ข้าพเจ้า นางสาวศิริวรรณ กันสา ประเภทประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบลปราสาท-อำเภอบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ กิจกรรมแรกที่ได้รับมอบหมายคือการปฎิบัติงานด้านการสำรวจศักยภาพตำบล 16 เป้าหมาย
ข้าพเจ้าได้เป้าหมายที่ 9 จัดการโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม พลังงาน
เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นเดือนแรกของการทำกิจกรรม ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ข้าพเจ้าและทีมงานได้ยื่นหนังสื่อต่อปลัดเทศบาลเพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลต่างๆตามเอกสารการสำรวจศักยภาพตำบลทั้ง 16 เป้าหมาย
ซึ่งตำบลปราสาทประกอบด้วย 3 เทศบาล1.เทศบาลตำบลปราสาท 2.เทศบาลตลาดนิคม-ปราสาท 3.เทศบาลบ้านกรวด
วันที่ 10กุมภาพันธ์ 64 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากเทศบาลตำบลปราสาท
ช่วงเช้าข้าพเจ้าได้เข้าไปประสานงานกับแผนกกองช่างเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างทางกายภาพ ถนนที่ยังไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขและถนนที่เป็นจุดเสี่ยงยังไม่ได้ติดตั้งไฟฟ้าซึ่งในส่วนความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลปราสาทพบว่า ยังมีถนน 4 สายที่รอการปรับปรุง ต่อมาได้เข้าไปประสานงานกับกองสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม พบว่าทุกครัวเรือนมีการแยกขยะและมีการนำเอาขยะที่ไม่ใช้แล้วมารีไซเคิลเป็นของใช้นั่นก็คือ การทำกระเป๋าจากซองกาแฟ และบางครัวเรือนมีการนำขยะเปียกมาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ ในช่วงบ่ายได้เข้าไปประสานงานกับกองสวัสดิการเพื่อถามข้อมูลเกี่ยวกับครัวเรือนยากจน ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ คนพิการพบว่ามีอยู่ 94 ครัวเรือน
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 64 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากเทศบาลนิคม-ปราสาท
เวลา 10.00 น.ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าประสานงานกับกองสาธารณสุขเพื่อสอบถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พบว่าในส่วนรับผิดชอบของเทศบาลนิคม-ปราสาท มีบางครัวเรือนที่ไม่มีการคัดแยกขยะตามที่เทศบาลกำหนด แต่ชาวบ้านก็จะทำการแยกขวดพลาสติกและขวดแก้วไว้ขายเองของแต่ละครัวเรือนโดยไม่มีการจักตั้งกลุ่มธนาคารขยะ ต่อมา ต่อได้เข้าประสานงานกับกองสวัสดิการและกองช่างเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ พบว่ามีถนน 5 สายที่รอการปรับปรุงแก้ไข
ในช่วงบ่ายของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 64 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากเทศบาลบ้านกรวด
ข้าพเจ้าได้เข้าไปประสานงานกับกองช่างเกี่ยวกับโครงสร้างทางกายภาพพบว่ามีถนนที่ยังไม่ได้ปรับปรุง 1 สาย และเข้าประสานงานกับกองสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมพบว่าทุกครัวเรือนมีการแยกขยะ มีการนำขยะทีไม่ใช้แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์ คือ การนำซองกาแฟมาทำสานกระเป๋า การทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียก การนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาแลกไข่ สุดท้ายเข้าไปประสานงานกับกองสวัสดิการเรื่องครัวเรือนยากจน ผู้สูงอายุ คนพิการ พบว่าในส่วนที่เทศบาลบ้านกรวดรับผิดชอบนั้นมี คนยากจน 40 คน พิการ 126 คน ผู้สูงอายุ 493 คน
สรุปจากสอบถามข้อมูลจากเทศบาลทั้ง 3 แห่ง ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้คือ แต่ละครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ
คือขยะเปียกบางครัวเรือนนำไปใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ ส่วนขวดแก้วขวดพลาสติกจะแยกไว้ขาย
และจะมีผลผลิตจากขยะรีไซเคิลคือ 1.การทำกระเป๋าจากซองกาแฟ 2.การทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียก 3.การนำน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมาแลกไข่(ชุมชนปราสาททอง)
มีโรงเรียนเป็นแหล่งอาหาร เช่นปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไก่ไข่ นำไปทำอาหารกลางวันสำหรับเด็กมี 2 โรงเรียน
1.โรงเรียนบ้านสายตรี2 2.โรงเรียนบ้านละหอกตะแบง
มีการพัฒนาครัวเรือนตัวอย่าง หมู่บ้านตัวอย่างการจัดการขยะครบวงจร การจัดการพลังงานทดแทนมี 2หมู่
คือหมู่ 14 ชุมชนซอยร่วมจิต และหมู่ 9 ชุมชนบ้านสายโท 2 เหนือ
ข้าพเจ้าและทีมงานขอขอบคุณเจ้าหน้าที่เทศบาลทุกท่านที่กรุณาเสียสละเวลาและให้ข้อมูล
ไฟล์วีดีโอ