ข้าพเจ้านางสาวกชพร ใจหวัง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

บ้านโนนเจริญ เดิมขึ้นอยู่กับตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เดิมหมู่บ้านโนนเจริญเป็นหมู่บ้านที่มีเนินภูเขาเล็ก ๆ ตรงกลางหมู่บ้าน (ปัจจุบัน คือ บริเวณวัดไตรคงคาราม) มีสระน้ำโบราณใหญ่ 2 สระ รอบหมู่บ้านชื่อสระหนองสังข์ และสระบ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้มากมายมีทางเดินของสัตว์ป่าลงมาดื่มน้ำในสระเป็นประจำ ชาวบ้านจึงพากันเรียกเนินเล็ก ๆ นี้ว่า โนนเจริญ ตามลักษณะความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ต่อมาได้แยกตั้งเป็นตำบลโนนเจริญ เมื่อปี พ.ศ.2497 โดยมี นายนวล พาชื่นใจ เป็นกำนันคนแรก ตำบลโนนเจริญ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอ มีพื้นที่ประมาณ 21,679 ตร.กม. หรือ 13,549.38 ไร่ ลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม โดยลาดเอียงจากทิศใต้ลงไปทิศเหนือ และสภาพทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นพื้นที่ทำนา

     

พื้นที่ชุมชนโนนเจริญที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน สำรวจข้อมูลระหว่างวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.00-16.00 น. ได้ทำการสำรวจข้อมูลจำนวน 95 หลังคาเรือน ซึ่งจะเป็นการสำรวจข้อมูลพื้นฐานใน     ครัวเรือน และข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 การทำงานครั้งนี้ทางผู้ปฏิบัติงานได้ยื่นหนังสือเพื่อขออนุญาตจากผู้นำชุมชน ผู้นำจึงได้ช่วยประชาสัมพันธ์ใช้ชาวบ้านรับทราบก่อนที่ผู้ปฏิบัติงานจะลงพื้นที่ ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ตอบแบบสอบถามอย่างครบถ้วน ผลจากการดำเนินงานพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีอาชีพทำนาเป็นหลัก รองลงมาคือทำสวนยางพารา ปลูกมัน ค้าขาย และรับราชการตามลำดับ หลังจากฤดูทำนา ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพเสริมแต่จะมีชาวบ้านบางส่วนเท่านั้นที่จะออกไปรับจ้างที่ต่างจังหวัด บางครอบครัวปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลาไว้บริโภคเองภายในครัวเรือนเพื่อลดค่ารายจ่าย และบางครอบครัวก็ประสบปัญหาความยากจน ไม่มีรายได้ ชาวบ้านกลุ่มนี้จะอาศัยรายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุและรายได้จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการดำรงชีพ นอกจากนี้ก็ยังพบว่าปัญสิ่งแวดล้อมในชุมชนก็เป็นปัญหาที่สำคัญเช่นกัน ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภค รองลงมาอันดับที่ 2 เป็นปัญหาถนนในชุมชนชำรุดเป็นหลุม เป็นบ่อ อันดับ 3 ปัญหาไฟส่องสว่างมีไม่เพียงพอ และ อันดับสุดท้าย ปัญหายาเสพติดในชุมชน

      จากการสำรวจข้อมูลด้านผลกระทบจากโควิด-19 พบว่าคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด-19 เป็นอย่างดี มีการปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างจริงจังและเคร่งครัด ทั้งในเยาวชนและผู้สูงอายุ 

ภาพประกอบการดำเนินงาน

           

 

การปฏิบัติงานในครั้งนี้สิ่งผู้ปฏิบัติงานประทับใจคือความน่ารักของชาวบ้านในชุมชนโนนเจริญ ผู้นำชุมชนให้ความช่วยเหลือ ชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลดังกล่าว ไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนบทความในเชิงวิชาการต่อไป

อื่นๆ

เมนู