ดิฉันนางสาว ณัฐกานต์อยู่รัมย์ นักศึกษา ปฏิบัติงานตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

•การวางเเผนการเงิน•

ขั้นตอนการวางแผนการเงิน

1.)ประเมินฐานะการเงิน

สิ่งที่สะท้อนฐานะทางการเงินที่แท้จริงของบุคคลไม่ใช่ สินทรัพย์ที่มีอยู่ แต่เป็นความมั่งคั่งสุทธิซึ่งสามารถประเมินได้โดยการจัดทำบัญชีสินทรัพย์และหนี้สินแล้วนำมาคำนวณ นอกจากนี้ ควรจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นพฤติกรรมทางการเงินของตนเองอย่างชัดเจนขึ้น เพราะทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายแต่ละรายการจะถูกแจกแจงออกมา ทำให้เราตระหนักได้ว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดสูงเกินไป หรือไม่มีความจำเป็น หรือสามารถตัดออกได้ รวมทั้งทราบว่ารายได้ทางใดน้อยเกินไปหรือสามารถหาทางเพิ่มได้อีก ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

2.)ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

ควรมีการตั้งเป้าหมายและกำหนดเวลาที่จะพิชิตเป้าหมายให้ชัดเจน รวมถึงมีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายให้สอดคล้องกับความสามารถทางการเงินในช่วงเวลานั้น เช่น หากในขณะนี้เรามีรายได้น้อยหรือภาระทางการเงินมาก ก็อาจเลื่อนเป้าหมายที่ไม่สำคัญออกไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญหรือเร่งด่วนก่อน ควรนำสิ่งที่จำเป็นต้องมีมากำหนดเป็นเป้าหมายก่อนสิ่งที่อยากได้โดยเป้าหมายที่ดี ต้องเป็นไปตามหลักSMART  คือ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
3.)จัดทำแผนการเงิน

ควรมีการจัดทำแผนการบริหารเงินและทรัพย์สินต่าง เช่น เราจะใช้จ่ายเงินอย่างไร หารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งไหน หรือนำไปลงทุนอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้โดยต้องจัดสรรระยะเวลาของแผนให้สัมพันธ์กับรายได้และภาระทางการเงิน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ และไม่กดดันตัวเองจนเกินไป

4.)ดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัด

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความมุ่งมั่นและมีวินัย เพราะหากขาดการปฏิบัติที่จริงจังและต่อเนื่อง ก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายได้

5.)ตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์

ควรหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 6 เดือนว่า ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่หากไม่ก็ต้องหาสาเหตุว่า เกิดจากตัวเราหรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน แล้วปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากทำเช่นนี้ไปเรื่อย  ก็จะทำให้เกิดวินัยทางการเงินและมีความมั่นคงทางการเงินอย่างแน่นอน

•การขายสินค้าออนไลน์•

เมื่อโควิดสร้างผลกระทบอย่างหนักให้กับธุรกิจขนาดใหญ่และการจ้างงาน ส่งผลให้ลูกจ้างหลายคนตกงานแบบไม่ทันตั้งตัว ส่วนบางคนแม้ได้ไปต่อ แต่ก็ถูกลดเงินเดือนขณะที่รายจ่ายยังคงเดิม แต่เมื่อเงินในกระเป๋าสตางค์ลดลง อาชีพขายของออนไลน์กลายเป็นหนทางหนึ่งที่น่าสนใจในการหารายได้ต่อลมหายใจ

แต่การจะเริ่มต้นเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ให้ขายดี มีรายได้เพียงพอนั้นอาจไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่ตั้งใจจริง

หากคุณตอบตัวเองได้ชัดเจนแล้วว่า อยากเริ่มต้นขายของออนไลน์อย่างจริงจัง ก็อย่ารอช้า Post Family จะพาคุณไปทำความรู้จักบทเรียนแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ฉบับ 101 เพื่อศึกษาว่าการเริ่มต้นขายของออนไลน์

การ ขายของออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) เป็นการดำเนินการซื้อขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนและกระบวนการดำเนินงานให้น้อยลง แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าได้อย่างทั่วถึง สามารถซื้อขายได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก จนวันนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 มีมูลค่าเติบโตสูงถึงกว่า 2 แสนล้านบาท

แม้เป็นเรื่องจริงที่ว่า วันนี้ใครๆ ก็สามารถเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างง่ายดายเพราะมีแพลทฟอร์มมากมายให้เลือกเชื่อมต่อหาลูกค้าที่ไหนก็ได้บนโลกนี้ แต่ความจริงยิ่งกว่านั้นก็คือ อีคอมเมิร์ซ ถือเป็น Red Ocean หรือน่านน้ำสีแดงที่แข่งขันสุดดุเดือด แม้จะเข้าง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่า ทุกคนที่เข้ามาจะประสบความสำเร็จ

 

อื่นๆ

เมนู