ข้าพเจ้านายนันทศักดิ์ บุตรดีวงค์ กลุ่ม ประชาชน หลักสูตร ID08 ต.โนนเจริญ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภายในและภายนอกชุมชน(SWOT) ทังหมด 11 หมู่บ้าน ของตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ วิเคราะห์ได้ดังนี้
1.การประเมินสภาพแวดล้อมภายในชุมชน
จุดแข็งของชุมชน (S – Strengths)
- มีพื้นที่ทำกินเยอะ
- มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
- มีงบประมาณดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วย
- มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงคนในชุมชน
- เทศบาลออกกฎหมายท้องถิ่นที่สามารถแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
- มีสถานศึกษาในตำบลมีความพร้อม มีศักยภาพในการศึกษา มีศูนย์เรียนรู้ วิสาหกิจชุมชน
- ประชาชนมีคุณภาพในการบริหารงาน
- ประชากรส่วนใหญ่ปลูกกล้วยทุกครัวเรือน
จุดอ่อนของชุมชน (W – Weaknesses)
- เส้นทางคมนาคมไม่สะดวกและยังไม่ได้มาตรฐาน(ไม่มีไฟฟ้าส่องถนนที่ทั่วถึง)
- ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำใช้อุปโภคบริโภค
- ปัญหาขยะในชุมชนไม่มีสถานที่รับรองขยะและระบบจำกัดขยะที่ได้มาตรฐาน
- ไม่มีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้แน่นอน
- ประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สินนอกระบบ
- ประชาชนยังขาดการปลูกฝังและเรียนรู้การใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง
- การรวมกลุ่มยังไม่เข้มแข็งและยั่งยืน
2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกชุมชน
โอกาสทางสภาพแวดล้อมของชุมชน (O – Opportunities)
- หน่วยงานรัฐส่งเสริมพื้นที่ทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
- ประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดี
- รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนหรือเชื่อมโยงเครือข่าย
- หน่วยงานรัฐให้ความช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพ
- สามาถรขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- นโยบายกองทุนหมู่บ้านทำให้ชุมชนต่างมีความเข้มแข็ง
อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T – Threats)
- ขาดทักษะการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- ปัญหาภัยแล้ง
- ปัญหาโควิด
- กลุ่มอาชีพไม่สามารถร่วมตัวได้เข้มแข็ง
- สถาบันครอบครัวไม่เข้มแข้ง
- ขากทักษะจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมประชาคมหมู่บ้าน
สรุปการวิเคราะห์ SWOT ในครั้งนี้จะได้ทราบถึงปัญหาภายในและภายนอกชุมชนเพื่อมาวิเคราะห์ส่งเสริม อบรมการสร้างอาชีพเพื่อให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ภายในชุมชนแบบบูรณาการให้ยั่งยืนต่อไป