1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  3. ID08(2) - ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด
  4. บทความประจำเดือนตุลาคม เรื่องลงพื้นสำรวจพื้นที่ชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว จุดเช็คอิน เพื่อทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนวัตกรรม และนวัตวิถี ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม เรื่องลงพื้นสำรวจพื้นที่ชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว จุดเช็คอิน เพื่อทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนวัตกรรม และนวัตวิถี ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวกุลนันทน์ จันทรา ผู้ปฏิบัติงานประจำเทศบาลตำบลโนนเจริญ ในเดือนนี้ดิฉันได้ทำการลงพื้นที่ร่วมกับทีมงานผู้ปฏิบัติงาน ลงพื้นสำรวจพื้นที่ชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว จุดเช็คอิน เพื่อทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนวัตกรรม และนวัตวิถี ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ มีทั้งหมด 3 สถานที่ ซึ่งทั้ง 3 สถานที่เป็นสานที่ท่องเชิงวัฒนธรรมที่มีความเก่าแก่ และสวยงาม ควรแก่การพัฒนาเพื่อให้ที่ท่องอย่างเป็นรูปธรรม

สถานที่ ที่ 1 เตาเผาสวาย ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ 9 ต.โนนเจริญ อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จากการสำรวจของกรมศิลปากรได้พบเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผามากกว่า 300 เตา ซึ่งถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16  จากการขุดค้นของกรมศิลปากรพบว่า ภายในเตาเผามีการกั้นแบ่งออกเป็นห้อง ๆ โดยใช้คันดินกั้นแต่ละห้องเป็นที่เผาเครื่องปั้นดินเผาแต่ละชนิด เช่น ห้องหนึ่งสำหรับเผาพวกไห อีกห้องหนึ่งสำหรับเผาชามหรือโถ เป็นต้น เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเตาเหล่านี้ส่วนมากเป็นเครื่องเคลือบสีน้ำตาลแก่ สีขาวนวล และสีเขียวอ่อน ขนาดและชนิดต่างๆกัน กระปุกบางชนิดทำเป็นรูปผลไม้และรูปสัตว์ เช่น นก ช้าง ไก่ กระต่าย หมี ฯลฯ กระปุกและไหบางชนิดมีการเคลือบสองสีในใบเดียวกัน บริเวณปากภาชนะเคลือบสีเขียว ส่วนบริเวณตัวภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแก่ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผลิตจากเตาเหล่านี้ คือ เครื่องประดับสถาปัตยกรรม ได้แก่ กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา กระเบื้องชายคามีลวดลาย และบราลี เป็นต้น เครื่องเคลือบดินเผาที่ผลิตจากเตาเผาในเขต จ.บุรีรัมย์นี้ พบกระจายอยู่ทั่วไปตามเมืองโบราณและชุมชนต่างๆ ทั้งลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี และแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังแพร่หลายไปยังบริเวณภาคกลางของประเทศไทยด้วย เช่น พบที่เมืองสุโขทัย ลพบุรี ศรีสัชนาลัย และที่เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี เป็นต้น แต่น่าเสียดายที่เตาเผาใน จ.บุรีรัมย์เหล่านี้ถูกขุดรื้อจากนักล่าสมบัติจนพังไม่มีเค้ารูปเดิมเหลือให้เห็น

แหล่งอุตสาหกรรมผลิตภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบและเคลือบสีต่างๆ มีทั้งสีอ่อน เช่น สีขาว สีเหลือง สีเขียวมะกอก และสีเข้ม เช่น สีน้ำตาล สีดำ ภาชนะดินเผาเหล่านี้ได้พบตามชุมชนโบราณและโบราณสถานต่างๆ เรียกกันในหมู่นักวิชาการบางท่านว่า “เครื่องถ้วยเขมร” พบเตาเผาเครื่องปั้นตั้งอยู่ตามแนวลำน้ำลำห้วย มีแหล่งใหญ่อยู่ที่ อ.บ้านกรวด ซึ่งได้พบเตาเผาโบราณเหลือเป็นเนินดินอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ในตำบลต่างๆ ได้แก่ กลุ่มเตาบ้านน้อยถนนน้อย ต.หินลาด กลุ่มเตาบ้านโคกใหญ่ ต.โนนเจริญ กลุ่มเตาบ้านหนองคูน้อย ต.สายตะกู กลุ่มเตาบ้านละหอกตะแบง กลุ่มเตาบ้านโตง และกลุ่มเตาบ้านสายโท 4 ต.ปราสาท และ อ.ละหานทราย ที่เขตบ้านบาระแนะ ต.บาระแนะ เป็นจำนวนถึง 7 กลุ่ม บางกลุ่มมี 15 เตา บางกลุ่ม 2-3 เตา กลุ่มใหญ่ที่สุดมีถึง 30 เตา รวมประมาณ 100 เตา แต่เมื่อมีการสร้างเขื่อนลำปะเทีย ทำให้แหล่งเตานี้ถูกทำลายไปเหลือเพียงบางส่วน นอกจากนี้ใน อ.ละหานทราย ยังพบแหล่งเตาเผาสระสาม อยู่บริเวณใกล้ช่องตากิ่ว ห่างจากแหล่งเตาบาระแนะ ราว 10 ก.ม. และแหล่งเตาเผาห้วยนาเกลือ ห่างจากชายแดนไทย-กัมพูชา ประมาณ 5 ก.ม. นอกจากสองอำเภอซึ่งเป็นแหล่งใหญ่แล้ว ยังมีแหล่งเตาเผาในเขต อ.เมืองบุรีรัมย์  อ.ประโคนชัย อ.สตึก อ.หนองกี่ อ.กระสัง อ.ลำปลายมาศ กิ่งอำเภอแคนดงอีกด้วย การที่พบแหล่งผลิตแหล่งใหญ่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้มีผู้ขนานนามเครื่องปั้นดินเผาดังกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า  “เครื่องถ้วย

