ข้าพเจ้า นางสาวปิยะดา ได้ทุกทาง บัณฑิตจบใหม่ ได้ทำการสำรวจลงพื้นที่ในหมู่บ้านหัวถนน หมู่ที่ 7 จากการสำรวจหมู่บ้านหัวถนน หมู่ที่ 7 ได้ลงสำรวจพื้นที่ในวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2564 โด   ส่วนใหญ่แล้วพบว่าชาวบ้านจะทำอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ เช่น ทำนา ปลูกมันสำปะหลัง และปลูกต้นยางพารา บางครัวเรือนจะประกอบอาชีพเลี้ยงไก่เพื่อจำหน่าย และเลี้ยงไว้เพื่อรับประทานในครัวเรือนมากกว่าจะประกอบเป็นอาชีพ

ในส่วนของชีวิตประจำวันนั้น แต่ละครัวเรือนจะใช้ชีวิตแตกต่างกัน ในช่วงเช้าจนถึงช่วงสายของแต่ละครัวเรือนจะออกไปดูไร่นาและสวนของตนเอง บางครัวเรือนที่ทำอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ ในช่วงเช้า จะนำสัตว์เลี้ยงไปปล่อยไว้ตามสวนและทุ่งนาของตนเอง ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในช่วงนี้ได้ทำการปิดหน้าแล้ว จึงไม่ได้มีการกรีดยางในช่วงนี้และมีการว่างงาน ทำให้ไม่มีรายได้ในช่วงนี้ กล่าวถึงไปว่าโดยรายได้ของคนในชุมชนนั้นมาจากอาชีพ เช่น การทำการเกษตร รายได้เฉลี่ยแต่ละครัวเรือนนั้น อยู่ที่ น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน/ครัวเรือน ในการทำการเกษตร มีการลุงทนจำนวนมาก ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา สารเคมี ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างรถไถ ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง ทำให้เงินทุนในส่วนของตนเองนั้นไม่เพียงพอ จึงเกิดการหยิบยืมเงินจากสถานที่ให้บริการต่างๆ ทั้งในระบบและนอกระบบ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตร(ธกส) ส่งผลให้คนในชุมชนมีหนี้สิ้นเป็นจำนวนมาก

ในด้านแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน เช่น ห้วย วัด

ในหมู่บ้านนี้เคยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในต้นปี 2563 มีการสั่งปิดหมู่บ้านเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบให้คนในชุมชนได้รับปัญหา ตกงานและขาดรายได้และในปัจจุบันผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้คนในชุมชนที่เคยไปประกอบอาชีพที่ต่างๆ เช่น กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฯลฯ จึงส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบอาชีพ ว่างงาน ตกงาน และขาดรายได้  จึงย้ายกลับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง เพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว

ปัญหาที่พบในชุมชนส่วนใหญ่ คือ แหล่งน้ำใช้ไม่เพียงพอและน้ำประปาข้น เส้นทางบางเส้นยังไม่ได้รับการแก้ไข และพัฒนา รวมไปถึงไฟฟ้าตามซอยยังไม่ทั่วถึง และปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจนของคนในชุมชน

 

อื่นๆ

เมนู