ข้าพเจ้า นางสาวเกษรัตน์ นามลักษณ์ ผู้ปฏิบัติงานภาคประชาชน จากการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบบุรีรัมย์ สำรวจศักยภาพตำบล ๑๖ เป้าหมาย ข้าพเจ้าได้รับหมอบหมายให้สำรวจเป้าหมายที่ ๓ สามารถวิเคราะห์รายรับรายจ่ายของสถาบันการเงินชุมชน ธนาคารชุมชน ของชาวบ้าน ศรีสุข หมู่ที่ ๕ ในระหว่างวันที่ ๘ – ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา พบว่า โดยส่วนใหญ่พบว่าชาวบ้านในพื้นที่ประกอบอาชีพหลัก คือ การทำเกษตรกรรม เพื่อดำรงชีพ เช่น ทำนา ทำไร ทำสวนเลี้ยงสัตว์ ส่วนอาชีพรองคือรับจ้าง เป็นต้น
การดำรงชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ของคนในชุมชน รวมถึงภาษาที่ใช้ของคนในชุมชนมีสามภาษา หนึ่งภาษาเขมร รองลงมาก็จะเป็นภาษาไทยและภาษาอีสาน แต่ละครัวเรือน ส่วนใหญ่มีภาระและหน้าที่แตกต่างกันออกไป อาทิ เช่น
ครอบครัวที่มีการทำอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร ทำสวน ส่วนใหญ่ก็จะต้องตื่นแต่เช้าตรู เพื่อไปดูแลพืชสวนและผลิตของตนเองที่ได้ทำการเพราะปลูกไว้ บางครัวเรือนมีการทำเกษตรกรรมควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ก็พอมีรายได้เสริมจากการขายมูลสัตว์ดังนั้นในปัจจุบัน วัว และควาย จึงมีราคาแพง ทำให้คนส่วนใหญ่จึงหันมาเลี้ยง วัวและควายเพิ่มขึ้นจำนวนมากบางก็เลี้ยงเพื่อเศรษฐกิจและก็เลี้ยงเพื่ออนุรักษ์ ในชุมชนยังมีกลุ่มปลูกผักปลอดสารเพื่อเป็นรายได้เสริมของครอบครัวอีกด้วย และสำหรับางครอบครัวที่ทำอาชีพสวนยางพารา ในช่วงนี้ฤดูปลายหนาวจะเข้าฤดูร้อนก็ถึงช่วงเวลาปิดพักหน้ายาง จึงทำให้รายได้หลักของครอบครัวที่เคยมีลดลงและเกิดการว่างงานขาดรายได้ รายจ่ายเท่าเดิมหรือบางครอบครัวอาจมีรายจ่ายเพิ่มที่มากขึ้น อาชีพหลักของคนในชุมชนส่วนใหญ่ คือทำเกษตรกรรมเพื่อดำรงชีวิต รายได้เฉลี่ย ต่อเดือนจึงตำกว่า ๗000 บาท ต่อเดือน/ต่อครัวเรือน
ชาวบ้านที่ทำเกษตรกรรมส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีการลงทุนค่อนข้างสูง เช่น ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงาน จึงทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงมากขึ้น และทำให้เงินหมุนเวียนในครอบครัวไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เลยทำให้ไม่มีครัวเรือนใหนทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพราะรายรับ น้อยกว่ารายจ่าย และนี่อาจเป็นสาเหตุใหญ่และเหตุผลหลัก ในการกู้ยืมต่างๆ เกิดขึ้นทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ เช่น (.ธ. ก. ส.)ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เงินกู้รายเดือนเงินกู้รายวัน เป็นต้น นี้อาจเป็นที่มาของเหตุผลหลักที่ทำให้ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน อย่างเช่น วัด ชลประทาน ห้วย หนอง คลองบึง บ่อน้ำในหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านจ้างรถในการขุดขึ้นก็มีมากพอสมครวญ แต่ในช่วงฤดูร้อนชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำไม่เพียงพอ ทำให้ชาวบ้านที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับผลิตตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ทำให้เกิดการท้อแท้และหมดกำลังใจในการสู้ชีวิต
ณ ปัจจุบันผลกระทบที่ได้รับมาจากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทำให้หลายอาชีพ ว่างงาน ตกงาน ขาดรายได้ ในกลุ่มที่กล่าวมานั้นก็ร่วมไปถึงชาวบ้านในชุมชนที่ออกจากบ้านเพื่อไปประกอบอาชีพในพื้นที่ต่างๆ เช่น กรุงเทพมหานคร และอีกในหลายพื้นทื่ จึงได้โยกย้ายกลับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว
ในช่วงลงลงสำรวจชุมชน ปัญหาที่พบ คือ ถนนหนทางบางเส้นในชุมชนยังพัฒนาไม่ทั่วถึงทำให้ ในช่วงฤดูฝนถนน
ที่ใช้สัญจรบางเส้นทางในชุมชนเกินท่วมน้ำขัง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อให้คามปลอดภัยของคนในชุมชนก็ยังไม่เพียงพอ จึงยังมีจุดเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสียหายอยู่หลายจุด