อาชีพเกษตรกรอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน
ด้วยเมืองไทยเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อาชีพเกษตรกรจึงถือเป็นรายได้หลักอย่างช้านาน แม้นในปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนมากจะเลือกเข้ามามองหางานทำในเมืองหลวง รวมถึงทำงานประเภทอื่นๆมากขึ้น แต่เกษตรกรก็ยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างผลผลิตให้กับคนไทยและอีกหลายล้านคนทั่วโลกมีอาหารดีๆได้รับประทานเพื่อดำรงชีวิตอยู่ตลอดเวลา จึงอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิม พร้อมกับเรื่องราวดีๆ
จำแนกประเภทเกษตรกร
จริงๆแล้วอาชีพเกษตรกรสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ โดยมีประเภทของเกษตรกร ดังนี้
ด้านการปลูกพืชผล
เป็นกลุ่มอาชีพที่พบเจอได้มากที่สุดของเมืองไทย ทั้งนี้จะแยกย่อยออกเป็นกลุ่มต่างๆ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกพืชชนิดนั้นๆ แม้นนักวิชาการจะมีการแยกประเภทออกไปตามลักษณะการปลูก การดูแลรักษา การใช้ประโยชน์ แต่ขออธิบายประเภทขั้นต้นให้ง่ายๆ ดังนี้
พืชนา ก็คือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกนาข้าวเป็นหลัก ทั้งนี้ เมื่อหมดฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวก็สามารถเปลี่ยนเป็นการเกษตรด้านอื่นๆได้
พืชไร่ เป็นกลุ่มพืชที่ต้องอาศัยพื้นที่ในการปลูกเยอะ แต่พืชจะมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ขั้นตอนในการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก พืชบางชนิด ปลูกแค่สองเดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที โดยพืชไร่นั้นถือเป็นอีกกลุ่มเกษตรที่สำคัญต่อทั้งการบริโภคของผู้คนในประเทศ และการส่งออกสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกด้วย เช่น อ้อย, ข้าวโพด, มันสำปะหลัง, ถั่วทุกชนิด,ฝ้าย เป็นต้น
พืชสวน กลุ่มพืชนิดนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมาย เหมือนกับพืชไร่ แต่ต้องอาศัยการเอาใจใส่ดูแลมากกว่า มีระยะเวลาในการให้ผลผลิตนานกว่า แต่มูลค่าต้นทุนสูงตามประเภทของสายพันธุ์นั้นๆ
ด้านปศุสัตว์ เป็นกลุ่มการเกษตรที่อยู่คู่กับการปลูกพืชมายาวนาน เช่นชาวบ้านที่ทำนา ก็จะต้องเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เพื่อใช้แรงงาน หรือสร้างผลผลิตในรูปแบบอื่นๆ แต่ปัจจุบันอาชีพเกษตรที่เลี้ยงสัตว์โดยตรงก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แต่เลี่ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านแรงงานเพียงอย่างเดียว โดยแยกประเภทการทำเกษตรด้ายปศุสัตว์ คือ
ด้านอาหาร เป็นกลุ่มปศุสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อใช้ทำอาหารโดยตรง เช่น ฟาร์มหมู , ฟาร์มวัว , ฟาร์มไก่, ฟาร์มปลา ฯลฯ ซึ่งสัตว์เหล่านี้เพื่อเจริญพันธุ์เหมาสมกับการจัดจำหน่าย ก็จะนำไปทำเป็นเนื้อ หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆต่อไป
ด้านความสวยงาม เป็นการเลี้ยงสัตว์ชนิดที่เรียกว่า การเพาะพันธุ์ คือ พยายามเพาะพันธุ์สัตว์ที่มีความสวยงามให้ได้ราคามากยิ่งขึ้น เช่น บรรดานกชนิดต่างๆ, สุนัข,แมว ฯลฯ สามารถขายราคาได้ดี แม้นว่าจะมีขั้นตอนการดูแลที่ยุ่งยาก และมองหาตลาดให้ถูกต้องก็ตาม
ด้านการใช้งาน เป็นการทำปศุสัตว์อีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกเลี้ยงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านแรงงาน เช่น ฟาร์มม้า, ฟาร์มโคนม, ฟาร์มช้าง เป็นต้น โดยสัตว์เหล่านี้จะไม่เน้นเรื่องการทำอาหาร หรือเพาะพันธุ์ขาย แต่จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นแทน เช่น น้ำนมจากโคนม
ด้านการประมง
ด้วยพื้นที่ประเทศไทยมีแหล่งน้ำให้เกษตรกรได้หารายได้เลี้ยงชีวิตกันมาตลอด การทำประมงจึงกลายเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญและได้รับการนิยมสูงมากในกลุ่มการที่ใช้ชีวิตริมน้ำ ทั้งนี้ต้องแยกให้ออกว่า การประมงจะเป็นการจับสัตว์น้ำที่มีตามแหล่งธรรมชาติ หรือเน้นสัตว์น้ำเท่านั้น ขณะที่ปศุสัตว์จะเป็นการเลี้ยงดู ซึ่งสามารถแยกประเภทประมงได้ดังนี้
