ข้าพเจ้า นายพิทวัส ปัตเตย์ ประเภทนักศึกษา   ตำบลปราสาท  อำเภอบ้านกรวด  จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร: ID08(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

     เพื่อให้ประชาชนของชุมชนชาวตำบลปราสาทมีความรู้หลักการของเทคโนโลยีเตาแก๊สชีวมวลเพื่อจะได้นำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆดังนั้นเตาแก๊สชีวมวลแบบใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงจะใช้หลักการของกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น หรือจํากัดอากาศให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิง โดยกระบวนการนี้จะเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น ไม้ ถ่านไม้ ถ่านหิน แกลบ และขี้เลื่อย และวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถติดไฟได้ ให้กลายเป็นแก๊สที่สามารถเผาไหม้ได้ โดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงในที่ๆ มีออกซิเจนอยู่อย่างจํากัด ซึ่งแก๊สที่ได้มีส่วนประกอบหลักคือ แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์(CO),ไฮโดรเจน (H2), แก๊สมีเทน (CH4) และพวกสารระเหยต่างๆ ซึ่งแก๊สเชื้อเพลิงที่ผลิตได้นี้เรียกว่า โปรดิวเซอร์แก๊ส (Producer gas) ซึ่งประสิทธิภาพของการผลิตโปรดิวเซอร์แก๊ส ขึ้นกับกระบวนการผลิตและคุณภาพของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตเป็นหลัก

 

วิธีการใช้งาน

    เตาแก๊สชีวมวลแบบใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง จะเริ่มจากเปิดช่องอากาศเข้า และช่องขี้เถ้าออก เพื่อให้อากาศเข้าห้องเผาไหม้ของเตา หลังจากนั้นเอาเศษไม้ กิ่งไม้ใส่ช่องด้านบนของเตาจนถึงปากเตาด้านบน และจุดติดไฟด้วยเศษไม้ทีÉลุกติดง่าย พอเตาเริ่มลุกติดให้รักษาเปลวไฟที่ไหม้เศษไม้ในเตาอย่างต่อเนื่อง โดยอย่าให้เตาดับ โดยเตาชนิดนี้ต้องอุ่นเตาให้ร้อนก่อนซึ่งจะช่วยให้การเผาไหม้ได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสําหรับชุมชนเป้ าหมายในโครงการ

  1. ชุมชน สามารถลดพลังงานในการหุงต้มอาหาร ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
  2. ลดปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาไหม้ที่โล่งแจ้ง ด้วยการนําวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นแก๊สชีวมวลทดแทน LPG ในครัวเรือน โรงอาหารในโรงเรียน
  3. ได้ต้นแบบระดับ หมู่บ้าน/โรงเรียน เทคโนโลยีด้านการเกษตรและพลังทดแทน

เอกสารอ้างอิง

http://www.clinictech.ops.go.th/online/techlist/attachFile/2012371026231.pdf

วีดีโอประจำตำบลเดือนมิถุนายน

อื่นๆ

เมนู