ข้าพเจ้า นายจารึก ลาหนองแคน ประเภทประชาชนทั่วไป ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: ID08(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เตาแก๊สชีวมวลเป็นแก๊สที่ชาวบ้านสามารถที่จะผลิตจากเชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้บ้าน สามารถที่จะนำมาใช้ในการหุงต้มแทนแก๊สที่เราซื้อจากร้านหรือที่เราเรียกกันติดปากว่าแก๊ส ปตท.คำว่าชีวมวลจริงๆ เรามีแก๊สชีวมวลกับแก๊สชีวภาพสองอย่าง แก๊สชีวมวลเป็นแก๊สที่เกิดจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา วัสดุเหลือใช้โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร เช่น แกลบ กิ่งไม้เราตัดกิ่งไม้ต่างๆบ้านนำมากองๆ ไว้แทนที่ว่าจะเผาทิ้งทำลายสิ่งแวดล้อม เรานำกิ่งไม้มาแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์ หรือซังข้าวโพดทางภาคใต้ก็จะมีพวกกะลามะพร้าวที่มีคุณภาพดี วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรนำมาเผาและจะกลายเป็นแก๊ส การทำแปรสภาพให้เป็นแก๊สส่วนคำว่าชีวภาพ แก๊สชีวภาพเรายกตัวอย่างง่ายๆ ว่าวันนี้ที่บ้านเรือนของเรามีเศษอาหารเหลือใช้แทนที่ว่าเราจะทิ้งให้เกิดกลิ่นเหม็นและมีปัญหากับสิ่งแวดล้อม เรานำเศษอาหารของเราทั้งข้าวทั้งอาหารทั้งผักทั้งปลามาหมักในถังเมื่อใช้เวลาสักสิบยี่สิบวัน แล้วเราใส่เชื้อที่เป็นขี้หมูขี้วัวขี้ควายเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดแบคทีเรียเป็นตัวช่วยในการย่อยสลาย เมื่อเกิดแก๊สตัวนี้ก็เป็นแก๊สลักษณะคล้ายกันกับแก๊สที่เราได้จากการเผาแต่อันนี้ได้จากการหมักเป็นแก๊สชีวภาพ
เตาถ่านทั่วไปเมื่อเทียบกับเตาแก๊สชีวมวลจะมีความแรงเร็วกว่า เพราะว่าความเป็นแก๊สจะให้ความร้อนมากกว่าเตาถ่านทั่วไป จุดเริ่มต้นให้เห็นว่าแก๊สชาวบ้านอย่างเราๆ สามารถที่จะผลิตนำมาใช้ในครัวเรือนได้ ไฟเข้าไม่ถึง เช่น เห็นว่าเครื่องปั่นไฟไปใช้ในชุมชนต้องนำน้ำมันไปด้วย แต่ถ้าหากว่าคนเข้าใจเรื่องนี้ไม่ต้องนำน้ำมันไปเครื่องปั่นไฟรุ่นนี้ สิ่งเตรียมไปคือ ไม้ฟืนเตรียม ซังข้าวโพด เราใช้เผาวัสดุเหล่านี้จะได้แก๊สขึ้นมา นำแก๊สไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า หรือเครื่องปั๊มสูบน้ำก็ได้ สิ่งนี้คือการพัฒนาต่อเนื่องไปเรียกว่า การสร้างเชื้อเพลิง การสร้างพลังงานที่เราสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้
เอกสารอ้างอิง
https://www.stou.ac.th/study/sumrit/7-60/page2-7-60.html
วีดีโอประจำตำบลเดือนมิถุนายน