ข้าพเจ้า นางสาวจีรวรรณ บุญหนัก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ID08(1) การส่งเสริมยกระดับการแปรรูปกล้วยด้วยระบบซิป สร้างนวัตกรรมก๊าซชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนันท์ สายัณห์ปทุม อาจารย์ ดร.ณัฐ ประสีระเตสัง อาจารย์ และ ดร.ณัฐนันท์ ประสีระเตสัง

ในเดือนพฤศจิกายน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยากรพิเศษและทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลปราสาท ได้มีการจัดอบรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของชาวบ้านตำบลปราสาท การอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยการให้ชาวบ้าน นำผลิตภัณฑ์มาเสนอ แล้วให้ทีมงาน เอาไปปรับปรุงพัฒนา ในด้านต่างๆ ด้านการออกแบบ ด้านโปรดัก ด้านการตลาด

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ การสร้างสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติใหม่ หรือ ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไป ซึ่ง มีส่วนเพิ่มเติม หรือ สามารถสร้างประโยชน์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้ โดย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ นั้น มีความเกี่ยวพัน และ หมายถึง การแก้ไข เปลี่ยนแปลง สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ทั้งในด้าน รูปลักษณ์ การนำเสนอ และ สูตรการทำ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า หรือ เป็นที่น่าพึงพอใจต่อความต้องการของตลาด

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ ที่เป็นยุคดิจิทัลและมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ธุรกิจ ที่เรียกว่า Tech Startup เป็นผู้นำในเรื่องของ แนวทางปฏิบัติใน การการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยุคดิจิทัล หรือ Product Development Framework ขึ้นมาใหม่เพื่อให้ มีการทำงานที่กระชับและสามารถวัดผลได้รวดเร็ว กว่าที่จะต้องรอให้ตัวผลิตภัณฑ์สำเร็จและลงทุนไปมาก แต่สุดท้ายกลับต้องล้มเหลว

ดังนั้น ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ สมัยใหม่ นี้ จึงอ้างอิงไปถึง ลำดับขั้นต่างๆ เพื่อจะสามารถเปลี่ยนแปลงจากไอเดีย ในอากาศ หรือ ในกระดาษ ให้ออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์สู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัย รูปแบบของการทำงาน ดังนี้

1. กำหนดและตรวจสอบความต้องการในตลาด (product/market fit)

2. วางแนวความคิดและออกแบบผลิตภัณฑ์เบื้องต้น

3. สร้างแผนการดำเนินงานของการพัฒนาผลิตภัณฑ์

4. พัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่สามารถทำออกมาให้ใช้งานจริงได้และง่ายที่สุด หรือ ชื่อที่รู้จักกันในกลุ่มนักพัฒนา คือ Minimum Viable Product หรือ MVP (เอ็มวีพี)

5. ปล่อยผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ง่ายที่สุดนี้ (MVP) ออกไปเพื่อให้ผู้ใช้ได้ทดสอบ

6. ปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยยึดจากผลตอบรับโดยตรงจากผู้ใช้

จากแนวทางของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคใหม่นี้ จะเห็นได้ว่า มีความคล่องตัวสูง และ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่สามารถให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์แบบทุกอย่าง จากนั้น จึงค่อยกลับมาพัฒนาเพิ่มเติม เสริมต่อ เรื่อยๆ จนสามารถตอบโจทย์ลูกค้าและเข้าถึงตลาดเป้าหมายได้ในที่สุด

วิดีโอการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน

อื่นๆ

เมนู