จากที่ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลข้อมูลจากการ SWOT เมื่อเดือนที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบข้อมูลของตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และพวกเราได้พบว่าในพื้นที่มีปริมาณของกล้วยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจังมีความเห็นร่วมกันว่า “การแปรรูปจากกล้วย” น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดในการนำยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน เพราะสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลายทั้งเอาไว้รับประทานและสามารถนำมาบรรจุภัณฑ์เป็นสินค้า OTOP ของชุมชนได้ด้วย ดังนั้นจากการที่ได้ร่วมประชุมในการแปรรูปกล้วยแล้วพบว่าสามารถนำมาแปรรูปได้ในรูปแบบต่าง ๆ โดยจะเริ่มจากประโยชน์ของกล้วย การแปรรูปจากชนิดกล้วยก่อนว่าสามารถนำมาทำอะไรได้บ้างรวมทั้งวิธีการทำด้วย การนำส่วนต่าง ๆที่ไม่ใช่ผลกล้วยมาใช้ประโยชน์ การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และแนะนำการขาย ดังนี้

ประโยชน์ต่าง ๆ ทางโภชนาการของกล้วย

      

  1. แก้อาการท้องผูก

สำหรับใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย และลำไส้ การกินกล้วยเป็นประจำจะช่วยได้ เนื่องจากกล้วยมีทั้งโพรไบโอติกส์ที่ช่วยผลิตแบคทีเรียชนิดดีต่อลำไส้ และกำจัดแบคทีเรียตัวร้ายต่อลำไส้ออกไป อีกทั้งในกล้วยยังมีฟรุกโตโอลิโกแซกคาไรด์ ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ที่จะช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องตัวขึ้นมาก

  1. ช่วยรักษาไมเกรน

อาการปวดหัวไมเกรนเป็นความทรมานสำหรับผู้ป่วยโรคนี้มาก และหากคุณมีอาการปวดหัวไมเกรนบ่อย ๆ แนะนำให้กินกล้วย จะช่วยลดอาการปวดหัวได้ เนื่องจากกล้วยอุดมไปด้วยแมกนีเซียม ที่จะช่วยบรรเทา และป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนได้

  1. ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น

กล้วย อุดมไปด้วยกรดอะมิโน และทริปโตเฟน สารประกอบสำคัญของการสร้างเซโรโทนินในสมอง ซึ่งเปรียบเสมือนยาระงับประสาทแบบธรรมชาติ ดังนั้นคนที่นอนหลับยาก การกินกล้วยหลังอาหารมื้อเย็น หรือก่อนนอน จะช่วยทำให้นอนหลับได้สบายขึ้น

  1. ลดความอ้วนได้ดีขึ้น

กล้วยมีวิตามิน B1 และ B2 คอยช่วยเร่งการเผาผลาญน้ำตาล และไขมัน อีกทั้งยังมีคาร์โบไฮเดรตชนิดดีต่อร่างกาย มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ เมื่อกล้วยตกเข้าไปในระบบย่อยอาหารจึงดูดซับน้ำ พองตัว และช่วยทำให้ท้องรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น หากกินกล้วยในตอนเช้าจะช่วยลดความอยากของหวานได้อีกด้วย เพราะความหวานของกล้วยจะเข้าไปเติมเต็มอาการอยากของหวานชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญความหวานของกล้วยยังปราศจากแคลอรีอีกด้วย

  1. ช่วยลดความเครียด

เมื่อเรารู้สึกเครียด ความดันเลือดจะพุ่งขึ้นสูงกว่าปกติ ซึ่งโพแทสเซียมที่มีอยู่ในกล้วยจะช่วยบรรเทาให้ความดันเลือดกลับเข้าสู่ภาวะสงบได้ ในทางโภชนาการจึงถือว่า กล้วยเป็นยาระงับประสาทแบบธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง

  1. บำรุงหัวใจ

โพแทสเซียม เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ไม่เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และกล้วยมีโพแทสเซียมอยู่สูงมาก แถมมีโซเดียมน้อย ดังนั้นกล้วยจึงเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงหัวใจ และบำรุงระบบหัวใจ และหลอดเลือด ได้ค่อนข้างสูง

  1. บำรุงสายตา

วิตามิน A บวกกับ เบต้าแคโรทีน และอัลฟา-แคโรทีน ที่มีอยู่ในกล้วย จะช่วยบำรุงสายตา และการมองเห็นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะป้องกันอาการตาพร่ามัว อาการมองเห็นไม่ชัดเจน เพราะกล้วยมีสรรพคุณช่วยในการบำรุงการทำงานของระบบประสาทตา

  1. บำรุงกระดูก

ถึงแม้กล้วยจะเป็นผลไม้ที่ไม่มีแคลเซียมเลย แต่ฟรุกโตโอลิโกแซกคาไรด์ คาร์โบไฮเดรตที่มีคุณสมบัติเหมือนไฟเบอร์ละลายน้ำได้ ที่มีอยู่ในกล้วย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับถ่าย และส่งเสริมให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่กินได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมไปบำรุงกระดูกเพิ่มขึ้นนั่นเอง

