การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ดำเนินอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยเป็นประเทศแรกที่มีผู้ป่วยยืนยันของโควิด-19 นอกประเทศจีน การคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศพบผู้ป่วยประปรายตลอดเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากหรือเป็นผู้พำนักอยู่ในประเทศจีนแทบทั้งสิ้น จนเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงมีรายงานว่าพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการแพร่เชื้อในประเทศเป็นครั้งแรก[3] จำนวนผู้ป่วยยังมีน้อยตลอดเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยมีผู้ป่วยยืนยัน 40 รายเมื่อสิ้นเดือน แต่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากในกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการระบุสาเหตุจากกลุ่มการแพร่เชื้อจากหลายกลุ่ม ซึ่งกลุ่มใหญ่สุดเกิดขึ้นในการแข่งขันชกมวยไทย ณ สนามมวยเวทีลุมพินี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563 ผู้ป่วยยืนยันแล้วเพิ่มเกิน 100 คนต่อวัน ในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา ดังนั้นนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ร้ายแรงในประเทศไทยเป็นครั้งแรง และมีระยะเวลานานกว่า2ปีแล้วที่ยังไม่สามารถหาทางจัดการให้หายขาดได้ โดยการแพร่ระบาดและการป้องกันการแพร่ระระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีดังนี้
“COVID-19 (โควิด-19)” เป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ มีหลักฐานจากการถอดรหัสพันธุกรรมพบว่า SARS-CoV-2 มีต้นกำเนิดมาจากค้างคาวมงกุฎเทาแดง แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าสัตว์ประเภทใดที่นำเชื้อมาสู่คน ทว่า COVID-19 สามารถติดต่อกันได้จากคนสู่คน ทำให้แพร่ระบาดต่อเนื่องไปทั่วโลกในเวลานี้ มีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 1 ล้านคนแล้ว มาไขข้อสงสัยกันว่า COVID-19 ติดกันได้อย่างไร…ทางไหนกัน
ทำไมติดจากคนสู่คน
เพราะผู้ป่วย 1 คนสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้เฉลี่ย 2 – 4 คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของประชากรและฤดูกาลด้วย ดังนั้น มาตรการกักตัว 14 วันและยิ่งอยู่ห่างกันยิ่งดี จึงช่วยลดการระบาดลงได้
ได้จากทางไหน
เชื้อไวรัสโคโรน่าสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากการแพร่กระจายเชื้อของละอองฝอยเป็นช่องทางหลักจากการไอ การจาม น้ำลาย น้ำมูก เมื่อร่างกายสูดดมสารคัดหลั่งเหล่านี้ก็จะติดเชื้อ โดยมีระยะฟักตัว 2 – 14 วัน และเมื่อผู้ป่วยมีอาการ โดยแสดงอาการเจ็บป่วยออกมาแล้วก็ยังแพร่โรคต่อไปได้อีกเรื่อยๆ
แค่สูดดมก็ติด COVID-19 ได้แล้วเหรอ
เมื่อละอองฝอยออกจากร่างกาย ไม่ใช่เพียงการสูดดมเท่านั้นที่จะทำให้รับเชื้อ ถ้ามีผู้ป่วยจามหรือไอใส่มือแล้วไปจับสิ่งของต่างๆ การสัมผัสก็เป็นโอกาสเสี่ยงในการรับเชื้อได้เช่นกัน เพราะเชื้อสามารถอยู่บนพื้นผิว เช่น โลหะ แก้ว ไม้ หรือพลาสติกได้นานถึง 5 วัน รวมถึงการอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้แล้วเชื้อที่ขับออกทางอุจจาระก็ยังแพร่เชื้อได้ โดยมีระยะฟักตัว 9 – 14 วัน
หลีกเลี่ยง COVID-19 แบบไหนถึงจะปลอดภัย ?
