ดิฉันนางสาวขนิษฐา อะโรคา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
ผลการปฎิบัติงาน
ระหว่างวันที่1-10 มีนาคม 2564 ดิฉันและทีมงาน ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามเพิ่มเติม ในพื้นที่ หมู่ 3, 4, 6, 10 ,11 สำรวจแบบสอบถาม 01 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ เพิ่มเติมภายในเดือน มีนาคม 2564
จากการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำนาทำไร่ ปลูกอ้อยปลูกมันสำปะหลังและเลี้ยงสัตว์ เป็นส่วนใหญ่ รายได้มาจากอาชีพที่ทำเป็นหลัก ในเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารเพื่อมาบริโภคภายในครอบครัว และค่าน้ำค่าไฟ แหล่งทรัพยากรที่สำคัญในชุมชน มี วัด ปราสาทละลมทม ชลประธาน ความต้องการของผู้นำชุมชนและประชาชนในหมู่บ้าน อยากพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งน้ำที่ใหญ่ จึงอยากพัฒนาให้เป็นที่เที่ยว มีแพในน้ำ มีอาหาร เล่นน้ำ ซึ่งอยากทำให้เป็นที่ท่องเที่ยวเหมือนที่อื่นๆ และยังสามารถนำสินค้าในชุมชนมาตั้งจำหน่ายได้อีกด้วย และพัฒนาในเรื่องอาชีพเสริม ของคนในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นต่อการดำรงชีวิต และพัฒนาถนนบางหมู่บ้านที่ยังเป็นถนนลูกรังอยู่ และไฟฟ้าส่องสว่างในชุมชนซึ่งบางหมู่บ้านถนนในซอยยังไม่มีไฟฟ้าส่องงสว่างที่ทั่วถึง


การสอบถามเกี่ยวกับโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่ดูแลสุขภาพตนเองตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด มีการประเมินตนเอง คอยสังเกตอาการเบื้องต้นของคนในครอบครัวเมื่อมีอาการต่างๆ และล้างมือก่อนการรับประทานอาหารทุกครั้ง ในการรับประทานอาหารก็จะใช้ช้อนกลางและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่ใช้ของส่วนตัวรวมกับผู้อื่น และเมื่อต้องออกไปทำธุระข้างนอกหรือไปยังพื้นที่ต่างๆ ก็จะสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และสถานที่สำคัญในชุมชนเช่น วัด โรงเรียน อนามัย ครัวเรือน มีการป้องกันเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองการแพร่ระบาด ของโควิด-19 โดย อสม. ในหมู่บ้านเป็นผู้ตรวจคัดกรอง อย่างเคร่งครัด โดยรวมแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ทราบถึงอาการของโรคโควิด-19 และวิธีป้องกัน การดูแลตัวเองเป็นอย่างดี


การฝึกอบรมต่างๆในเดือน มีนาคม 2564              ดิฉันได้เข้าฝึกอบรมในระบบออนไลน์ของ โครงการ Thai MOOC (Thai Massive Open Online Couese) ในรายวิชาที่เกี่ยวกับดิจิทัล สำหรับโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งมหาวิทยาลัย ประจำเดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นจำนวน2วิชา และสามารถผ่านตามเกณฑ์การวัดผลในรายวิชาได้แก่
1.เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล (10 ชั่วโมงการเรียนรู้) พัฒนารายวิชาโดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
2. การรู้เท่าทันสื่อ (10 ชั่วโมงการเรียนรู้) พัฒนารายวิชาโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อื่นๆ

เมนู