ชื่อโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

(ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลของหมู่บ้านที่2 บ้านฉันเพล ในตำบลเขาดินเหนือ)

เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2503 หรือประมาณ 10 ปี โดยการอพยพแยกตัวมาจากบ้านหลักเนื่องจากชุมชนมีความแออัดและเป็นบริเวณโคกที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยมีหนองน้ำอุดมสมบูรณ์ และมีเชื้อสายมาจาก บ้านนาเสือก อ. เมือง  จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาได้มีกลุ่มชาวส่วยลาวอพยพเข้ามาอาศัยกลายเป็นชุมชนใหญ่  ต่อมาได้มีพระธุดงค์เดินทางมาปักกลด ชาวบ้านได้นำอาหารไปถวายเพลแต่พระท่านไม่ฉันเพล จึงเรียกว่า บ้านฉันเพลนับแต่นั้นมา สำหรับภาพรวมโดยทั่งไปของบ้านฉันเพล คือ ชาวบ้านมีอาชีพทางการเกษตรทำนา เลี้ยงสัตว์ และมีอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นทั้งอาชีพหลักและเสริมคือหัตถกรรมตะเกียบอาชีพของชาวบ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือการทำนา และมีการทำไร่ปอ ไร่มัน ไร่อ้อย เป็นอาชีพเสริม  แต่เนื่องจากสภาพดินเสื่อมโทรมจึงทำให้อาชีพเหล่านี้ได้เลิกไป สภาพปัจจุบันของบ้านฉันเพล หมู่ที่1 ตำบลเขาดินเหนือ  อำเภอบ้านกรวด  จังหวัดบุรีรัมย์ในหมู่บ้านมีครัวเรือนทั้งสิ้น 131 ครอบครัว มีถนนลูกรัง มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านหลัก  ลักษณะหมู่บ้านปิด  ถนนลูกรัง  มีประชากรทั้งหมด771คน  ชาย388คน  หญิง383คน จำนวนประชากรของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยแรงงาน คือ  อายุ35 – 50ปี ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมของหมู่บ้านแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ เด็กยากจน  ผู้พิการ  ผู้สูงอายุ 60 ปี ผู้ที่มีฐานะยากจน ด้านการศึกษาประชากร  โดยส่วนรวมของหมู่บ้านจบชั้นประถมศึกษา คือชั้น ป.4, ป.6อาชีพหลักคือทำนา จากปี2540 นายทอง  ดวงศรี ได้ไปฝึกหัดทำตะเกียบ ที่บ้านหนองบ้าน อ.ประโคนชัย และนำมาถ่ายทอด ให้ชาวบ้านได้ฝึกทำตะเกียบ สามารถเป็นรายได้เสริมที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และมีการประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ เช่น เย็บผ้าส่งโรงงาน โรงสีข้าวขนาดเล็ก การเลี้ยงสัตว์จำพวก ควาย วัว เป็ด ไก่ ปลา เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนถึงแม้ชาวบ้านจะมีที่ดินทำกินเป็นของ ตนเองเป็นส่วนใหญ่ และมีอาชีพเสริม แต่ชาวบ้านยังยากจนอยู่เนื่องจาก ราคาผลผลิตตกต่ำ และภาระหนี้สินของชาวบ้านมีจำนวนมากรายได้ส่วนใหญ่มากผลผลิตทางการเกษตร และหัตถกรรมตะเกียบที่เป็นอาชีพเสริมควบคู่กับข้าวที่เป็นรายได้อันดับหนึ่งของหมู่บ้าน ข้าวที่ผลิตคือข้าวหอมมะลิ เนื่องจากราคาผลผลิตจะตกต่ำลงไปมากทำให้ชาวบ้านลดการทำนา และหันมาทำอาชีพเสริมด้านหัตถกรรม เย็บผ้าส่งโรงงาน การเลี้ยงสัตว์ เช่น ควาย วัว เป็ด ไก่ ปลา เป็นการเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และใช้งาน จำหน่ายเป็นบางส่วน สำหรับรายได้ของประชาชนในหมู่บ้านบ้านฉันเพล หมู่ที่2 ตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสานกันคือภาษาพื้นบ้าน “ภาษาเขมน” จากการเข้าสำรวจพบว่า ภายในแต่ละชุมชนประสบปัญหาดังต่อไปนี้

  • พบว่าหนี้ธนาคาร ธ.ก.ส. และหนี้นอกระบบ หนี้ กขคจ และหนี้กองทุนต่างๆ
  • ในบางปีน้ำที่ใช้เพื่อกี่เกษตรขาดแคลนสำหรับแหล่งน้ำภายในหมู่บ้าน
  • ขาดการเอาใจใส่จากภาครัฐ ยังถูกเอารัดเอาเปรียบ จากพ่อค้าคนกลาง
  • ถนนหลายแห่งในหมู่บ้านยังเป็นถนนลูกรัง
  • ยังไม่มีไฟตามถนนเดินทางตอนกลางคืนค่อนค้างอันตราย

ความต้องการของคนในชุมชม

  • อยากให้มีการสร้างถนนให้ทั่วถึงทั่งหมู่บ้านเนื่องจากมีแต่ถนนลูกรัง
  • รักษาความสะอาด ตามท้องถนน หรือในพื้นที่ต่างๆตามหมู่บ้าน
  • เอาไฟฟ้ามาติดตามถนนเพื่อเพิ่มความสว่างและความปลอดภัยในการเดินทางตอนกลางคืน
  • มีกิจกรรมการออกกำลังกายของคนในชุมชน
  • อยากให้มีการเอาถังขยะมาวางไว้ตามที่ต่างๆเพื่อความสะอาด
  • ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชุน

จากการที่ศึกษาและเข้าการประชุมเวทีชาวบ้านภายในหมู่บ้าน และจากการเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่ามีลักษณะที่แสดงว่าบ้านฉันเพลหมู่ที่2 จะมีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้คือ มีการจัดการด้านธุรกิจชุมชน ซึ่งชาวบ้านสามารถผลิตสินค้า และทำการตลาดไว้แล้ว แต่ขาดการเอาใจใส่จากภาครัฐ ยังถูกเอารัดเอาเปรียบ จากพ่อค้าคนกลาง ตั้งแต่ปี 2540-2545 หัตถกรรมตะเกียบที่ผลิตสามารถทำเงินให้กับหมู่บ้านจำนวนหลายแสนบาท ชาวบ้านมีพลังในการรวมตัวแต่ขาดผู้นำที่มีความรู้ ขาดช่องทางในการจัดจำหน่ายตรงไปยังผู้ส่งออก

ภาพประกอบการทำกิจกรรม

 

                                                                                                                   ผู้จัดทำ

                                                                                                                    ธนนันท์   ปานเด

                                                                                                                          ทีมปฏิบัติงานตำบลเขาดินเหนือ

                                                                                                                         คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

อื่นๆ

เมนู