ข้าพเจ้า นางสาวจีรวรรณ บุญหนัก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ID08(1) การส่งเสริมยกระดับการแปรรูปกล้วยด้วยระบบซิป สร้างนวัตกรรมก๊าซชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนันท์ สายัณห์ปทุม อาจารย์ ดร.ณัฐ ประสีระเตสัง อาจารย์ และ ดร.ณัฐนันท์ ประสีระเตสัง

ข้อมูลเกี่ยวกับ Sony Vegas Pro

1.1 ประวัติความเป็นมาของโปรแกรม Sony Vegas

Vegas หรือ ชื่อเต็ม คือ Sony Vegas คือโปรแกรมตัดต่อวิดีโอบนระบบปฏิบัติการWindows มีชื่อเสียง ตัวหนึ่ง เนื่องจากมีราคาแพง ประมาณ400-600 USD นับตั้งแต่รุ่น 2มา ซึ่งตอนนี้Vegas ได้พัฒนามาถึงรุ่น 15 แล้ว และVegasเป็นซอฟต์แวร์ประเภท Commercial (ซอฟท์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายหรือเรียกว่าซอฟท์แวร์เชิงพาณิชย์)

1.2 ความสามารถของโปรแกรม Sony Vegas Pro

1. ตัดต่อภาพยนตร์ หรือ สร้างวีดีโอจากภาพนิ่ง
2. ตัดต่อเสียง หรือ แต่งเสียงเพลง ดนตรี
3. มีฟังก์ชั่นให้เลือกมากมาย เช่น การปรับโทนสี ปรับโทนเสียง สร้างภาพเก่าๆ เป็นต้น
4. มีเอฟเฟกต์ให้เลือกมากมาย
5. รองรับการทำงานแบบ Layer สามารถซ้อนภาพและเสียงได้อย่างชัดเจนไม่จำกัด
6. สร้างเสียงแบบระบบ 5.1 ได้
7. โปรแกรมใช้งานได้รวดเร็ว
8. สนับสนุนรูปแบบสื่อได้หลากหลาย เช่น VCD, SVCD, DVD, และสื่อวีดีโอสำหรับแสดงผลบนเว็บไซต์
9. รองรับรูปแบบไฟล์อย่างหลากหลาย เช่น JPG, PSD, AVI , MOV และอื่นๆ อีกมากมาย

1.3 ส่วนประกอบของโปรแกรม Sony Vegas

1. Menu Bar คือ แถบเมนูสำหรับรวบรวมคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม
2. Tool Bar คือ แถบเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานบ่อยๆ เช่น New , Open , Save , Cut , Copy เป็นต้น
3. Support Windows คือ หน้าต่างที่ใช้สำหรับรวบรวมฟังก์ชั่นต่างๆ ของโปรแกรม รวมถึง การเข้าถึงไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
4. Time line คือ ส่วนที่แสดงผลระยะเวลาในการทำงานของ Cursor
5. Layer คือ ส่วนที่ใช้สำหรับ ซ้อนวีดีโอ เสียง หรือวัตถุอื่นๆ โดยแยกเป็นชั้นๆ ไป
6. Preview Windows คือ หน้าต่างสำหรับแสดงผลวีดีโอที่เรากำลังดำเนินการตัดต่อ
7. Control Bar คือ ส่วนที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของโปรเจ็ค เช่น เล่น หยุด พัก หรือ บันทึก เป็นต้น
8. Status Bar คือ แถบแสดงข้อมูลว่าเราสามารถเก็บข้อมูลได้อีกกี่นาที ในเครื่องของเรา

  • ความสำคัญของ Title

          จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้สาหรับภาพยนตร์ทุกเรื่องก็คือ Titleซึ่งจะเป็นตัวบอกถึงที่มาของภาพยนตร์ที่กาลังจะได้รับชม ประกอบด้วย ชื่อผู้สร้างหรือผู้ผลิต ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แสดง และทีมงาน แต่บางทีTitle อาจเป็นเพียงข้อความสั้นๆ เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่กาลังจะได้รับชม ก็เป็นได้

  • การสร้าง Title

การสร้าง Title ในโปรแกรมสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่
1. คลิกที่เมนู Insert แล้วเลือกคาสั่ง Text Media
2. คลิกขวาที่ Video track แล้วเลือกคาสั่ง Text Media

  • การแก้ไขข้อความ

หากต้องการแก้ไขข้อความ หรือเปลี่ยน Effect สามารถทาได้ 2 วิธี ดังนี้
1. คลิกขวาบน Text ที่ต้องการแก้ไข แล้วเลือกคาสั่ง Edit Generated Media
2. คลิกไอคอน Generated Media ที่จะแปะอยู่บน Text ในTimeline

  • การปรับแต่ง Transition

ส่วนสำคัญอีกประการ ที่ทาให้ Title มีความน่าสนใจ นั่นคือการปรับแต่ง Transition นั่นเอง ซึ่งโปรแกรม Vegas ได้รวบรวมเอาTransition ไว้มากมาย ซึ่งผู้ตัดต่อสามารถเลือกใช้ Transition เหล่านั้นได้ตามความเหมาะสม
วิธีเพิ่ม Transition มีด้วยกันหลายวิธี ในที่นี้จะนาเสนอเฉพาะวิธีที่ง่ายที่สุด นั่นคือ การลากแล้วปล่อย โดยเลือก Transition ที่ต้องการแล้วลากลงมาปล่อยยังตำแหน่งที่ต้องการให้เกิด Transition

  • การแทรกภาพ

การแทรกภาพในโปรแกรม Vegas สามารถทาได้หลายวิธี ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวก ซึ่งจะขอยกตัวอย่างมาเพียง2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 เลือกรูปภาพที่ต้องการจาก หน้าต่าง Explore แล้วลากมาปล่อยบน Timeline
วิธีที่ 2 คลิกปุ่ม Import ในหน้าต่าง Project Manager เพื่อรวบรวมภาพที่ต้องการ

  • การปรับแต่งภาพ

คุณสมบัติของโปรแกรม Vegas คือ เราสามารถตกแต่งภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยวิธีการที่สะดวกอีกทั้งยังสามารถปรับแต่งได้เพิ่มเติมตามใจชอบ
วิธีการปรับแต่งภาพใน Vegas สามารถทาได้โดย เลือก effect จากVideo FX แล้วลากมาวางบนภาพที่ต้องการปรังแต่ง ตัวอย่างเช่น การเพิ่ม effect ที่ชื่อว่า Add Noise

  • การสร้างวีดิทัศน์

การผลิตวีดิทัศน์นั้น ต่อให้มีภาพที่ดี มีเพลงที่ดี มีอุปกรณ์ในการตัดต่อที่ดี ก็ใช่ว่าวีดิทัศน์ที่ออกมานั้นจะดีไปด้วย เพราะวีดิทัศน์เป็นสื่อที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างสูง ในทุกขั้นตอนของการผลิต โดยขั้นตอนการผลิตวีดิทัศน์นั้น ประกอบด้วย 3Pได้แก่

  1. Pre-Production การเตรียมการก่อนการผลิต
  2. Production การดาเนินการถ่ายทา
  3. Post-Production ขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต นั่นคือการตัดต่อก่อนนาไปเผยแพร่

ดังนั้น การผลิตวีดิทัศน์ที่ดี จึงจาเป็นที่จะต้องมีการเตรียมเรื่อง คิด Concept และ Theme เขียน Script และเขียน StoryBoard เพื่อให้เห็นแนวทางในการผลิตที่ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มีทีมงานผู้ผลิตหลายคน หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ ก็อาจจะเป็นปัญหาในการทำงานได้

  • Concept และ Theme

เป็นการกาหนดแนวคิด และทิศทางของวีดิทัศน์ รวมไปถึงรูปแบบของวีดิทัศน์ที่จะนาเสนอ เช่น โฆษณาการท่องเที่ยวประเทศไทย มีConcept คือ นาเสนอความสวยงามของประเทศไทย ดังนั้น Themeของเรื่องก็คือ เมืองไทยเป็นประเทศที่สวยงาม ซึ่งต่อไป การเขียนScripts และ Storyboard ก็จะต้องดาเนินไปตาม Concept และTheme ของเรื่องที่กำหนดไว้

  • Scripts

สคริปต์หรือบท ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะบทพูดของตัวละครเท่านั้น แต่มีความหมายรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่จะปรากฎบนจอ ไม่ว่าจะเป็น ฉาก มุมกล้อง การเคลื่อนกล้อง การตัดต่อ ตัวหนังสือ เสียงเพลง ดนตรีประกอบ ซาวด์เอฟเฟค ฯลฯ ซึ่งสคริปต์จะต้องบอกรายละเอียดทุกอย่างได้ทั้งหมด เพื่อให้ทุกฝ่ายที่อยู่ในกระบวนการผลิตเข้าใจตรงกัน

  • Storyboard

เป็นภาพวาดที่สร้างขึ้นจาก Scripts โดยจะแสดงภาพร่างที่จะไปปรากฏบนจอจริงๆ ยิ่ง Storyboard ระบุรายละเอียดมาเท่าไหร่ ก็ทาให้การทางานสะดวกมาขึ้นเท่านั้น

  • การ Render

ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดต่อวีดิทัศน์ คือ การ Renderเพื่อนำวีดิทัศน์ออกไปใช้ตามรูปแบบที่ต้องการ ระยะเวลาในการRender จะขึ้นอยู่กับความยาวของวีดิทัศน์ คุณภาพของวีดิทัศน์ และประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสำคัญ
เนื่องจากการ Render ในแต่ละครั้งต้องใช้เวลานาน ดังนั้น จึงจาเป็นต้องมั่นใจว่า งานตัดต่อทุกอย่างเรียบร้อย ถูกต้อง และตรงตามความต้องการ โดยควรจะ Preview ดูจนมั่นใจ จึงทำการRender

1.4 ข้อดีและข้อด้อยของโปรแกรม Sony Vegas

ข้อดี

ใช้งานง่าย ทำให้มือใหม่เรียนรู้ได้เร็ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตำราใด ในเบื้องต้นได้ เพียงแค่ลากวาง มั่วๆก็เป็นแล้วในการตัดต่อง่ายๆ สามารถใช้ คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพไม่สูงนัก ในการใช้งานที่สำคัญมีDownload ฟรีที่ เว็บไซต์เลย เพียงแค่ หา crack หรือ แค่เลขเด็ด ก็ใช้งานได้สมบูรณ์แล้ว เป็นต้น

ข้อด้อย

บางอย่างยังด้อยกว่า โปรแกรมชื่อดังที่มีอายุมานานแล้ว เช่น มีการสนับสนุนจากบรรดาผู้ผลิต โปรแกรมที่เรียกว่า plug ins ต่างๆน้อย รวมถึง การใช้งานร่วมกับ อุปกรณ์ต่างๆด้วย เช่น การ์ดตัดต่อวิดีโอ ที่ไม่แพร่หลายเท่า แต่ปัจจุบัน เริ่มดีขึ้น ผู้ผลิตโปรแกรมต่างๆปรับแต่งให้สามารถใช้ร่วมกับ Vegas ได้มากขึ้น

1.5 การใช้งานเบื้องต้น

การเริ่มต้นตัดต่อเราควรรู้จัก คีย์ลัดที่ใช้บ่อยๆ กัน
1. space bar = คือ ใช้สำหรับ Play / Stop หรือการเล่นการหยุด งานใน timeline
2. S = คือ ใช้สำหรับตัด clip ให้เป็นท่อนๆ
3. Ctrl + c = คือ การ copy file วีดีโอ
4. Ctrl + v = คือ การวาง file วีดีโอในตำแหน่งที่เราต้องการ
5. Ctrl + x = คือ การคัตวีดีโอเพื่อจะนำไปวางในส่วนอื่น
6. Ctrl + z = คือ ย้อนกลับการทำครั้งล่าสุด 1 ครั้ง
7. V = คือ การมาร์คจุดเพิ่ม / ลด เสียงตามที่เราต้องการ
8. V + Shift = คือ การเพิ่มลดเสียงอย่างง่าย โดยการกดShift ค้าง จะให้เป็นสัญลักษณ์รูปดินสอ ขึ้นสามารถลากเพิ่มลดเสียงตามที่เราต้องการ
9. U = คือ การแยกภาพและเสียงออกจากกัน
10 ctrl + g = คือ การรวม file วีดีโอแต่ละชิ้นมารวมกันโดยการกด ctrl ค้างไว้เลือก file ที่ต้องการรวมจากนั้นกด g ก็จะเป็นวีดีโอก้อนเดียวกัน
11. Ctrl + s = คือ การเซฟงานครั้งล่าสุดที่เราทำไว้

1.6 ประโยชน์ของงานวีดีโอ

1. แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงานและองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
2. บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ งานวันเกิดงานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
3. การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอ
โดยตรง เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
4. การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
5. วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง วิทยากรที่เชิญมาบรรยายผู้จะเกษียณอายุจากการทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ

1.7 แนวคิดในการสร้างวีดีโอ

ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวีดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิดวางแผนมาอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวีดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลยโดยไมมีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเสมอก็คือการไม่ได้ตามที่ต้องการ เนื้อที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ

1. เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างวีดีโอ คือ การเขียนStoryboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริง ในการเขียน Storyboard อาจมีวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพประกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการจะสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก ตามลำดับ

2. เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วีดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือ ไฟล์ดนตรี

3. ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อ คือ การนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวีดีโอ งานวีดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปนี้

4. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวีดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

5. แปลงวีดีโอเพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวีดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำงานวีดีโอที่เราทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน

ลำดับขั้นตอนของงานตัดต่อ

ขั้นตอนที่ 1 วางแผน คือ การเตรียมการทำงานว่ามีขั้นตอนใดบ้าง เป็นการร่างแบบไว้ในกระดาษ Storyboard เพื่อให้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจนของงาน

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมวัตถุดิบคือ การเตรียมไฟล์ข้อมูล เช่น ไฟล์วิดีโอ, ไฟล์ภาพ, ไฟล์เสียง เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 ตัดต่อ คือ การนำข้อมูลที่เตรียมไว้มาตัดต่อเข้าด้วยกันตามที่วางแผนคือ ขั้นตอนการใช้โปรแกรมในการตัดต่อนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 4 ประมวลผล คือ การประมวลผล (Render) เพื่อให้ชิ้นงานเสร็จสมบูรณ์อยู่ในรูปไฟล์วิดีโอ พร้อมที่จะใช้งานด้วยโปรแกรมแสดงผลวิดีโออื่นๆ

ขั้นตอนที่ 5 ส่งออก คือ การนำวิดีโอที่ตัดต่อและประมวลผลเสร็จสมบูรณ์แล้วไปใช้งาน เช่น เผยแพร่ทาง
อินเทอร์เน็ต, หรือออกอากาศไปยังสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น

วิดีโอประจำตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เดือนกันยายน

อื่นๆ

เมนู