- ผู้ที่ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย โดยสีเข้มอยู่ด้านนอก สีอ่อนอยู่ด้านใน ปิดปาก-จมูก คลุมคาง บีบดั้ง และล้างมือ ส่วนผู้ที่ไม่ป่วยสามารถสวมหน้ากากผ้าได้ เพื่อป้องกันการติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งหรือทางลมหายใจ
- ไอหรือจามใส่แขนพัย หัวไหล่ หรือลงในคอหรือสาบเสื้อ หลีกเลี่ยงการใช้มือป้องปากและจมูก
- ทานอาหารถูกสุขอนามัย กินร้อน ช้อนใครช้อนมัน ไม่กินอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างเนื้อวัว เนื้อหมู
- ล้างมือบ่อยๆ หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% ไม่นำมือมาสัมผัสหรือขยี้ตา แคะขี้มูก ปาก และใบหน้า
- หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัดที่มีคนไปร่วมไปอยู่เป็นจำนวนมาก และรักษาระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) โดยห่างกันสักนิดอย่างน้อย 1 – 2 เมตร
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม
- งดการเดินทางไปยังต่างประเทศ รวมถึงสถานที่ที่มีการระบาดของโรค
- งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น แม้จะเป็นในครอบครัวเดียวกันก็ตาม เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
แม้ว่า COVID-19 (โควิด-19) ยังแพร่ระบาดไปทั่วโลกและยังไม่มีการคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แต่การเตรียมการเพื่อป้องกันและรับมือสามารถทำได้ทุกคน อย่าลืมสังเกตตัวเอง หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันทีและขณะนี้หลายบริษัททั่วโลกมีการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ซึ่งเริ่มมีการกระจายฉีดแก่ประชาชนแล้ว รวมถึงในประเทศไทย อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผู้คนยังคงสงสัยก็คือ วัคซีนของแต่ละบริษัทนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องประสิทธิภาพ และเราจะมีตัวเลือกของวัคซีนมากน้อยแค่ไหน
ตามข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขณะนี้มี วัคซีนโควิด 19 ที่ผ่านการอนุมัติแล้ว 5 ตัวด้วยกัน คือ แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน โมเดอร์นา และ ซิโนฟาร์ม รวมถึงอีก 3 ตัว ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยสามารถสรุปข้อมูลได้ ดังนี้
ผ่าน อย. ไทยเรียบร้อยแล้ว
1. แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) จาก สหราชอาณาจักร
นำเข้าโดย : บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด
ประสิทธิภาพ : 76%
จำนวนโดส : ฉีด 2 โดส ห่างกัน 8-12 สัปดาห์
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อ มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ บางกรณีมีการปวดและระคายเคืองบริเวณที่ฉีด
2. ซิโนแวค (Sinovac) จาก จีน ( เป็นตัวที่รัฐบาลไทยนำเข้าและให้มีการลงทะเบียนเพื่อฉีดให้กับประชาชนในประเทศไทย )
นำเข้าโดย : องค์การเภสัชกรรม (อภ.)
ประสิทธิภาพ : 50.38%
จำนวนโดส : ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : มีไข้เล็กน้อย ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด ซึ่งเป็นอาการที่จะคงอยู่ชั่วคราว
3. จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) จาก สหรัฐอเมริกา
นำเข้าโดย : บริษัทแจนเซ่น-ซีแลก จำกัด
ประสิทธิภาพ : ประสิทธิภาพโดยรวม 66% สามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 85%
จำนวนโดส : 1 โดส
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด บวม แดง ระคายเคือง บริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้
4.โมเดอร์นา (Moderna) จาก สหรัฐอเมริกา
นำเข้าโดย : บริษัท ซิลลิคฟาร์มา จำกัด
ประสิทธิภาพ : ประสิทธิภาพโดยรวม 94.1% สามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 100%
จำนวนโดส : ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ไข้ โดยเป็นผลข้างเคียงทั่วไป กินเวลาประมาณ 2-3 วัน
- ซิโนฟาร์ม(Sinopharm) จาก จีน
นำเข้าโดย : บริษัทไบโอจีนีเทค จำกัด
ประสิทธิภาพ : ประสิทธิภาพโดยรวม 79%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3-4 สัปดาห์
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย อาจเกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด เช่น ปวด บวม แดง ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นผลข้างเคียงทั่วไปที่สามารถพบได้จากวัคซีนอื่นเช่นกัน