ข้าพเจ้านางสาว กนิษฐา กะรัมย์ ลงพื้นที่สาธิตทำการเผาถ่านแบบวิถีชาวบ้าน และการทำ sroi ต.ตะโกตาพิ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

          ข้าพเจ้าและผู้ปฎิบัติงานได้ลงพื้นที่ทำการเผาถ่านแบบวิถีชาวบ้าน เป็นวิถีดั้งเดิมที่พบเห็นได้ทั่วไปตามพื้นที่ส่วนใหญ่ในชนบท ถ่านที่ได้จากการเผาจะถูกนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการหุงต้มและทำประโยชน์อื่นๆ ในระดับครัวเรือน หรือบางครัวเรือนมีการทำเป็นอาชีพผลิตถ่านขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยอาศัยวัตถุดิบในการเผาถ่านจากไม้ตามหัวไร่ปลายนา ป่าชุมชน และป่าสาธารณะต่างๆ

          ซึ่งเตาที่ใช้เผาชาวบ้านเรียกกันว่า เตาดินหรือเตาดินเหนียวก่อ มีรูปลักษณะคล้ายจอมปลวก หรือรูปครึ่งวงกลมทรงรี หรือรูปมะนาวผ่าซีก ตัวผนังเตาส่วนหนึ่งอยู่บนดิน อีกส่วนหนึ่งขุดลึกลงไปต่ำ กว่าระดับผิวดิน ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณดินเหนียวที่ต้องนำมาใช้ทำผนังเตาและเพิ่มความแข็งแรงของฐานเตา เตาดินเหนียวก่อนี้สามารถพบได้ทั่วไปในชนบทของประเทศไทย ผนังเตาที่ใช้ก่อขึ้นมาเหนือพื้นดินนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ดินเหนียวล้วน อาจใช้ดินลูกรัง หรือทรายหยาบปนได้บ้างเล็กน้อย เพื่อป้องกันผนังเตาแตกร้าวในระหว่างการเผาถ่าน เตาชนิดนี้การลงทุนก่อสร้างต่ำมากหรือไม่มีค่าวัสดุอุปกรณ์เลยก็ว่าได้ เพราะใช้ดินเหนียวที่หาได้ตามพื้นที่ทั่วไป คุณภาพถ่านที่ได้จะมีการสูญเสียมากกว่าเตาแบบอื่น และมีอายุการใช้งานไม่นาน โดยพบว่าเตาดินมีอายุการใช้งานเพียง 2-3 ครั้ง จนถึง 10 ปี ขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้างและการดูแลรักษา เช่น หากเตามีความหนาเกินไป จะทำให้ถ่านคายความร้อนได้ช้า และเสียเวลาในกระบวนการเผาถ่านนานขึ้น ทำให้เตาพังได้ง่าย เป็นต้น

          ทั้งนี้ซึ่งเตาที่ชาวบ้านใช้เผาถ่านนั้นยังเป็นแบบดั่งเดิม และเวลาเผามีควันออกมาเป็นจำนวนมากทำให้มีมลพิษ ทางทีมงานและผู้ปฏิบัติงานจึงได้จัดอบรมการเผาถ่านแบบไร้ควัน และมีรูปแบบเตาเผาถ่านแบบไร้ควันให้ชาวบ้านได้ทำการทดลองใช้เตาเผาถ่าน ซึ่งเตาเผาถ่านไร้ควันใช้ต้นทุนน้อยในการผลิต และถ่านนั้นยังคงสภาพไว้ดั้งเดิม เตาเผาใช้งานง่าย และยังสะดวกสบาย

ภาพการลงพื้นที่สาธิตทำการเผาถ่านแบบวิถีชาวบ้าน

                     

   

   

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล SROI

          จากการสำรวจในพื้นที่ตำบลตะโกตาพิ   ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล SROI ทำให้ทราบถึงความต้องการของคนในชุมชน ตำบลตะโกตาพิ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ได้รู้ถึงรายรับ-รายจ่าย และรายได้ที่มีเข้ามาหมุนเวียนใช้ตามครัวเรือน ว่าได้มาอย่างไร ส่วนใหญ่พบว่าชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้เห็นถึงปัญหาและความแข็งแรงของชุมชน ในการที่จะมีงบประมาณมาช่วยจัดสรรและช่วยส่งเสริมให้ตำบลตะโกตาพิมีความก้าวหน้าและสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน และได้มีการนำภูมิปัญญาของท้องถิ่นออกมานำเสนอเพื่อทำให้ชาวบ้านในตำบลตะโกตาพิ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และจะช่วยทำให้ชุมชนมีความก้าวหน้า ก้าวไกล ประชากรในชุมชนมีงานทำ และมีรายได้เพิ่มเข้ามาอีกช่องทาง

ภาพการลงพื้นที่เก็บข้อมูล SROI

                       

   

   

อื่นๆ

เมนู