จากการสำรวจและเก็บข้อมูลในตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รวบรวมข้อมูลและสรุปผลนำมาวิเคราะห์แบบ SWOT เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน เพื่อวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดเเข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือปัญหาสำคัญภายในภายนอกชุมชน โดย SWOT  คือตัวอักษรย่อคำ 4 คำใช้ในการวางแผนสร้างกลยุทธ์ธุรกิจ ประกอบด้วย Weaknesses Strengths  Opportunities และ Threats หน้าที่ของ SWOT Analysis คือ การหาวิธีสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจและหลีกเลี่ยงความล้มเหลวจากปัจจัยที่อาจถูกมองข้ามได้ง่าย ดังนั้นเราจึงใช้ วิธีการ SWOT เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของโครงการ ทั้งหมด 11 หมู่บ้านในตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถวิเคราะห์ผลออกมาได้ดังนี้

 จุดอ่อน (Weaknesses)

  1. ไม่มีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้แน่นอน
  2. ประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สินนอกระบบ
  3. ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำใช้อุปโภคบริโภค
  4. การรวมกลุ่มยังไม่เข้มแข็งและไม่ยั่งยืน
  5. เส้นทางคมนาคมไม่สะดวกและยังไม่ได้มาตรฐาน
  6. ประชาชนยังขาดการปลูกฝังและเรียนรู้การใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง
  7. ปัญหาขยะในชุมชนไม่มีสถานที่รับรองขยะและระบบจำกัดขยะที่ได้มาตรฐาน

จุดแข็ง (Strengths)

  1. มีพื้นที่ทำกินค่อนข้างมาก
  2. ประชาชนมีคุณภาพในการบริหารงาน
  3. มีงบประมาณดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วย
  4. ประชากรส่วนใหญ่ปลูกต้นกล้วยทุกครัวเรือน
  5. มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงคนในชุมชน
  6. มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
  7. มีสถานศึกษาในตำบลมีความพร้อม มีศักยภาพในการศึกษา มีศูนย์เรียนรู้ วิสาหกิจชุมชน
  8. เทศบาลออกกฎหมายท้องถิ่นที่สามารถแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนได้

 โอกาสที่จะดำเนินการได้ (Opportunities)

  1. ประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดี
  2. หน่วยงานรัฐส่งเสริมพื้นที่ทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
  3. หน่วยงานรัฐให้ความช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพ
  4. มีนโยบายกองทุนหมู่บ้านทำให้ชุมชนต่างมีความเข้มแข็ง
  5. รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนหรือเชื่อมโยงเครือข่าย
  6. สามาถรขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

อุปสรรคในการดำเนินงาน  (Threats)

    1. สถาบันครอบครัวไม่เข้มแข็ง
    2. ขาดทักษะการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    3. ขาดทักษะจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    4. ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมประชาคมหมู่บ้าน
    5. ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาโควิด กลุ่มอาชีพไม่สามารถร่วมตัวได้เข้มแข็ง

 

จากข้อมูลข้างต้นจะทำให้ทราบถึงจุดที่ดีอยู่แล้วและจุดที่ควรร่วมกันปรับปรุงแก้ไข  เช่น การอบรมการสร้างอาชีพเพื่อให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดต่อไป 

ภาพกิจกรรม

 

 

อื่นๆ

เมนู