กก ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus alternifolius L.[1],[2] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า เป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyperus involucratus Rottb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cyperus alternifolius subsp. flabelliformis Kük., Cyperus flabelliformis Rottb.)[4] โดยจัดอยู่ในวงศ์กก (CYPERACEAE)

 

สมุนไพรกก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กกขนาก, กกต้นกลม, หญ้าสเล็บ, หญ้าลังกา, กกดอกแดง (พระนครศรีอยุธยา),[1], กกรังกา หญ้ากก หญ้ารังกา (กรุงเทพฯ)[4], จิ่วหลงทู่จู (จีนกลาง), เฟิงเชอเฉ่า (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น[3]

 

ลักษณะของกก

ต้นกก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นเหนือดินสร้างช่อดอกและแตกเป็นกอ มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าแข็งสั้นๆ คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน มีความสูงได้ประมาณ 100-150 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมค่อนข้างกลมมน มีสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวที่ชุ่มชื้นและมีอินทรีย์วัตถุสูง จนถึงน้ำลึก 60 เซนติเมตร ชอบความชื้นสูงและแสงแดดแบบเต็มวัน เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณที่ที่เป็นโคลนหรือน้ำ เช่น ข้างแม่น้ำ สระ ลำคลอง หรือบ่อน้ำ[1],[5]เมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ใต้ท้องใบสาก ในต้นหนึ่ง ๆ จะมีใบประมาณ 18-25 ใบ[1]

ใบกก ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบบาง ออกแผ่ซ้อน ๆ กันอยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-19 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ใต้ท้องใบสาก ในต้นหนึ่ง ๆ จะมีใบประมาณ 18-25 ใบ[1]

ดอกกก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มย่อยที่ปลายกิ่ง ช่อดอกแตกแขนงย่อย 20-25 แขนง มีขนาดกว้างประมาณ 12-20 เซนติเมตร มีใบประดับรองรับช่อดอกประมาณ 4-10 ใบ มีขนาดกว้างประมาณ 6-10 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร แต่ละแขนงจะมีดอกย่อยช่อละ 8-20 ดอก ดอกย่อยจะมีกาบหุ้ม ขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาวแกมเขียว เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเขียวอ่อน ยาวได้ประมาณ 6-7 เซนติเมตร[1],[2],[4]

ผลกก ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรียาว รูปรี หรือรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.9-1 มิลลิเมตร ผลเป็นสีน้ำตาล เปลือกแข็ง มีเมล็ดเดียว[2],[5]

ประโยชน์กก ในการใช้งานด้านภูมิทัศน์ จะนิยมนำต้นกกมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามริมสระน้ำในสวนหรือใช้ปลูกในภาชนะร่วมกับไม้น้ำอื่น ๆ[5],[6]ใช้เป็นวัสดุในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน[6]ทำเครื่องจักสาน ได้แก่ รองเท้า กระเป๋า เสื่อ กล่องใส่กระดาษทิชชู หมวก และสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นการกำจัดต้นกก เพื่อไม่ให้สูญเปล่า อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางด้วย

การปลูกต้นกกไว้ริมขอบน้ำจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน นอกจากนี้ต้นกกลังกายังมีคุณสมบัติในการช่วยบำบัดน้ำเสียและช่วยปรับสมดุลทางระบบนิเวศวิทยาได้อีกด้วย[6]

อื่นๆ

เมนู