ข้าพเจ้า นายคอด  บัติประโคน ภาคประชาชน ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จากผลการสำรวจพบว่าประชาชนในตำบลตะโกตาพิ
มีการเผ่าถ่านในแบบวิถีชาวบ้านโดยใช้เตาดินหรือเตาดินเหนียวใช้ในการเผ่าถ่านเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือนและจัดจำหน่าย

การเผาถ่านแบบเผาผีโบราณ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านโดยแท้จริง จะเผาเหมือนกับเผาศพในสมัยก่อน โดยขุดหลุมลึก ประมาณ 1 เมตร นำท่อนไม้ที่เตรียมไว้วางเรียงในหลุม แล้วนำดินมาถมให้สูง ต่อปล่องควันพร้อมจุดไฟเผา และใช้น้ำรดบริเวณเตาเผาเพื่อป้องกันดินแตก ใช้เวลาเผาประมาณ 1 วัน จึงสามารถนำถ่านขึ้นมาได้ เมื่อนำถ่านไปใช้งาน จะทำให้เกิดควันน้อย เนื้อถ่านแน่น ทำให้ระยะการใช้งานอยู่ได้นานกว่าถ่านไม้ทั่วไป

การเผาถ่านไม้

การเผาถ่าน ในครัวเรือนเพื่อให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงและประโยชน์ภายในครัวเรือน เป็นองค์ ความรู้ที่สามารถทำให้เกิดการพึ่งตนเอง ลดรายจ่ายภายในครัวเรือน ถ่านที่ได้มีคุณภาพสูงเป็นผลดีต่อ สุขภาพ เมื่อเหลือใช้ภายในครัวเรือนแล้วสามารถนำออกไปขายสู่ตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก การเผาถ่าน ที่เรียกว่าน้ำส้มควันไม้ หรือน้ำวู้ดเวเนกาที่มีคุณสมบัติ การใช้ประโยชน์ประมาณ 150 อย่าง ที่สำคัญนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงเกษตรกรรมธรรมชาติเพื่อใช้ป้องกัน และ กำจัดศัตรูพืชได้ทางหนึ่งด้วย โดยวิธีการเผาถ่านจะเน้นหลักการพึ่งพาตนเอง นำวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ สามารถหาได้จากพื้นที่ภายในบ้านหรือชุมชน มาดำเนินการเผา

เตาเผาถ่านแบบดั้งเดิม ในสมัยก่อนยังไม่มีแก๊สหุงต้ม และไม่มีไฟฟ้าใช้ชาวบ้านจะหาเก็บฟืนมาหุงต้ม แต่ถ้า ฝนตกฟืนเปียกจะทำ ให้ยากลำ บากในการหุงต้ม ชาวบ้านจึงมีการเผาถ่านจากไม้ชนิด ต่าง ๆ โดยมีเตาเผาถ่านหลากหลายชนิดที่ใช้ทั่วไป เตาเหล่านี้ได้มีการปรับเปลี่ยนรูป แบบตามสถานการณ์สภาพปัญหาและสิ่งแวดล้อม บางชนิดพบเห็นน้อยลง บางชนิด ยังพบเห็นอยู่จนถึงปัจจุบัน เตาหลุมกลบดิน เป็นเตาชนิดแรกของโลกที่ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน มีรูปร่าง ขนาด และวัสดุที่ใช้กลบแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ในไทยโดยเฉพาะภาคอีสาน เรียกเตาชนิดนี้ว่า เตาหลุมผี เป็นเตาที่สามารถใช้เผาได้ทั้งไม้ขนาดใหญ่และขนาด เล็ก ขึ้นอยู่กับไม้ที่มีในแต่ละรอบการเผา (7วัน/รอบ) เตาประเภทนี้ก่อสร้างง่าย ราคา ถูก ไม่ต้องดูแลรักษามาก เพราะมีแค่การขุดดินให้เป็นหลุม วางไม้ในหลุม แล้วใช้ดิน กลบ แต่มีข้อเสียคือ ผลผลิตและคุณภาพต่ำ เนื่องจากอากาศสามารถไหลผ่านวัสดุที่ ใช้กลบได้ ไม่นิยมใช้เตาชนิดนี้เผาในช่วงฤดูฝน เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านนิยมเผาถ่าน จากเตาหลุมในที่โล่งแจ้ง ทำ ให้ต้องพักเตาในช่วงหน้าฝน ในภาคอีสานยังมีการใช้เตา อีกประเภทหนึ่งที่มีวัสดุและลักษณะวิธีการใช้คล้ายเตาหลุม เรียกว่า เตาเหยียบ แต่มี ความแตกต่างกันที่เตาหลุมต้องขุดดินลึกประมาณ 0.5 เมตร ส่วนเตาเหยียบไม่ต้องขุด หลุม และยังมีเตาหลุมอีกประเภทที่ใช้วัสดุแกลบเป็นตัวกลบ จึงเรียกเตาชนิดนี้ว่า เตา แกลบ การเผาถ่านแบบใช้แกลบยังมีปัญหาเรื่องควันที่มีกลิ่นฉุนมากกว่าการเผาแบบ เตาหลุมผีหรือเตาเหยียบ อีกทั้งปัจจุบันแกลบมีปริมาณค่อนข้างน้อย เพราะนำ ไปใช้ ในกิจกรรมด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และผลิตพลังงานชีวมวลมากขึ้น ทำ ให้แกลบ ขาดแคลนและหาใช้ได้น้อยลง

เตาดินหรือเตาดินเหนียวก่อ มีรูปลักษณะคล้ายจอมปลวก หรือรูปครึ่งวงกลม ทรงรี หรือรูปมะนาวผ่าซีก ตัวผนังเตาส่วนหนึ่งอยู่บนดิน อีกส่วนหนึ่งขุดลึกลงไปต่ำ กว่าระดับผิวดิน ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณดินเหนียวที่ต้องนำ มาใช้ทำผนังเตาและเพิ่มความ แข็งแรงของฐานเตา เตาดินเหนียวก่อนี้สามารถพบได้ทั่วไปในชนบทของประเทศไทย ผนังเตาที่ใช้ก่อขึ้นมาเหนือพื้นดินนั้นไม่จำ เป็นต้องใช้ดินเหนียวล้วน อาจใช้ดินลูกรัง หรือทรายหยาบปนได้บ้างเล็กน้อย เพื่อป้องกันผนังเตาแตกร้าวในระหว่างการเผา ถ่านเตาชนิดนี้การลงทุนก่อสร้างต่ำ

รูปภาพปฏิบัติงาน

 

Tags:

อื่นๆ

เมนู