ไวรัสโคโรนา 19 เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และสามารถติดต่อจากคนสู่คนโดยการคลุกคลี เข้าใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสนี้อยู่แล้ว โดยติดเชื้อผ่านละอองฝอยของน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยติดเชื้อ จากการจาม ไอ หรือการสัมผัส ซึ่งวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 19 ด้วยตัวเราเอง คือ อย่าเอามือปิดปากเวลาไอหรือจาม เนื่องจากทำให้เชื้อโรคติดมือ และมือของเรานี่เองที่จะไปสัมผัสสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ และทำให้ผู้อื่นที่มาสัมผัสต่อเสี่ยงที่จะติดเชื้อตามไปด้วย ซึ่งวิธีการที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวในเวลาไอหรือจาม คือ การใช้ทิชชู่ปิดปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกระจาย และควรนำทิชชูนั้นไปทิ้งถังขยะที่มีฝาปิด แต่หากในกรณีที่ไม่มีทิชชู ให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากและจมูก ด้วยการนำแขนข้างใดข้างหนึ่งมาจับไหล่ฝั่งตรงข้ามของตัวเอง และที่สำคัญหากมีการไอหรือจามแล้ว ควรรีบล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล
การล้างมือเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เราห่างไกลจากไวรัสโคโรนา 19 ได้เป็นอย่างดี แต่ต้องล้างมืออย่างถูกวิธี
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ขั้นตอน
1.การล้างมือโดยใช้ฝ่ามือถูกัน
- ใช้ฝ่ามือถูหลังฝ่ามือและซอกนิ้ว
- ใช้ฝ่ามือถูฝ่ามือและซอกนิ้ว
- ใช้หลังมือถูฝ่ามือ
- ใช้ฝ่ามือถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบ
- ใช้ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ
- คือการใช้ฝ่ามือถูรอบข้อมือ ซึ่งการล้างมือนั้นสามารถใช้สบู่ทั่วไปในการฆ่าเชื้อไวรัสนี้ได้
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 ได้ลงพื้นที่ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อมอบเจลแอลกอฮอล์ เครื่องวัดอุณหภูมิ และหน้ากากอนามัยให้กับกลุ่ม ณ ศาลากลางบ้านโคกใหญ หมู่ที่ 9 ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งในช่วง U2T Covid-week มีการจัดทำคลิปวิดีโอรณรงค์สนับสนุนให้ฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งการฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดความรุนแรงหลังติดเชื้อได้
เรื่องสำคัญ ต้องแจ้งก่อนฉีด
นอกจากนี้ ก่อนการเข้ารับวัคซีนในส่วนของการคัดกรอง ก็มีสิ่งที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีนเช่นกันโดยเรื่องสำคัญที่ต้องแจ้งคือ
- เคยติดเชื้อโควิด (ต้องหายสนิท 3 เดือนค่อยฉีดวัคซีนได้)
- เคยอยู่กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ แต่กักตัวครบ 14 วัน ก่อนมาฉีดวัคซีน
- เคยมีไข้ ไม่สบายในช่วง 2 สัปดาห์
- มีประวัติทานยากลุ่มละลายลิ่มเลือด
- มีประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร หรือแพ้วัคซีนใดบ้าง
- ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (เว้นประมาณ 1 เดือน ถึงจะฉีดวัคซีนโควิดได้)
- โรคประจำตัว
- มีรอยช้ำ จ้ำเลือด เลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่ เช่น สเตียรอยต์ขนาดสูง ยารักษาโรคมะเร็ง
- ตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
คำแนะนำทั่วไปก่อนไปฉีดวัคซีน
กระทรวงสาธารณสุขได้มี 7 ข้อแนะนำ ดังนี้
- สองวันก่อนและหลังการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก หรือยกน้ำหนัก และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี งดชา กาแฟ หรือของที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก
- หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที
- ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ดซ้ำได้ถ้าจำเป็นแต่ให้ห่าง 6 ชม.ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด
- การฉีดวัคซีนโควิดควรห่างกับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 เดือน
- ถ้ากินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ก็ให้กินยาตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที