้าพเจ้า นางสาวศิริพร สุวรรณโพธิ์ประเภทประชาชน ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: ID07โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ณ บ้านบุ หมู่17 ได้แก่ กล้วยไม้, ดาวเรือง, คุณนายตื่นสาย, รวยไม่เลิก และที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างบอนสีเป็นต้น เรามาทำความรู้จัก บอนสี ไม้ประดับที่ได้รับความยกย่องให้เป็นราชินีแห่งใบไม้กันเลยค่ะ

ความสวยงามที่โดดเด่นและเตะตาทำให้ “บอนสี” กลายเป็นต้นไม้อีกหนึ่งชนิดที่คนนิยมนำมาปลูกจัดสวนและตกแต่งบ้าน แถมยังสามารถเพาะพันธุ์ขายหารายได้เพิ่มได้อีกด้วย ต้นบอนสีมีทั้งลักษณะทั่วไป ความหมาย จุดสังเกตบอนสีที่ดี ไปจนถึงวิธีการปลูกบอนสีในกระถางและปลูกลงแปลงเพื่อขยายพันธุ์ พร้อมการดูแล

ลักษณะทั่วไปต้นบอนสี

บอนสี หรือ บอนฝรั่ง (Fancy Leaf Caladium) เป็นไม้ประดับจัดอยู่ในสกุล Caladium วงศ์ Araceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caladium Bicolor มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ยุโรป อินเดีย และอินโดนีเซีย สันนิษฐานว่ามีการนำเข้ามาปลูกในสมัยสุโขทัยและสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 5

บอนสีมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นไม้ประดับล้มลุกอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดินไว้เก็บสะสมอาหาร แตกใบเป็นกอ มีก้านใบสูงยาวเหนือพื้นดิน ใบใหญ่แผ่กว้าง รูปทรงและสีสันของใบมีหลายแบบขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ อาทิ ใบรูปหัวใจ ใบทรงกลม ใบหอก และอื่น ๆ แถมแต่ละชนิดก็มีสีสันและลวดลายที่โดดเด่นและสวยงามแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้เลยทำให้บอนสีได้รับการขนานนามว่าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับ หรือ Queen of The Tears Plant อีกทั้งยังมีดอกลักษณะคล้ายดอกหน้าวัว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันว่า บอนสี เป็นต้นไม้มงคล หากบ้านใดนำไปปลูกก็จะช่วยนำความสุข-ความเจริญมาให้

ประเภทบอนสี

บอนสีแบ่งประเภทตามลักษณะของใบ  มีทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน คือ

– บอนใบไทย (Thai-Native Leaf Caladium) : บอนสีไทยโบราณ ลักษณะใบเป็นรูปหัวใจ หูใบยาว เว้าลึกเกือบถึงสะดือ (ส่วนปลายก้านใบที่จรดกับเส้นกลางใบ) ก้านใบอยู่กึ่งกลางใบ มีทั้งปลายใบแหลมและปลายใบมนขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ใบแผ่กว้าง มีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม ใบดกและไม่ทิ้งใบ

– บอนใบกลม (Round-Leaf Caladium) : สายพันธุ์บอนสีที่พัฒนามาจากบอนใบไทย ลักษณะใบกลมหรือรี หูใบสั้น ปลายใบมน และก้านใบกลมอยู่กึ่งกลางใบ คล้ายกับใบบัว
– บอนใบยาว (Long- Leaf Caladium) : ลักษณะใบทรงหัวใจคล้ายกับบอนใบไทยเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่ใบของบอนสีใบยาวจะเรียวยาวและมีปลายใบแหลมกว่า หูใบยาวฉีกถึงสะดือ และสามารถแยกได้อีก 3 ลักษณะย่อยคือ บอนใบยาวธรรมดา บอนใบยาวรูปหอก และบอนใบยาวรูปใบไผ่

– บอนใบกาบ (Sheath-Leaf Caladium) : ลักษณะคล้ายกับบอนใบไทย แต่บอนใบกาบจะมีก้านใบที่แผ่แบนตั้งแต่โคนใบไปถึงแข้ง (ใบขนาดเล็กที่ยื่นออกจากกาบใบ อยู่กึ่งกลางของก้านหรือต่ำกว่าใบจริงเล็กน้อย)

นอกจากนี้ยังมีการแบ่งประเภทบอนสีตามลักษณะของสีสัน ได้แก่ บอนไม่กัดสี ใช้เรียกบอนที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากต้นกำเนิดสายพันธุ์ ส่วนบอนกัดสี เป็นบอนที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีสันเมื่อโตเต็มวัย เช่น เปลี่ยนจากใบอ่อนสีเขียวเป็นใบสีแดงหรือมีจุดแต้มเพิ่ม สำหรับบอนป้าย คือบอนที่มีแถบแดงพาดบนใบพื้นเขียว และบอนด่าง หรือบอนที่มีสีอื่น เช่น ขาว ขาวอมแดง หรือสีเหลือง เป็นด่างอยู่บนพื้นใบเขียว

วิธีปลูกต้นบอนสี

ดิน : การปลูกบอนสีในกระถาง ควรใช้ดินร่วนผสมวัตถุอินทรีย์ หรือดินขุยไผ่ ผสมใบทองหลาง ใบมะขาม หรือใบก้ามปู ด้วยอัตรา 2:1 เพราะบอนสีจะเจริญเติบโตและออกใบสวยงามในดินโปร่ง ระบายน้ำได้ดีและมีแร่ธาตุสูง และมีไม้ค้ำที่ก้านใบ เพื่อให้ก้านแตกกอเป็นระเบียบสวยงาม ไม่หักหรืองอ แต่หากต้องการปลูกเป็นแปลงใหญ่เพื่อการขยายพันธุ์ ควรใช้ดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยคอก แกลบดิน และขุยมะพร้าว ในอัตรา 1:1:1 และนำฟางข้าวมาคลุมแปลงไว้ เพื่อลดการระเหยของน้ำ

น้ำ : ช่วงฤดูร้อนหรือสภาพอากาศปกติทั่วไป ควรรดน้ำตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง หลีกเลี่ยงการรดน้ำใกล้โคนต้น เพราะอาจจะทำให้ก้านใบหักได้ นอกจากนี้ควรมีจานรองกระถางหล่อน้ำไว้ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่ชอบความชื้นสูง ทั้งนี้ ควรลดการให้น้ำช่วงฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงพักตัวและทิ้งใบ ระหว่างนี้ให้นำหัวบอนสีมาทำความสะอาด ชุบน้ำยาป้องกันเชื้อรา นำไปผึ่งให้แห้งประมาณ 15 วัน แล้วนำไปเก็บในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อถึงฤดูปลูกหรือบอนสีเริ่มผลิใบค่อยกลับมารดน้ำตามปกติ

แสงแดด : ควรปลูกบอนสีในที่ที่มีแสงแดดรำไร เช่น แดดตอนเช้าช่วง 09.00-10.00 น. หากโดนแดดร้อนจัดมากเกินไปจะทำให้เกิดใบไหม้หรือสีซีดได้ สำหรับการปลูกบอนสีในบ้านควรวางในที่ที่มีแดดรำไร เช่น ใกล้หน้าต่าง และหมั่นหมุนกระถางเข้าหาแสง หรือนำกระถางปลูกไปวางกลางแจ้งสัปดาห์ละครั้ง และหลีกเลี่ยงการปลูกในห้องแอร์ เพราะอาจจะทำให้บอนพักตัวและทิ้งใบ

ปุ๋ย : ใช้ได้ทั้งปุ๋ยธรรมชาติ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 แต่ไม่ควรให้ปุ๋ยทางใบ เพราะจะทำให้ใบไหม้ได้ และหมั่นเปลี่ยนดินปีละครั้งหรือเมื่อดินแน่น

บอนสีที่ข้าพเจ้าลงพื้นที่สำรวจพบเจอนั้นคือ บอนสีสายพันธ์ุ เจ้าไกเซอร์  เป็นบอนสีที่สวยสายพันธุ์หนึ่งเลย และเป็นสายพันธ์ุเก่าแก่ที่เติบโตขยายพันธ์ุอย่างต่อเนื่องในเมืองไทยมาอย่างช้านาน เพราะเป็นบอนสีสายพันธ์ุเก่าแก่ที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ จนกลายเป็นบอนสีพื้นเมืองในปัจจุบัน สรุปได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในเมืองไทยมาหลายยุคหลายสมัย บอนสีหนึ่งต้น เราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงของสีและลายบนใบได้ และการเริ่มต้นดูแลบอนสีในกลุ่มบอนสีพื้นเมืองถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีค่ะ

ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ที่ให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในครั้งนี้ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ได้มีโครงการดี ๆ จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่

,       

        

                          

อื่นๆ

เมนู