ดิฉันนางสาวชลันดา พงศ์ไพบูลย์ศิริ เป็นผู้รับผิดชอบตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
การเผาถ่าน ในครัวเรือนเพื่อให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงและประโยชน์ภายในครัวเรือน เป็นองค์ ความรู้ที่สามารถทำให้เกิดการพึ่งตนเอง สามารถลดรายจ่ายภายในครัวเรือน ถ่านที่ได้มีคุณภาพสูงเป็นผลดีต่อ สุขภาพ เมื่อเหลือใช้ภายในครัวเรือนแล้วสามารถนำออกไปขายสู่ตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้ โดยวิธีการเผาถ่านจะเน้นหลักการพึ่งพาตนเอง นำวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ สามารถหาได้จากพื้นที่ภายในบ้านหรือชุมชน มาดำเนินการเผา
ขั้นตอน วิธีทำ
1. การเลือกสถานที่ก่อสร้างเตา ในทุกภาคเน้นการสร้างบนพื้นที่ดอน เมื่อฝน ตกแล้วน้ำไม่ท่วม และควรเป็นพื้นที่อยู่ห่างไกลจากบ้านอย่างน้อยประมาณ 50 เมตร และควรสร้างให้ อยู่ใกล้กับแหล่งไม้ที่สามารถจัดหาได้ง่าย
2.นำดินเหนียวหรือดินทรายที่เตรียมไว้เทลงให้เต็มด้านข้างและด้านหลัง ใน ช่องว่างระหว่างเตากับผนังเตาด้านหลังพอประมาณทั้ง 3 ด้าน เพื่อเป็นฉนวนกันไฟให้กับตัวเตา และ ไม่ให้ความร้อนระเหยออกไป โดยเว้นช่องฝาหน้าเตาเอาไว้เพื่อปิด/เปิด
3.ตัดไม้เพื่อนำเป็นหมอนหนุนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว ยาว 20-25 เซนติเมตร จำนวน 3 ท่อน วางขวางด้านล่างของตัวเตา โดยมีระยะห่างเท่ากัน เพื่อให้มีการไหลเวียน ของลมร้อนภายในเตา
4.การคัดเลือกไม้เข้าเตาถ่าน จะมีการจัดแยกกลุ่มของขนาดไม้เป็น 3 กลุ่ม คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเรียงไม้ขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา ทับไม้หมอนไว้ ไม้ ท่อนใหญ่ไว้ด้านบน เนื่องจากอุณหภูมิในเตาขณะ เผาถ่านไม้ เท่ากัน โดยอุณหภูมิด้านล่างสุดของเตาจะ ต่ำ และอุณหภูมิด้านบนจะสูงกว่าอุณหภูมิท้ายเตา
5.การเข้าสู่ขั้นตอนการเผาถ่าน จะเริ่มจุดไฟหน้าเตาเพื่อให้ความร้อนแก่เตา โดยจุดบริเวณช่องจุดไฟที่อิฐก้อนแรก โดยเชื้อเพลิงที่นำมาจุดไฟควรเป็นเชื้อเพลิงแห้ง เช่น เศษไม้ เศษ หญ้า หรือวัสดุอื่นที่จุดไฟติดได้ หรือใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบของสารสังเคราะห์ เช่น พลาสติกหรือโฟม เป็นต้น
6.ใส่เชื้อเพลิงทีละน้อย เพื่อความร้อนจะกระจายเข้าไปในเตาเพื่อไล่อากาศ เย็นและความชื้นที่อยู่ในเตา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง
7.การทำถ่านให้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นการทำอุณหภูมิในเตาให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สังเกตต่อจนกระทั่งควันที่ปากปล่องกลายเป็นสีฟ้าให้เริ่มเปิดหน้าเตาเพื่อให้อากาศร้อนเข้าไปไล่สาร ตกค้างหรือแก๊สที่ค้างในเตา โดยเปิดหน้าเตาออกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ หน้าเตาทั้งหมด สังเกตสีของควัน ถ้ามีสีฟ้าใสได้แสดงว่าไม้ทั้งหมดกลายเป็นถ่านไม้ทั้งหมด ให้ปิดหน้า เตาให้สนิท เอาดินเหนียวประสานรอยต่อให้สนิท เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตาเป็นการระบาย ความร้อน โดยทิ้งไว้ 1 คืน หรือ 8 ชั่วโมง ก็จะสามารถนำถ่านออกมาใช้ได้
8.ผลผลิตถ่านที่ได้มีคุณภาพสูง และเตาเผาสามารถเผาได้ประมาณ 100-150 ครั้ง หรือประมาณ 2-3 ปี (ขึ้นอยู่กับความถี่ของการใช้งาน) โดยนำถ่านที่ได้ใส่ถุงหรือกระสอบ แล้วนำไปเก็บที่ไม่มีความชื้น ไม่มีความร้อนสูงเกินไป รวมทั้ง ไม่มีแสงแดดส่อง หรืออากาศถ่ายเทสะดวก นอกจากนี้ ได้น้ำส้มควันไม้เป็นผลพลอยได้ เพื่อทดแทนการ ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม – Social Return on Invesment (SROI) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมเป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถวัดผลประโยชน์ของโครงการต่าง ๆ ที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมพยายามแปลงผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่สังคมให้เป็นมูลค่าที่มีหน่วยวัดเดียวกับเงินตราประโยชน์ที่จะได้จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมของกิจกรรมที่ทำเพื่อสังคม คือทำให้เกิดความชัดเจนในวิธีการวิเคราะห์คุณค่าของโครงการต่าง ๆ ต่อสังคมและทำให้เห็นประโยชน์ที่ตกแก่สังคม และบอกได้ว่าเงินลงทุนแต่ละบาทนั้นสังคมได้ผลตอบแทนเท่าใด การวิเคราะห์ที่โปร่งใสทำให้สามารถสื่อสารกับสาธารณะได้และผลของการวิเคราะห์ยังสามารถช่วยในการตัดสินใจในอนาคตว่าควรปรับปรุงการทำงานอย่างไรเพื่อให้สังคมได้รับประโยชน์มากขึ้นและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ (source: Thailand-sroi-online)
จากการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) ในพื้นที่ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ผลจากการเข้าร่วมโครงการทำให้ชาวบ้านและชุมชนมีองค์ความรู้ในการเผาถ่านไร้ควัน เเละนอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเผาถ่านเพื่อเป็นเชื้อเพลิงใช้ในครัวเรือนตนเอง และนำไปสร้างรายได้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี