ข้าพเจ้านางสาวสรธัญ นาคประโคน ลงพื้นที่เก็บข้อมูล SROI และสาธิตการทำเตาเผาถ่านแบบโบราณ ณ ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม
ลงพื้นที่เก็บข้อมูล SROI
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล SROI นี้ ทำให้ทราบถึงความต้องการของชุมชนของตำบลตะโกตาพิ รวมถึงความเป็นอยู่ของชุมชนในตำบลตะโกตาพิ รวมถึงรายรับรายจ่ายและรายได้ที่มีเข้ามาใช้ตามครัวเรือนและรายได้ที่มีเข้ามาในชุมชนตำบลตะโกตาพิ ว่ามีรายได้เข้ามากหรือมีน้อยแค่ไหน ทำให้เห็นถึงปัญหาและความเข้มแข็งของชุมชนในตำบลตะโกตาพิ ในการที่จะมีงบประมาณเข้ามาช่วยจัดสรรและช่วยเสริมสร้างให้ชุมชนในตำบลตะโกตาพิ นี้มีความเข้มแข็งและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในตำบลตะโกตาพิ ได้มีการนำภูมิปัญญาทางท้องถิ่นออกมานำเสนอเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและหาทางแก้ไขและเสริมสร้างปรับปรุงทำให้ชาวบ้านในตำบลตะโกตาพิ มีรายได้เข้ามาไม่มากก็น้อย
บทสรุปในการเก็บข้อมูล SROI ในครั้งนี้
- ทำให้เห็นว่าโครงการที่จัดทำขึ้นนี้ได้ทั้งผลประโยชน์และความรู้เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และใช้ในการสร้างอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้ และได้ช่วยต่อยอดให้ตำบลตะโกตาพิ เป็นตำบลที่สามารถทำรายได้เข้าสู่ตำบลเพื่อนำมาพัฒนาตำบลให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้นและตามทันเทคโนโลยี
- ช่วยให้ชาวบ้านในหมู่บ้านและบัณฑิตจบใหม่รวมถึงนักศึกษาได้เข้าร่วมในโครงการนี้ได้มีงานทำได้ลงมือปฏิบัติงานจริงและได้นำความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมามาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่น
- ได้มีการอบรมทักษะต่างๆและได้รับเกียรติบัตรในการอบรมทักษะต่างๆ เพื่อนำไปสมัครงานหรือสามารถนำเป็นใบเบิกทางเพื่อที่จะสามารถเลี้ยงชีพตนเองได้
- โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมากๆเพราะสามารถทำให้ตำบลตะโกตาพิมีความพัฒนารู้ถึงจุดเด่นจุดด้อยของตำบลตะโกตาพิและชาวบ้านได้มีการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของชาวบ้านในชุมชนของตนเองรวมถึงภาพรวมในตำบลตะโกตาพิ
สาธิตการทำเตาเผาถ่านแบบโบราณ
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- ไม้สำหรับที่จะใช้เผา ควรเลือกเป็นไม้ที่มีลำต้นขนาดใหญ่ มีหนาม (ไม่เป็นไม้อนุรักษ์)
- เส้นเหล็กขนาดใหญ่
- ฟาง
- ดินเหนียวและดินร่วน
- แกลบ
- น้ำ
- ยางในรถยนต์
- สังกะสี
- ไม้ขีดไฟ
- แผ่นเหล็กหรือแผ่นอลูมิเนียม
วิธีทำเตาเผา
- นำไม้ที่ต้องการจะเผาทำเป็นถ่านไปวางเรียงกันให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
- นำเส้นเหล็กมาทำเป็นโครงครอบไม้ที่เรานำไปวางเรียงไว้
- นำดินเหนียวผสมกับดินร่วนแกลบและฟาง จากนั้นผสมน้ำ ผสมทุกอย่างเข้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- นำสิ่งที่ผสมได้มาปิดตามที่ทำโครงเหล็ก
- รอดินแห้งแล้วเจาะรูบนเตา 3 รูปเพื่อเอาไว้ให้ควันระบายออก
- เจาะรูด้านข้างเตาอีก 1 รูเพื่อใช้เป็นที่จุดเชื้อเพลิงเวลาเผาถ่าน
-กรณีนี้เป็นกรณีที่ผู้เขียนเว็บได้ไปศึกษาจากตัวอย่างที่ทำไว้สำเร็จแล้ว จึงไม่มีขั้นตอนการทำที่ละเอียด ต้องขออภัยในความไม่สะดวกด้วยค่ะ-
วิธีการเผาถ่าน
- ตัดไม้ที่จะใช้เผามาสะสมไว้ก่อน
- นำไม้ที่ตัดมาแล้วไปเรียงสลับกันไปมาในเตาเผาให้มีช่องว่างพอที่จะให้ความร้อนผ่านได้
- จุดไฟที่รูด้านข้าง โดยเชื้อเพลิงที่ใช้ในการจุดไฟมี ยางในรถยนต์และไม้ขนาดเล็ก
- เมื่อไฟติดแล้วมีควันออกมาตามรู 3 รูที่เจาะไว้บนเตา ให้นำแผ่นเหล็กหรือแผ่นโลหะมาปิดที่ปากเตา จากนั้นนำดินร่วนผสมดินเหนียวมาทาบริเวณปากเตาที่มีแผ่นเหล็กหรือโลหะปิดอยู่เพื่อให้แผ่นเหล็กหรือเเผ่นโลหะติดแน่น
- หมั่นเติมเชื้อเพลิงบ่อยๆเพื่อไม่ให้ไฟดับและสังเกตุสีของควันไฟที่ลอยออกจากรู 3 รูที่เจาะไว้บนเตา (ถ้าควันเป็นสีขาวแสดงว่าไหม้กำลังดีแต่ถ้าควันเป็นสีเขียวแสดงว่าไหม้ใกล้หมดแล้ว)
- เมื่อผ่านไป 3-5 วัน ไม้จะไหม้เป็นถ่านพอดี
- อย่าพึ่งรีบเก็บถ่านให้พักไว้ประมาณ 1 อาทิตย์เพื่อให้ความร้อนระบายออกมาหมดก่อน
- เมื่อครบกำหนด 1 สัปดาห์ก็สามารถเก็บถ่านได้แล้ว
ประโยชน์ของการเผาถ่าน
สามารถนำไปประกอบอาชีพและเป็นอาชีพเสริมได้ สร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน ได้รายได้จากการเผาถ่านประมาณ ครั้งละ 3000 – 3500 บาท/ครั้ง ซึ่งในเดือนหนึ่งก็จะเผาถ่านได้ประมาณ 2 ครั้ง หรือเดือนละ 6000 – 7000 บาท
ภาพลงพื้นที่เก็บข้อมูล SROI และสาธิตการทำเตาเผาถ่านแบบโบราณ ณ ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม