ข้าพเจ้า นายอภิวัตร์ พันธ์วงษ์ ประเภท นักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ID08(2) การส่งเสริมยกระดับการแปรรูปกล้วยด้วยระบบชิป สร้างนวัตกรรมก๊าซชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์
เนื่องด้วยพวกเราทีมงาน u2t ต้องการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อเป็นจุดเช็คอินแนะนำสำหรับคนที่ต้องการท่องเที่ยวในพื้นที่ ตำบลโนนเจริญและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้นพวกเราชาว u2t ได้แนะนำสภานที่จุดเช็คอินทั้งหมด 3 สถานที่ นั่นคือ 1. เตานายเจียน 2. เตาสวาย 3. ศาลปู่ซาน
สถานที่ ที่ 1 ตั้งอยู่ที่บ้านถนนน้อย ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี มี 2 เตา ชื่อเตาเผานายเจียน และเตาเผาสวาย และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่างๆ นักโบราณคดีได้สำรวจพบเตาเผา และเครื่องปั้นดินเผา โบราณจำนวนมาก พบว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 โดยเตาเผาเหล่านี้ ได้ผลิตเครื่องถ้วยเขมร เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ ในกัมพูชา และในภูมิภาคต่างๆ โดยมีการทำอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่โต และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเตาโบราณ 2 แห่งคือ เตาสวายและเตานายเจียน ซึ่งอยู่ห่างจาก อำเภอบ้านกรวดเป็นระยะทาง 5 และ 10 กม. ตามลำดับ ส่วนเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่ขุดพบสามารถชมได้ที่ หอศิลปกรรมบ้านกรวด ในบริเวณที่ว่าการอำเภอ บ้านกรวด และในบริเวรใกล้ๆ และรอบข้างแหล่งโบราณสถานนี้มี ร้านขายเครื่องดื่ม อาทิเช่น ร้านตาลากาแฟ
สถานที่ ที่ 2 เตาเผาสวาย ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ 9 ต.โนนเจริญ อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จากการสำรวจของกรมศิลปากรได้พบเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผามากกว่า 300 เตา ซึ่งถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 จากการขุดค้นของกรมศิลปากรพบว่า ภายในเตาเผามีการกั้นแบ่งออกเป็นห้อง ๆ โดยใช้คันดินกั้นแต่ละห้องเป็นที่เผาเครื่องปั้นดินเผาแต่ละชนิด เช่น ห้องหนึ่งสำหรับเผาพวกไห อีกห้องหนึ่งสำหรับเผาชามหรือโถ เป็นต้น เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเตาเหล่านี้ส่วนมากเป็นเครื่องเคลือบสีน้ำตาลแก่ สีขาวนวล และสีเขียวอ่อน ขนาดและชนิดต่างๆกัน กระปุกบางชนิดทำเป็นรูปผลไม้และรูปสัตว์ เช่น นก ช้าง ไก่ กระต่าย หมี ฯลฯ กระปุกและไหบางชนิดมีการเคลือบสองสีในใบเดียวกัน บริเวณปากภาชนะเคลือบสีเขียว ส่วนบริเวณตัวภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแก่ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผลิตจากเตาเหล่านี้ คือ เครื่องประดับสถาปัตยกรรม ได้แก่ กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา กระเบื้องชายคามีลวดลาย และบราลี เป็นต้น เครื่องเคลือบดินเผาที่ผลิตจากเตาเผาในเขต จ.บุรีรัมย์นี้ พบกระจายอยู่ทั่วไปตามเมืองโบราณและชุมชนต่างๆ ทั้งลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี และแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังแพร่หลายไปยังบริเวณภาคกลางของประเทศไทยด้วย เช่น พบที่เมืองสุโขทัย ลพบุรี ศรีสัชนาลัย และที่เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี เป็นต้น แต่น่าเสียดายที่เตาเผาใน จ.บุรีรัมย์เหล่านี้ถูกขุดรื้อจากนักล่าสมบัติจนพังไม่มีเค้ารูปเดิมเหลือให้เห็น
สถานที่ ที่ 3 ตั้งอยู่ที่บ้านโนนเจริญ หมู่ที่ 2 ตำบลโนนเจริญ อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีกลุ่มบุคคลได้เดินทางมาจากบ้านดอนมัน บ้านห้วยเหี้ย ต.ชีวานอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้เดินทางด้วยเกวียนเป็นพาหนะ มาตั้งถิ่นฐานบ้านใหม่ที่ กิ่งอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า มีหนองน้ำ ๔ หนอง ซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่าบ้านหนองเจริญ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบ้านโนนเจริญ กลุ่มบุคคลที่มาจับจองที่ทำกิน ประกอบไปด้วย นายอึ่ง มารศรี นายริน มารศรี นายทองดี เนื้อไม่หอม และพวกอีก ๑๐ คน
บ้านโนนเจริญมีหนองน้ำใหญ่อยู่ด้านตะวันตกของหมู่บ้านเรียกว่า หนองโนนเจริญ นายประมุข ศักดิ์ศรีท้าว รองนายกเทศมนตรีตำบลโนนเจริญ เล่าว่า หนองน้ำดังกล่าวในอดีตหนองน้ำจะมีหนองน้ำใส และหนองน้ำขุ่น
นายประมุข เล่าว่า กลุ่มของนายอึ่ง มารศรี ที่มาอยู่ในหมู่บ้าน ได้ฝันว่า มีคนมาเข้าฝัน น้ำใสเป็นน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามคนและสัตว์ลงไปเล่นหากใครลงไป จะทำให้มีอันเป็นไป ถ้าจะลงให้ลงฝั่งที่เป็นน้ำขุ่น ผู้ฝันจึงถามว่าทำอย่างไรถึงจะใช้ประโยชน์ได้ ก็ได้รับคำตอบว่าต้องทำศาลให้หลวงปู่ซาน และบอกลักษณะว่าหลวงปู่ซานมีรูปร่างสูงใหญ่ผิวดำ ต่อมาชาวบ้านจึงทำรูปเหมือนหลวงปู่ซาน และตั้งศาลให้เพื่อกราบไหว้ บนบานให้ปกปักรักษาบ้านโนนเจริญ และชาวบ้านให้อยู่ดีมีสุข มาจนถึงปัจจุบัน
โดยทั้ง 3 สถานที่ท่องเที่ยวนี้เป็นแหล่งที่ชาวตำบลโนนเจริญ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เส้นทางไปท่องเที่ยว 3 สถานที่นี้สะดวกในการเดินทาง ทั้งยัง มีร้านอาหาร ร้านค้า ร้านเครื่องดื่มมีอยู่ทั้งสองฝั่งทาง และยังมีพื้นที่การเกษตรที่สวยงามให้เยี่ยมชมอีกด้วย