  1. ลดอาการโรคโลหิตจาง

เพราะในกล้วยมีธาตุเหล็กสูง จึงช่วยกระตุ้นร่างกายให้ผลิตเม็ดเลือดแดงคุณภาพดี ซึ่งช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้ และยังช่วยในกรณีที่ไม่มีแรง ให้กลับมามีกำลังได้อีกด้วย

การแปรรูปจากกล้วยดิบ

1.  การทำกล้วยอบเนย กล้วยฉาบ หรือ “กล้วยกรอบแก้ว”

ใช้กล้วยดิบ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยหักมุก นำมาฝานบาง ๆ ตามยาว หรือตามขวาง อาจจะผึ่งลมสักครู่ หรือฝานลงกระทะทันทีก็ได้ และทอดในกระทะที่ใส่น้ำมันท่วม เมื่อชิ้นกล้วยสุกจะลอย ก็ตักขึ้นและซับน้ำมันด้วยกระดาษฟาง จากนั้นอาจนำไปคลุกเนย เรียกว่า กล้วยอบเนย หรือฉาบให้หวานด้วยการนำไปคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวจนเกือบแห้งในกระทะ เรียกว่า กล้วยฉาบ หรือนำไปคลุกในน้ำเชื่อม แล้วเอาลงทอดอีกครั้งอย่างรวดเร็ว เรียกว่า กล้วยกรอบแก้ว

 

2. แป้งกล้วย

  นำกล้วยดิบมานึ่งให้สุก ปอกเปลือก หั่น และอบให้แห้ง แล้วบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ใช้ทำขนมกล้วยและบัวลอย หรือผสมกับแป้งเค้กใช้ทำคุกกี้ได้ ทำให้มีกลิ่นหอมของกล้วย

 

 

การแปรรูปจากกล้วยสุก

  1. น้ำผลไม้

นำเนื้อกล้วยที่สุกมาหมักใส่เอนไซม์เพกทิโนไลติก (pectinolytic) ความเข้มข้น ๐.๐๑ % เพื่อย่อย และบ่มไว้ที่อุณหภูมิ ๔๕ องศาเซลเซียส นาน ๑ ชั่วโมง จะได้น้ำกล้วยที่ใส

  1. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น ยูกันดา รวันดา บุรุนดี คองโก และแทนซาเนีย นิยมนำกล้วยมาทำเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำ ในประเทศยูกันดา เรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า วารากิ (Waragi) ประเทศฝรั่งเศสนำเนื้อกล้วยสุกบดเหลวผสมกับน้ำ และทำให้ร้อน ๖๕ – ๗๐ องศาเซลเซียส นาน ๑ ชั่วโมง แล้วทำให้เย็นลงที่อุณหภูมิ ๔๐ องศาเซลเซียส ต่อมาใส่เอนไซม์เพกทิเนส (pectinase) ทิ้งไว้นาน ๒๔ ชั่วโมง ภายใต้บรรยากาศที่เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ นำส่วนที่เป็นกากมาบด แล้วนำส่วนที่เป็นน้ำมาหมักด้วยเชื้อ Saccharomyces cerevisiae ที่อุณหภูมิ ๒๕ องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ หรือไนโตรเจน จะได้สุราผลไม้ที่ทำจากกล้วย

  1. กล้วยตาก (banana figs)

 นำกล้วยที่สุกงอมมาปอกเปลือก และนำไปตากแดด ๑ – ๒ แดด จากนั้นมาคลึงเพื่อให้กล้วยนุ่ม แล้วนำไปตากอีก ๕ – ๖ แดด หรือจนกว่ากล้วยจะแห้งตามต้องการ (ในทุก ๆ วันที่เก็บ ให้นำกล้วยทั้งหมดมารวมกัน น้ำหวานจากกล้วยจะออกมาทุกวัน และกล้วยจะฉ่ำ แล้วนำไปตากแดด) ระวังอย่าให้แมลงวันตอม ส่วนการตากอาจใช้แสงอาทิตย์ หรือเตาอบขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือไฟฟ้า

  1. กล้วยกวน

นำกล้วยสุกงอมมายี แล้วเคล้ากับน้ำตาลและกะทิ นำไปกวนในกระทะที่ไม่เป็นสนิม กวนที่ไฟอ่อนๆ จนสุกเหนียว ปั้นเป็นก้อนกลม หรือสี่เหลี่ยม แล้วห่อด้วยกระดาษแก้ว

 

 

5. ทอฟฟี่กล้วย

คล้ายกล้วยกวน แต่ใส่แบะแซ จึงทำให้แข็งกว่ากล้วยกวน

 

 

 

6. ข้าวเกรียบกล้วย

ใช้กล้วยสุกผสมกับแป้งและเกลือ อาจเติมน้ำตาลเล็กน้อยนวดแล้วทำเป็นแท่งยาวๆ นึ่งให้สุก เมื่อสุก ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารว่าง ข้าวเกรียบกล้วยนี้หากใช้กล้วยที่มีกลิ่นจะทำให้หอม