สถานที่ ที่ 2 เตาเผานายเจียน ตั้งอยู่ที่บ้านถนนน้อย ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี มี 2 เตา ชื่อเตาเผานายเจียน และเตาเผาสวาย และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่างๆ นักโบราณคดีได้สำรวจพบเตาเผา และเครื่องปั้นดินเผา โบราณจำนวนมาก พบว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 โดยเตาเผาเหล่านี้ ได้ผลิตเครื่องถ้วยเขมร เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ ในกัมพูชา และในภูมิภาคต่างๆ โดยมีการทำอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่โต และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเตาโบราณ 2 แห่งคือ เตาสวายและเตานายเจียน ซึ่งอยู่ห่างจาก อำเภอบ้านกรวดเป็นระยะทาง 5 และ 10 กม. ตามลำดับ ส่วนเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่ขุดพบสามารถชมได้ที่ หอศิลปกรรมบ้านกรวด ในบริเวณที่ว่าการอำเภอ บ้านกรวด และในบริเวรใกล้ๆ และรอบข้างแหล่งโบราณสถานนี้มี ร้านขายเครื่องดื่ม อาทิเช่น ร้านตาลากาแฟ ร้านอาหารตามสั่ง และร้านขายพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านที่นำมาตั้งขายบริเวรหน้าบ้านอีกด้วย

สถานที่ ที่ 3 ศาลหลวงปู่ซาน ตั้งอยู่ที่บ้านโนนเจริญ หมู่ที่ 2 ตำบลโนนเจริญ อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีกลุ่มบุคคลได้เดินทางมาจากบ้านดอนมัน บ้านห้วยเหี้ย ต.ชีวานอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้เดินทางด้วยเกวียนเป็นพาหนะ มาตั้งถิ่นฐานบ้านใหม่ที่ กิ่งอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า มีหนองน้ำ ๔ หนอง ซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่าบ้านหนองเจริญ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบ้านโนนเจริญ กลุ่มบุคคลที่มาจับจองที่ทำกิน ประกอบไปด้วย นายอึ่ง มารศรี นายริน มารศรี นายทองดี เนื้อไม่หอม และพวกอีก ๑๐ คน

บ้านโนนเจริญมีหนองน้ำใหญ่อยู่ด้านตะวันตกของหมู่บ้านเรียกว่า หนองโนนเจริญ นายประมุข ศักดิ์ศรีท้าว รองนายกเทศมนตรีตำบลโนนเจริญ เล่าว่า หนองน้ำดังกล่าวในอดีตหนองน้ำจะมีหนองน้ำใส และหนองน้ำขุ่น

นายประมุข เล่าว่า กลุ่มของนายอึ่ง มารศรี ที่มาอยู่ในหมู่บ้าน ได้ฝันว่า มีคนมาเข้าฝัน น้ำใสเป็นน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามคนและสัตว์ลงไปเล่นหากใครลงไป จะทำให้มีอันเป็นไป ถ้าจะลงให้ลงฝั่งที่เป็นน้ำขุ่น ผู้ฝันจึงถามว่าทำอย่างไรถึงจะใช้ประโยชน์ได้ ก็ได้รับคำตอบว่าต้องทำศาลให้หลวงปู่ซาน และบอกลักษณะว่าหลวงปู่ซานมีรูปร่างสูงใหญ่ผิวดำ ต่อมาชาวบ้านจึงทำรูปเหมือนหลวงปู่ซาน และตั้งศาลให้เพื่อกราบไหว้ บนบานให้ปกปักรักษาบ้านโนนเจริญ และชาวบ้านให้อยู่ดีมีสุข มาจนถึงปัจจุบัน

ความเชื่อชาวบ้านโนนเจริญ มีความเชื่อว่าผู้ที่มีความเคารพนับถือหลวงปู่ซาน และบอกกล่าวหรือบนบาน ในการจะกระทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จ หลวงปู่ซานก็จะช่วยให้สมความปราถนา จนเป็นความเชื่อและศรัทธาในหลวงปู่ซาน มาเท่าทุกวันนี้ ในแต่ละปี ชาวโนนเจริญ จะทำบุญ และเซ่นไหว้หลวงปู่ซานในช่วงเดือน เมษายน หรือเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่า หรือ ๒ ค่าที่ตรงกับวันพุทธ จะทำบุญเบิกบ้าน และแห่หลวงปู่ซาน ให้ชาวบ้านได้สรงน้ำเพื่อขอพร และความเป็นสิริมงคล รวมถึงการทำบุญถวายภัตตาหารเช้าพระสงฆ์ เป็นประเพณีทุกปี

โดยทั้ง 3 สถานที่นี้เป็นแหล่งที่ชาวตำบลโนนเจริญ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เส้นทางไปท่องเที่ยว 3 สถานที่นี้สะดวกในการเดินทาง ทั้งยัง มีร้านอาหาร ร้านค้า ร้านเครื่องดื่มมีอยู่ทั้งสองฝั่งทาง และยังมีพื้นที่การเกษตรที่สวยงามให้เยี่ยมชมอีกด้วย ขอเชิญชวนทุกท่านแวะมาเที่ยวชมกันเยอะๆนะคะ พวกเราชาว U2T ยินดีนำทุกท่านไปเยี่ยมชม

อื่นๆ

เมนู