1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  3. ID08(2) - ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด
  4. ID08 (2) U2T โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กิจกรรมการสาธิตการเผาก๊าซชีวมวลเเละการสาธิตการแปรรูปกล้วย เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ID08 (2) U2T โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กิจกรรมการสาธิตการเผาก๊าซชีวมวลเเละการสาธิตการแปรรูปกล้วย เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นายอนันต์ กะการดี ประเภท กพร. เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ID08(2) การส่งเสริมยกระดับการแปรรูปกล้วยด้วยระบบชิป สร้างนวัตกรรมก๊าซชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์

การเผาถ่านชีวมวล
สำหรับเตาเผาถ่านวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกษตรกรสามารถทำได้ด้วยตนเอง และต้นทุนต่ำ ขณะที่ประโยชน์คุ้ม โดยใช้ถังน้ำมันเหล็กขนาด 200 ลิตร เป็นถังนอกเจาะรูขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร ที่ขอบถังด้านล่างให้มีระยะห่างระหว่างรูประมาณ 10 เซนติเมตร ภายในถังเชื่อมแผ่นเหล็ก 4 มุม เพื่อเป็นสลักสำหรับล็อกถังใบนอกและใบในไว้ด้วยกัน ดัดแปลงใส่แกนเหล็กด้านข้างถังด้านละ 2 แกน เพื่อให้ง่ายต่อการยกหงายคว่ำถัง
นำฝาถังน้ำมัน 200 ลิตร เจาะรูตรงกลางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว แต่งขอบรูให้สูงขึ้นมา 3 เซนติเมตรเพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างปล่องควันกับตัวถัง ใช้ถังเหล็กอีกถังเป็นถังใน เจาะรูรอบปากถังด้านบนขนาดกว้าง 3 เซนติเมตรห่างกันรูละ 13 เซนติเมตร เชื่อมลิ่มเหล็กติดกับตัวถังด้านล่างและบนทั้ง 4 มุม สำหรับเป็นตัวประกบกับตัวล็อกภายในถังขนาด 200 ลิตร เพื่อกันไม่ให้ถังเกิดการเขยื้อนเมื่อยกคว่ำหงายทำท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลาง 2 นิ้ว ยาว 2 เมตร สำหรับเป็นปล่องระบายควันในระหว่างการเผา
ถังนี้สามารถใช้เผาถ่านได้หลายชนิด เช่น กิ่งไม้ ท่อนไม้ แกลบ ฟาง ซังข้าวโพด โดยที่วัสดุที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงต้องแห้ง มีความชื้นไม่เกิน 10% เพื่อให้สามารถเผาเป็นถ่านได้ง่าย ไม่ต้องใช้ความร้อนไปกับกระบวนการไล่ความชื้นอีก ซึ่งช่วยให้ไม่เกิดควันมาก
เมื่อวัสดุพร้อมก็นำถังใบในที่ใช้บรรจุวัสดุวางบนฐาน นำวัสดุที่ต้องการผลิตเป็นถ่านมาบรรจุลงในถังให้เต็ม ถ้าเป็นไม้ควรเป็นไม้ที่ชิ้นไม่ใหญ่มาก ไม้ที่บรรจุถังให้มีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการแยกสลายเกิดขึ้นได้ง่าย
นำถังใบนอกขนาด 200 ลิตร มาครอบถังใบในที่บรรจุวัสดุเผาถ่านจนเต็มแล้ว โดยให้ปากถังใบในชิดกับก้นถังใบนอก หมุนตัวล็อกถังใบในให้เกี่ยวยึดกับสลักถังใบนอก เมื่อถังทั้ง 2 ใบ ถูกประกอบเข้าด้วยกัน จะมีช่องว่างระหว่างถัง 10 เซนติเมตร ถังใบในสูงน้อยกว่าถังใบนอก 10-15 เซนติเมตร ขั้นตอนต่อไปทำการบรรจุวัสดุเชื้อเพลิงลงไปในช่องว่างระหว่างถังทั้ง 2 ใบ ประมาณ 5 กิโลกรัม เชื้อเพลิงนี้จะเป็นพลังงานให้กับกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อน สามารถนำก้อนดินมาก่อหุ้มเป็นฉนวนกักความร้อนให้แก่ภายนอกถังได้
จุดไฟให้ติดวัสดุเชื้อเพลิง ถ้าเชื้อเพลิงแห้งควันที่เกิดจากการจุดไฟจะน้อย เมื่อไฟติดโดยรอบวัสดุเชื้อเพลิงแล้ว จากนั้นทำการปิดฝาถังใบนอก ติดตั้งปล่องควัน อากาศจะถูกจำกัดให้เข้าได้ที่รูบริเวณขอบถังด้านล่างทางเดียว โดยที่มีท่อเหล็กทำหน้าที่ดูดอากาศและระบายควัน
ในช่วงแรกควันจะมีสีขาวหนาแน่น เมื่อเชื้อเพลิงด้านล่างได้รับความร้อนจากเชื้อเพลิงด้านบน จะเกิดการแยกสลายธาตุด้วยความร้อน เกิดแก๊สชีวมวลขึ้นในกระบวนการเผา เปลี่ยนเป็นการเผาไหม้ด้วยแก๊สแทนวัสดุที่อยู่ในถังในจึงเกิดการแยกสลายด้วยความร้อนเกิดเป็นแก๊สชีวมวลระบายออกมาที่รูด้านล่างถัง แก๊สที่ระบายออกมาจะเกิดการลุกไหม้ภายในถังอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งแก๊สหมด กระบวนการเผาจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
จากนั้นจึงปล่อยให้เตาเย็นตัวลงอีกประมาณ 3 ชั่วโมง จึงเปิดเตาเก็บถ่านชีวภาพที่เผามาใช้ประโยชน์ได้

วิธีทำกล้วยฉาบ
1. นำกล้วยน้ำว้ามาปอกเปลือก และพักไว้ให้ยางกล้วยมันหาย 1-2 วัน
2. ฝานเป็นแผ่นบางตามความยาวของผล เรียงเป็นแผ่น ๆ ในถาดแห้ง เสร็จแล้วเอาไปตากแดดพอแห้ง เพื่อให้สามารถหยิบกล้วยได้ง่าย และกล้วยจะได้ไม่ติดกัน
3. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อน ใส่กล้วยแผ่นลงทอดจนเหลืองกรอบ ตักใส่กระชอนพักให้สะเด็ดน้ำมัน
4. ใส่กล้วยลงในถาด รอกล้วยหายร้อน พร้อมรับประทาน หรือบรรจุหีบห่อ
ในกรณที่อยากได้รสเค็มให้เคลือบเกลือ ในกรณีที่อยากได้รสหวานอาจเคลือบน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง หรือต้องการให้มีรสชาติต่างๆ ก็ให้ใช้ผงนั้นๆ คลุกลงไป
ซึ่งในการอบรมมีชาวบ้านที่ร่วมอบอบรมมีความสนใจเป็นจำนวนมาก เพราะมีการให้ความรู้เกี่ยวการฉาบกล้วยด้วยวิธีที่อาจจะเเตกต่างกันออกไป
การอบรมครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำอาชีพหรือสินค้าที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์อัตลักษณ์ เป็นของตัวเอง เพื่อให้ เกิดความสนใจแก่ผู้ซื้อและผู้บริโภค เป็นต้น

 

                       

 

 

อื่นๆ

เมนู