ประมงน้ำจืด เป็นอาชีพเกษตรกรที่ใช้การหาสัตว์น้ำในแหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ, ลำคลอง, บึง หรือการสร้างบ่อ โดยสัตว์น้ำในกลุ่มประมงน้ำจืด ก็มีหลายชนิด โดยเฉพาะปลา เช่น ปลาช่อน, ปลาดุก, ปลาตะเพียน, ปลานิล, ปลาไน, ปลาไหล, ปลาสลิด รวมทั้งกุ้งก้ามกราม ก็จัดเป็นประมงน้ำจืด เช่นกัน
ประมงน้ำเค็ม เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ทำอาชีพในการจับสัตว์น้ำเค็ม หรือในทะเล ทั้งนี้จะเป็นการออกไปจับนอกชายฝั่ง หรือการเลี้ยงสัตว์ทะเล บริเวณชายฝั่งก็จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยสัตว์ทะเลจะมีความหลากหลายมาก ตั้งแต่ กุ้ง , หอย ,ปู, ปลา ซึ่งถือเป็นอาหารจานโปรดของใครๆหลายท่าน เมื่อผ่านขั้นตอนการทำเรียบร้อยแล้ว
ด้านการเกษตรผสมผสาน
จริงๆแล้วนี้เป็นแนวคิดใหม่ที่พึ่งจะเกิดขึ้นมาไม่นานนักตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ หลักๆคือ การรวมเอารูปแบบเกษตรต่างๆมาผสมผสานเอาไว้ในพื้นที่เดียวกัน เช่น นอกจากการปลูกข้าวแล้วยังมีการเลี้ยงปลาตามร่องคันนา เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้กับตนเองมากกว่าเดิม การทำฟาร์มไก่ โดยให้กรงไก่ตั้งอยู่บนบ่อปลาดุก เพื่อให้ปลาได้เศษอาหารที่ไก่ทำร่วงเอาไว้
ความคุ้มค่าของการเกษตรแบบผสมผสาน
ในปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนมากหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสานมากขึ้น เพราะลดความเสี่ยงต่อการขาดทุน หากเมื่อทำการเกษตรแบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรมากมายนัก เพียงแค่นำพื้นที่ซึ่งเหลือจากการเกษตรหลักของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แม้นว่า ก่อนหน้านี้อาชีพของเกษตรกรจะมีจำนวนลดลง แต่ปัจจุบันก็มีคนรุ่นใหม่หันไปเลือกทำการเกษตรมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่ออยู่กับธรรมชาติจริงๆก็สามารถสร้างความสุขในชีวิตได้มากกว่ากับการอยู่ในเมืองที่ต้องมาเจอกับความเครียดนานาประการ
สำหรับผู้ที่ยังมีประสบการณ์น้อย กังวลว่า ผลลัพธ์ในการทำเกษตรจะเป็นอย่างไร เนื่องจากขาดความรู้ความสามารถและปัจจัยการผลิต เคล็ดลับคือ
1 เรียนรู้ ควรคำนึงถึงการอยู่รอดเป็นสำคัญ เริ่มต้นจากการศึกษาบทเรียนจากผู้อื่นมา และลงมือทำด้วยตนเอง โดยไม่ทำตามกระแส จะเกิดประสบการณ์โดยตรง
2 พัฒนาทักษะ เมื่อเรามีความพร้อม ควรเลือกตัดสินใจทำในสิ่งที่ตนเองคิดว่าชำนาญและทำได้แล้ว
3 ขยับขยาย เมื่อทำได้แล้ว ก็ต่อยอดเป็นเกษตรเชิงพาณิชย์
4 ยั่งยืน เมื่อสามารถสร้างฐานะจากการเกษตรได้แล้ว ควรวางแผนให้อยู่รอดแบบยั่งยืน
แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มอาชีพนอกจากการทอผ้าในตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย
ผู้เก็บข้อมูล นายวิฑูรย์ หินแก้ว
หมู่ | ชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูล | ตำแหน่งในกลุ่ม | เบอร์โทร | ผลิตภัณฑ์ที่กลุ่ม /ครัวเรือนทำ | ปัญหาการผลิต | รูปประกอบ |
หมู่ 16 | นาง เชร่ง เหล่าพิไล | อิสระ | xxx | ทอเสื่อกก | วัตถุดิบหายากขึ้น
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ความต้องการน้อยลง |
![]() |
หมู่ 16 | นางพาด มมประโคน | อิสระ | 081 0630491 | โคพื้นเมือง | อาหารมีมูลค่าสูงขึ้น
โรคระบาดทางผิวหนัง ปากเท้าเปื่อย ราคาเนื้อตกลง |
![]() |
หมู่ 16 | นางแตงอ่อน | อิสระ | xxx | ทอเสื่อกก | วัตถุดิบหายากขึ้น
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ความต้องการน้อยลง |
![]() |
หมู่ 16 | นางชอุ่ม เพ็งหากิจ | อิสระ | 099 4376811 | ทอผ้าไหม | ต้นทุนสูง
อุปกรณ์แพงมาก ไม่มีที่ปลูกต้นหม่อน จำหน่ายยาก |
![]() |
หมู่ 16 | นางโสภี แก้วหาญ | อิสระ | 082 2430595 | สวนผสม, เลี้ยงปลา | ดินเปรี้ยว,ขาดแคลนปุ๋ย
ศัตรูพืช, น้ำไม่ถ่ายเท |
|
หมู่ 16
|
นางเคียง ออประโคน | อิสระ | 093 3456545 | เลี้ยงปลา | อาหารปลาราคาสูง
เลี้ยงตามธรรมชาติ |
![]() |