ข้าพเจ้านางสาว กนิษฐา กะรัมย์ บัณฑิตจบใหม่ ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ประวัติความเป็นมาของตำบลตะโกตาพิ
เดิมเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นอยู่กับตำบลโคกม้าแต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นตำบลตะโกตาพิ มีทั้งสิ้น 11 หมู่บ้าน
พื้นที่
สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ เนื้อที่ประมาณ 30,170 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 26,850 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน
อยู่ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลตะโกตาพิ ทั้งหมด
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลประทัดบุ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลโคกม้า อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลอิสาณเขต อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
สาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,300 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 950 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 70,000 ของจำนวนหลังคาเรือน
การเดินทาง
เดินทางโดยถนนดินลูกรัง 5 กิโลเมตรx
ผลิตภัณฑ์
ผักปลอดสารพิษ
ลักษณะภูมิอากาศ (อุณหภูมิ)
สภาพภูมิอากาศของตำบลตะโกตาพิ มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีอากาศหนาวตามมา
ผลที่ได้จากการดำเนินงานโครงงานโครงการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ
ทีมงานอาจารย์และทีมผู้ปฎิบัติงานได้จัดอบรมการเผาถ่านไร้ควันให้ประชาชนตำบลตะโกตาพิ ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นจำนวนมากทำให้ได้ความรู้มากมายจากการอบรม และยังสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้ และแปรรูปให้เป็นระบบอุตสาหกรรมขนาดย่อม สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับชุมชน ทั้งนี้แต่ละหมู่บ้านได้ส่งสมาชิกเข้าอบรมหมู่บ้านละ 30 คน สมารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับประชาชนในหมู่บ้าน ให้ชาวบ้านได้ผลิตถ่านชาโคลไร้ควันเพื่อใช้ในครัวเรือน การสร้างเตาเผาถ่านไร้ควันให้ถูกต้องตามหลัก จนเกิดกระบวนการน้ำส้มควันไม้ สามารถจำหน่ายได้ เลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อพัฒนาให้สามารถจำหน่ายได้และทางวิทยากรยังสอนช่องทางการจำหน่าบทางออนไลน์ทำให้ชาวบ้านสะดวกมากยิ่งขึ้น
ผลประโยชน์ที่ได้จากผลผลิตของโครงการ/กิจกรรม
- ทำให้ประชาชนในตำบลประหยัดค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้นเพราะสามารถผลิตถ่านให้เองได้
- ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตถ่านไร้ควัน และน้ำส้มควันไม้
- ประชาชนเกิดการเรียนรู้จากการอบรมและนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนา ต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น
- เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพการทำถ่านและการทำถ่ายอัดแท่งในการประกอบอาชีพภายในชุมชน
- ทำให้ชุมชนมีฐานะทางความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความรักไคร่สามัคคี กลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน