้องใช้กิ่งปักชำ หลังจากปักชำแล้วจนถึงเก็บเกี่ยวต้องใช้เวลาถึง 1 ปี 4 เดือน
ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก เป็นพืชที่ทนอากาศแล้งได้ดี
ประโยชน์และการนำใช้
- ประกอบอาหารคาวหวาน โดยนำส่วนของรากสะสมอาหาร (หัว) ไปประกอบอาหาร
- แปรรูปเป็นสารปรุงแต่งอาหาร
- อาหารสัตว์
- อุตสาหกรรมกาว
- พลังงานเอทานอล
ภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เกิดจากการแปรปรวนของภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ซึ่งปลูกในสภาพพื้นที่โล่ง และขาดสิ่งปกคลุมหน้าดิน ทำให้น้ำส่วนใหญ่ระเหยออกจากผิวดิน เมื่อน้ำในดินลดลงมากและฝนขาดช่วงจึงเกิดสภาพดินแห้ง ต้นมันสำปะหลังขาดน้ำ ทิ้งใบ ไม่ลงหัว และเหี่ยวแห้งตาย จึงต้องหาวัสดุมาคลุมดินป้องกันการระเหยของน้ำ เช่น ฟางข้าว ใบหญ้าแฝก เศษใบไม้ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายมากที่จะช่วยควบคุมอุณหภูมิหน้าดิน ทั้งยังเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้ดินอีกด้วย ทำให้ดินสามารถเก็บความชื้นไว้ยาวนานยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นยังเป็นการลดการพังทลายของหน้าดินและควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชอีกด้วย
มันสำปะหลังจัดอยู่ในพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่การเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตก็ยังต้องขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วยเช่นกัน การปลูกมันสำปะหลังโดยอาศัยน้ำฝน แนะนำให้เกษตรกรปลูกในระยะเวลาที่เหมาะสมคือ ในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน และช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรสามารถปลูกได้และให้ผลผลิตสูง
หลังจากการเตรียมท่อนพันธุ์ แนะนำควรปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรง ปักลึกลงไปในดินประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวของท่อนพันธุ์ ควรมีตาให้งอก 4 – 5 ตาขึ้นไป ปลูกเป็นแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะห่างระหว่างแถว 120 เมตร ระหว่างต้น 80 ซ.ม. ควรระวังอย่าปักทางยอดลงดิน เพราะตาจะไม่งอก ปักให้ตรง 90องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดิน ซึ่งง่ายต่อการกำจัดวัชพืชและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว และทำให้ผลผลิตสูงกว่า
นอกจากนี้ ควรใส่ใจเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพดินที่จะปลูก หากต้องการปลูกให้ได้ผลผลิตสูงสุด แนะนำควรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการปลูกปอเฟืองหรือถั่วพร้าเป็นปุ๋ยพืชสด แล้วไถกลบ ระหว่างปลูกไม่ควรละเลยในการปรับปรุง บำรุงดินอยู่เสมอ และทำให้ดินร่วนซุย เพื่อให้น้ำซึมลึกลงในดิน ทั้งยังช่วยให้ต้นมันสำปะหลังลงหัวได้ง่าย
โรคใบด่างในมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้ใบหงิกงอ เสียรูปทรง สามารถแพร่ระบาดโดยท่อนพันธุ์ โดยมีแมลงหวี่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งแลงหวี่มีพืชอาศัยเช่น กระเพรา,โหระพา,พริก,มะเขือ และพืชตระกูลแตง ทำให้กรระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวาง
การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
มันสำปะหลัง มีความแตกต่างจากพืชไร่ชนิดอื่นในเรื่องอายุการเก็บเกี่ยวไม่ตายตัว ซึ่งการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังสามารถแบ่งได้ 5 ระยะ คือ
- ระยะท่อนพันธุ์งอกและตั้งตัว อยู่ในช่วง 2-3 สัปดาห์ หลังการปลูก
- ระยะพัฒนาทรงพุ่ม เป็นระยะแตกกิ่งก้านและสร้างใบ เริ่มตั้งแต่เดือนที่ 2
- ระยะพัฒนาราก และสะสมอาหาร เริ่มตั้งแต่เดือนที่ 3 เป็นต้นไป
- ระยะฟักตัว เป็นช่วงที่มันสำปะหลังชะงักการเจริญเติบโต และมีการทิ้งใบ หลังจากเดือนที่ 14
- ระยะฟื้นตัว มันสำปะหลังจะเริ่มนำสารอาหารที่สะสมมาสร้างใบใหม่
วิธีการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอน คือ การขุด,ตัดเหง้า และขนย้ายหัวมันสด เกษตรกรต้องเร่งนำหัวมันสดส่งโรงงานแปรรูปทันที หรือวันต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเสื่อมสภาพของหัวมันสด ซึ่งทำให้อัตราการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างในประเทศไทย มันสำปะหลังจะมีอัตราการเสื่อมสภาพหลังจากเก็บเกี่ยวภายใน 2-3 วัน และจะมีจุลินทรีย์เข้ามาทำลาย ให้เน่าเสีย ภายใน 5-7 วัน สีของเนื้อมันสำปะหลังจะเปลี่ยนไป
ในช่วงที่ยังไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร เกษตรกรใช้แรงงานคนขุดมันสำปะหลังด้วยจอบ และถอนมันด้วยมือขึ้นจากดิน ในปัจจุบัน เกิดสภาวะขาดแคลนแรงงานคน จึงมีการพัฒนาการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังให้เร็วขึ้น โดยการใช้เครื่องขุด และใช้แรงงานคนในการตัดเหง้า และขนขึ้นพาหนะในการนำสู่โรงงาน
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจทำเงินที่สำคัญอย่างหนึ่งแก่ประเทศ โดยมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 9 ล้านไร่ และผลผลิตมากกว่า 20 ล้านตันต่อปี
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เพื่อการบริโภคเป็นอาหารให้มนุษย์ และอาหารสัตว์ รวมทั้งแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆได้ด้วย
- ใช้เป็นอาหารมนุษย์โดยใช้ส่วนหัว มาต้ม,นึ่ง,ย่าง,อบและเชื่อม
- เป็นอาหารสัตว์ ทั้งที่เป็นหัวสด กากที่เหลือจากการทำแป้ง เปลือกของหัว ใบสด ตากแห้งป่นผสมเป็นอาหารสัตว์
- เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆทั้งอุตสาหกรรมอาหารและไม่ใช่อาหาร รวมทั้งอุตสาหกรรมพลังงาน
ตามที่ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนกับผู้ใหญ่บ้านบ้านบัวหมู่ที่ 16 นายสมใจ มมประโคนในเดือนสิงหาคมนี้ ก็สรุปได้เท่านี้
/ นายวิฑูรย์ หินแก้ว