 

 

กล้วยหอม นิยมบริโภคสด

กล้วยน้ำว้า มีการใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ตั้งแต่ผลกล้วยดิบที่แก่จัดก็ใช้ประโยชน์เป็นกล้วยฉาบชนิดแว่น ชนิดแผ่น และแป้งกล้วย ผลกล้วยห่ามแต่ยังไม่สุกก็เป็นกล้วยปิ้ง และกล้วยทอด ผลกล้วยสุกก็ใช้บริโภคสด แปรรูปเป็นกล้วยบดเพื่อเป็นอาหารเด็ก เป็นส่วนผสมของขนม เช่น ขนมกล้วย กล้วยแผ่น และทองม้วนกล้วย กล้วยตาก/อบชนิดผลหรือแผ่น ผลกล้วยที่งอมก็ใช้ทำเป็นกล้วยกวน

กล้วยไข่ นิยมบริโภคสด และกล้วยไข่ที่ห่ามเกือบสุกจะนิยมทำกล้วยเชื่อมทั้งเปียกและแห้งเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก กล้วยไข่ที่สุกก็ทำข้าวเม่าทอด

กล้วยหักมุก กล้วยหักมุกมี 2ชนิด คือ หักมุกเขียวใช้ทำกล้วยฉาบชนิดแว่นหรือแผ่น มีลักษณะปรากฏที่ดีทอดแล้วเนื้อมีสีเหลืองและกรอบ กล้วยชิ้นทอด (French Fry Type) ส่วนกล้วยหักมุกขาวหรือเหลืองจะนิยมทำกล้วยปิ้ง/เผา

กล้วยเล็บมือนาง นิยมบริโภคสด และมีบ้างใช้ทำกล้วยตาก/อบ

กล้วยหิน มีลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกเขียว ลูกป้อมสั้น และเนื้อแน่น นิยมใช้ทำกล้วยฉาบ

ส่วนที่ไม่ใช่ผลของกล้วย

เศษเหลือจากการใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร ได้แก่ เปลือกกล้วย โดยเฉพาะเปลือกกล้วยน้ำว้าสุกที่เหลือจากการทำกล้วยตาก/อบ และกล้วยกวนแปรรูปจะนำไปตากแห้ง และใช้เป็นเชื้อเพลิงใน   การกวนผลไม้แทนการใช้ฟืน ซึ่งให้ไฟค่อนข้างแรงและสม่ำเสมอ เนื่องจากเส้นใย/น้ำตาลในเปลือกกล้วยสุก

เศษเหลือจากการเกษตร ได้แก่ ใบกล้วย ก้านกล้วย ต้นกล้วย และหน่อกล้วย สำหรับหน่อกล้วยใช้ทำพันธุ์ ใบกล้วยใช้ห่อขนม เช่น ข้าวต้มผัดไส้กล้วย ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ขนมกล้วย ใช้ห่อแหนม หมูยอและปลาส้ม ใบกล้วยยังใช้ทำกระทงน้ำจิ้ม และกระทงขนมเข่ง

ก้านกล้วยและต้นกล้วย มีการนำไปดึงเป็นเส้นตากแห้ง เรียกว่า เชือกกล้วย แต่ก็ถูกแทนที่ด้วยเชือกพลาสติก มีการนำก้านกล้วยและต้นกล้วยมาทำเป็นเส้นแล้วถัก/ร้อย/สานเป็นประเป๋า ถาด และเสื่อ

การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และการแนะนนำการขาย

 

          จากการแปรรูปกล้วยในรูปแบบต่าง ๆที่ได้กล่าวมาสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าในการสินค้าได้ทุกตัวเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยการนำการแปรรูปในรูปแบบต่าง ๆเรานี้มาบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจมีพิมลวยลายที่สวยงามหรือน่าลงลงในซองบรรจุให้ดูน่าสนใจในการซื้อ มีสติ๊กเกอร์หรือโบรชัวร์เกี่ยวกับกล้วยที่น่าสนใจพร้อมทั้งใส่คำที่สามารถจะเชิญชวนคนซื้อไว้ด้วย ในส่วนของช่องทางการขายสามารถที่จะนำไปจำหน่ายในร้านค้าในชุมชนของตนเพื่อให้เป็นสินค้าOTOPของชุมชน และเปิดช่องทางในโซเชียลเช่น เปิดเพจในFacebook Instagram และLike ให้สั่งซื้อสินค้าในช่องทางนี้ได้และเพื่อโปรโมทสินค้าในชมชนของตนเองด้วย ส่วนWebsite เป็นการเปิดโปรโมทสินค้าOTOPของตนอีกช่องทางเพื่อให้ผู้คนสนสินสินค้าของเรามากขึ้นและเป็นการเพิ่มยอดขายอีกทาง

อื่นๆ

เมนู