ข้าพเจ้า นางสาว ธนนันท์ ปานเด ภาคนักศึกษา ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือนบุคคลในชุมชน โดยลงแบบฟอร์ม 01-02-06 และจากการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้ พบว่าหมู่บ้านนี้มีปัญหาอยู่จำนวนค่อนข้างเยอะ มีข้อมูลดังต่อไปนี้
ในหมู่บ้านมีครัวเรือนทั้งสิ้น 131 ครอบครัว มีถนนลูกรัง มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านหลัก ลักษณะหมู่บ้านปิด ถนนลูกรัง มีประชากรทั้งหมด 771คน ชาย 388คน หญิง 383คน จำนวนประชากรของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยแรงงาน คือ อายุ 35 – 50ปี
คนในชุมชนส่วนใหญ่จะทำเกษตร เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน การเลี้ยงสัตว์จำพวก ควาย วัว เป็ด ไก่ ปลา เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนถึงแม้ชาวบ้านจะมีที่ดินทำกินเป็นของ ตนเองเป็นส่วนใหญ่พื่อใช้บริโภคในครัวเรือนถึงแม้ชาวบ้านจะมีที่ดินทำกินเป็นของ ตนเองเป็นส่วนใหญ่ และมีอาชีพเสริม แต่ชาวบ้านยังยากจนอยู่เนื่องจาก ราคาผลผลิตตกต่ำ และภาระหนี้สินของชาวบ้านมีจำนวนมากรายได้ส่วนใหญ่มากผลผลิตทางการเกษตร และหัตถกรรมตะเกียบที่เป็นอาชีพเสริมควบคู่กับข้าวที่เป็นรายได้อันดับหนึ่งของหมู่บ้าน ข้าวที่ผลิตคือข้าวหอมมะลิ
จากการสอบถามรายบุคคลในหมู่บ้านฉันเพลปัญหาหมู่บ้านของฉันเพล หลักๆมีเรื่องของถนนที่ยังคงเป็นถนนลูกรังเวลาขี่รถสัญจรไปมาเกิดฝุ่นควันและในตอนที่ฝนตกถนนเละขี่รถลำบากและเป็นหมู่บ้านเดียวที่ยังคงไม่มีถนนในตอนนี้ ปัญหาที่สองคือเรื่องไฟฟ้าเวลาตอนกลางคืนไม่มีไฟฟ้าตามทางซึ่งทำให้การเดินทางไม่สะดวกและอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และอยากให้มีการนำถังขยะมาวางตามถนนเพื่อที่จะทำให้หมู่บ้านสะอาดขึ้น ปัญหาน้ำประปาที่ไม่สะอาด มีตะกอนและยังมีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ทำให้คนในหมู่บ้านมีน้ำใช้ไม่เพียงพอ ในบางปีน้ำที่ใช้เพื่อกี่เกษตรขาดแคลนสำหรับแหล่งน้ำภายในหมู่บ้าน
จากการที่ศึกษาและเข้าการประชุมเวทีชาวบ้านภายในหมู่บ้าน และจากการเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่ามีลักษณะที่แสดงว่าบ้านฉันเพลหมู่ที่2 จะมีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้คือ มีการจัดการด้านธุรกิจชุมชน ซึ่งชาวบ้านสามารถผลิตสินค้า และทำการตลาดไว้แล้ว แต่ขาดการเอาใจใส่จากภาครัฐ ยังถูกเอารัดเอาเปรียบ จากพ่อค้าคนกลาง ตั้งแต่ปี 2540-2545 หัตถกรรมตะเกียบที่ผลิตสามารถทำเงินให้กับหมู่บ้านจำนวนหลายแสนบาท ชาวบ้านมีพลังในการรวมตัวแต่ขาดผู้นำที่มีความรู้ ขาดช่องทางในการจัดจำหน่ายตรงไปยังผู้ส่งออก ภายในเดือนนี้เรามีการนัดหมายของกลุ่มบ้านเขาดินเหนือเพื่อแจงว่าเราจะทำให้หมู่บ้านพัฒนาในด้านในไหนต่อไป