1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  3. ID08(2) - ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด
  4. สรุปข้อมูลที่ได้ทำการลงพื้นที่ เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อทราบข้อมูล และปัญหาที่พบในหมู่บ้านโคกใหญ่ หมู่ ๙ ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

สรุปข้อมูลที่ได้ทำการลงพื้นที่ เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อทราบข้อมูล และปัญหาที่พบในหมู่บ้านโคกใหญ่ หมู่ ๙ ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

สรุปข้อมูลที่ได้ทำการลงพื้นที่ เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อทราบข้อมูล และปัญหาที่พบในหมู่บ้านโคกใหญ่ หมู่ ๙ ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวกุลนันทน์ จันทรา ได้ลงพื้นที่ ทำจากการสำรวจหมู่บ้านโคกใหญ่ หมู่ ๙ ในระยะเวลา 2 เดือน โดยส่วนใหญ่แล้วพบว่าชาวบ้านจะทำอาชีพหลักเป็น เกษตรกร ค้าขาย และเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำนา ปลูกมันสำปะหลัง และปลูกต้นยางพารา บางครัวเรือนจะประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคและจำหน่วย

ในส่วนของชีวิตประจำวันนั้น แต่ละครัวเรือนจะดำรงชีวิตแตกต่างกัน ในเช้าจนถึงช่วงสายของแต่ละครัวเรือนจะไปออกดูตามไปสวนและไร่นาของตนเอง บางครัวเรือนที่ทำอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงวัว ควาย ไก่ในช่วงเช้าจะนำสัตว์เลี้ยง ไปปล่อยไว้ตามสวนและทุ่งนาของตนเอง ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ในช่วงนี้ได้ทำการปิดหน้ายางแล้ว จึงไม่ได้มีการกรีดยางในช่วงนี้ และมีการว่างงาน ทำให้ไม่มีรายได้ในช่วงนี้ กล่าวถึงไปว่าโดยรายได้ของคนในชุมชนนั้นมาจากอาชีพ เช่น การทำการเกษตร รายได้เฉลี่ยแต่ละครัวเรือนนั้น อยู่ที่ น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน/ครัวเรือน ในการทำการเกษตร มีการลุงทนจำนวนมาก ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา สารเคมี ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างรถไถ ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง ทำให้เงินทุนในส่วนของตนเองนั้นไม่เพียงพอ จึงเกิดการหยิบยืมเงินจากสถานที่ให้บริการต่างๆ ทั้งในระบบและนอกระบบ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตร(ธกส) ส่งผลให้คนในชุมชนมีหนี้สิ้นเป็นจำนวนมาก

ในด้านแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน เช่น ห้วย ป่าไม้ แหล่งโบราณสถาน วัด

ในหมู่บ้านเคยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในต้นปี 2563 มีการสั่งปิดหมู่บ้านเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบให้คนในชุมชมได้รับปัญหาตกงาน และขาดรายได้ และในปัจจุบันผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้คนในชุมชนที่เคยไปประกอบอาชีพที่ต่างๆ เช่น กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฯลฯ จึงส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบอาชีพ ว่างงาน ตกงาน และขาดรายได้  จึงย้ายกลับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง เพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว และในปัจจุบันชาวบ้านในหมู่บ้านก็ยังคังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

หลังจากที่เราได้รับทราบข้อมูล และปัญปัญหาที่พบในชุมชน จึงนำข้อมูลทั้งมาทำการ SWOT เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ให้ง่ายแก่การวางแผนการทำงานและการแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ของโครงการ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตําบล (มหาวิทยาลัยสู่ตําบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) และปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ แหล่งน้ำใช้ไม่เพียงพอ เส้นทางบางเส้นยังไม่ได้รับการแก้ไข และพัฒนา รวมไปถึงไฟฟ้าตามซอยยังไม่ทั่วถึง และปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจนของคนในชุมชน

จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ (Strengths)

  1. มีพื้นที่ทำกินเยอะ
  2. มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
  3. มีงบประมาณดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วย
  4. มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงคนในชุมชน
  5. เทศบาลออกกฎหมายท้องถิ่นที่สามารถแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
  6. มีสถานศึกษาในตำบลมีความพร้อม มีศักยภาพในการศึกษา มีศูนย์เรียนรู้ วิสาหกิจชุมชน
  7. ประชาชนมีคุณภาพในการบริหารงาน
  8. ประชากรส่วนใหญ่ปลูกกล้วยทุกครัวเรือน

จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ (Weaknesses)

  1. เส้นทางคมนาคมไม่สะดวกและยังไม่ได้มาตรฐาน(ไม่มีไฟฟ้าส่องถนนที่ทั่วถึง)
  2. ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำใช้อุปโภคบริโภค
  3. ปัญหาขยะในชุมชนไม่มีสถานที่รับรองขยะและระบบจำกัดขยะที่ได้มาตรฐาน
  4. ไม่มีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้แน่นอน
  5. ประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สินนอกระบบ
  6. ประชาชนยังขาดการปลูกฝังและเรียนรู้การใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง
  7. การรวมกลุ่มยังไม่เข้มแข็งและยั่งยืน

 โอกาสที่จะดำเนินการได้ (Opportunities)

  1. หน่วยงานรัฐส่งเสริมพื้นที่ทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดี
  3. รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนหรือเชื่อมโยงเครือข่าย
  4. หน่วยงานรัฐให้ความช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพ
  5. สามาถรขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  6. นโยบายกองทุนหมู่บ้านทำให้ชุมชนต่างมีความเข้มแข็ง

อุปสรรคในการดำเนินงาน  (Threats)

  1. ขาดทักษะการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  2. ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาโควิด กลุ่มอาชีพไม่สามารถร่วมตัวได้เข้มแข็ง
  3. สถาบันครอบครัวไม่เข้มแข็ง
  4. ขาดทักษะจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  5. ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมประชาคมหมู่บ้าน

 

อื่นๆ

เมนู