การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทําให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนว่างงานและบัณฑิตจบใหม่ไม่สามารถหางานทําได้ รวมถึงนักศึกษาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจํานวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คาดได้ว่าจะมีโครงการภายใต้ “พ.ร.ก. ให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019” ในภาครัฐจํานวนมากที่จะลงไปดําเนินการในพื้นที่หรือชุมชน อาทิเช่น โครงการด้านการเกษตรสมัยใหม่ ด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP การท่องเที่ยวชุมชน การส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ในพื้นที่ ซึ่งโครงการต่างๆเหล่านี้หากไม่บูรณาการกันอย่างเป็นระบบ จะส่งผลให้ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ เกิดความซ้ําซ้อนของโครงการ การใช้จ่ายงบประมาณไม่มีประสิทธิภาพ และไม่สามารถสร้างผลกระทบ (Impact) ได้อย่างมีนัยสําคัญ
การดำงานครั้งนี้ดำเนินโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ที่สามารถใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ ทํางานประสานและร่วมงานกับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้การทํางานบูรณาการนี้ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลที่สามารถนําไปสู่การลดความยากจนอย่างมีเป้าหมายชัดเจน (Targeted Poverty Alleviation)
การดำเนินงานลงพื้นที่การเก็บข้อมูลและผลจากการลงพื้นที่ของทีมสมาชิกผู้รับผิดชอบใน จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอบ้านกรวด ตำบลโนนเจริญ ซึ่งตำบลโนนเจริญ ปกครองด้วยรูปแบบเทศบาลตำบล (ทต.) ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านโนนเจริญ ,หมู่ 2 บ้านโนนเจริญ ,หมู่ 3 บ้านโนนเจริญ ,หมู่ 4 บ้านโนนเจริญ ,หมู่ 5 บ้านโนนเจริญ ,หมู่ 6 หนองแวง ,หมู่ 7 บ้านหัวถนน ,หมู่ 8 บ้านสายโท 9 ซอย 3 ,หมู่ 9 บ้านโคกใหญ่ ,หมู่ 10 บ้านสามขาพัฒนา และหมู่ 11 บ้านสันติสุข ทางคณะผู้ปฏิบัติงานได้มีการจัดทีมลงพื้นที่เพื่อให้สะดวกและรวดเร็วโดยแบ่งพื้นที่ตามหมู่บ้านแบ่งคนเป็นกลุ่ม 1-2 คน
ข้าพเจ้านายจักรกฤช จารัตน์ได้มีโอกาสลงพื้นที่ของหมู่ 3 บ้านโนนเจริญ และสรุปข้อมูล ทำให้ทราบสภาพความเป็นอยู่ในด้านต่างๆของประชาชน เศรษฐกิจของเทศบาลตำบลโนนเจริญนั้น มีลักษณะผสมผสานระหว่างสภาพสังคมเมืองและชนบท ประกอบกับมีเส้นทางขนส่ง ติดต่อกับอำเภอบ้านกรวดและอำเภอประโคนชัย จึงมีความเจริญเติบโต และการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราสูง ประชากรของตำบลโนนเจริญ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา มีบางส่วนที่ทำสวนยางพารา ทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง เลี้ยงสัตว์ (โค,กระบือ) และค้าขายเป็นอาชีพเสริม