ข้าพเจ้านางสาวสรธัญ นาคประโคน บัณฑิตจบใหม่ ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ประวัติความเป็นมา

เดิมเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นอยู่กับตำบลโคกม้าแต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นตำบลตะโกตาพิ มีทั้งสิ้น 11 หมู่บ้าน

หมู่ที่ 1 บ้านตะโกตาพิ

หมู่ที่ 2 บ้านชุมแสง

หมู่ที่ 3 บ้านศรีสุข

หมู่ที่ 4 บ้านโคกเห็ด

หมู่ที่ 5 บ้านบาตร

หมู่ที่ 6 บ้านชัยพัฒนา

หมู่ที่ 7 บ้านโคกกระชาย

หมู่ที่ 8 บ้านเกษตรสมบูรณ์

หมู่ที่ 9 บ้านหนองสะเดา

หมู่ที่ 10 บ้านบาตร

หมู่ที่ 11 บ้านหนองปรง

พื้นที่

สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ เนื้อที่ประมาณ 30,170 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 26,850 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน

อยู่ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลตะโกตาพิ ทั้งหมด

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลประทัดบุ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลโคกม้า อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลอิสาณเขต อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

สาธารณูปโภค

จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,300 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 950 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 70,000 ของจำนวนหลังคาเรือน

การเดินทาง

เดินทางโดยถนนดินลูกรัง 5 กิโลเมตรx

ผลิตภัณฑ์

ผักปลอดสารพิษ

ลักษณะภูมิอากาศ (อุณหภูมิ)

สภาพภูมิอากาศของตำบลตะโกตาพิ มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีอากาศหนาวตามมา

ฤดูกาลสามารถแบ่งได้ มี ๓ ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม โดยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียง

ใต้พัดมาจากประเทศจีนตอนใต้และอ่าวไทย ในช่วงนี้เป็นช่วงได้รับแสงแดดเต็มที่ จึงทำให้อากาศร้อนและ

แห้งแล้งจัด เดือนที่ร้อนที่สุด คือเดือน เมษายน

  • ฤดูฝน เริ่มประมาณต้นเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้

แต่เนื่องจากมีภูเขาและเทือกเขาดงพระยาเย็น อยู่ทางทิศตะวันตก เทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาพนมดงรัก

อยู่ทางทิศใต้ขวางกั้นไว้ ปริมาณน้ำฝนที่จะพัดมาตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงลดลง ส่วนใหญ่ปริมาณ

น้ำฝนที่ตกเกิดจากพายุดีเปรสชั่น ที่พัดมาจากทะเลจีนใต้ ผ่านประเทศเวียดนามเข้ามา

  • ฤดูหนาว เริ่มประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวัน

ออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดผ่านประเทศจีน พาเอาความหนาวเย็น และความแห้งแล้งจากไหล่ทวีปเข้ามา

ครอบคลุมบริเวณทั่วทั้งภาค

 

การประเมินศักยภาพตำบลตามเป้าหมาย 16 ประการ

  1. การพัฒนาชุมชนให้มีสมรรถนะในการจัดการสูง พบว่า มีโครงสร้างองค์กรและผู้นำชุมชน แต่มีข้อจำกัดภารกิจการประกอบอาชีพส่วนตัว มีแผนการพัฒนาหมู่บ้านแต่ยังไม่ได้ลงมือทำ
  2. ช่วยให้เกิดการจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ พบว่า ยังไม่มีการจัดตั้งธนาคารชุมชน เช่น ธนาคารข้าว ธนาคารปุ๋ย
  3. ช่วยให้สามารถวิเคราะห์วิสาหกิจชุมชนและสถาบันการเงินชุมชน พบว่า ไม่มีครัวเรือนร่วมกิจกรรมการออมเงินหรือทำบัญชีครัวเรือน
  4. ช่วยในการสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ พบว่าประชากรส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกร บางหมู่บ้านมีคนว่างงานแต่อัตราการว่างงานต่ำ มีผู้สูงอายุ และประชากรที่มีหนี้สินถึง 6,6๐4 คน
  5. ส่งเสริมเกษตรพอเพียงและอาหารปลอดภัย พบว่า มีครัวเรือนที่ร่วมกิจกรรมทำเกษตรอินทรีย์ทุกหมู่บ้าน
  6. ช่วยให้มีแหล่งน้ำประจำครอบครัว พบว่า มีการใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาค ประปาหมู่บ้าน และน้ำบาดาล และมีแหล่งผลิตน้ำดื่ม 2 แห่ง อยู่ในหมู่ที่ 9
  7. ช่วยจัดการวิสาหกิจขุมชน พบว่า มีการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 201 คน
  8. ฝึกอบรมทักษะอาชีพ พบว่า มีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมค่อนข้างน้อยและไม่ได้ทำต่อเนื่อง/สม่ำเสมอ
  9. มีการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน กายภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน พบว่า ถนน มีบางสายยังไม่ปรับปรุง เป็นลูกรัง/ ประปา พบบางครัวเรือนไม่ได้ใช้น้ำประปา
  10. ส่งเสริมความปลอดภัยในพื้นที่ พบว่า เส้นทางคมนาคมเป็นจุดเสี่ยงต่ออันตราย
  1. พัฒนาคุณภาพกลุ่มเปราะบาง พบว่า ขาดกิจกรรมการสนับสนุนส่งเสริมกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ เป็นต้น
  2. พัฒนาระบบสุขภาพคนในพื้นที่ ไม่พบสภาพปัญหา มีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอโดย อสม / รพสต
  3. ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้ตำบล พบว่า มีการจัดตั้งห้องสมุดและศูนย์เรียนรู้
  4. ส่งเสริมระบบยุติธรรมในชุมชน พบว่า มีศูนย์ยุติธรรมประจำตำบล ผู้นำทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยแต่ยังไม่พบโครงการการบริการความรู้ในด้านระบบยุติธรรมในชุมชน
  5. ส่งเสริมระบบการสื่อสารชุมชน พบว่า มีหอกระจายข่าวในการสื่อสาร แต่ยังขาดฐานข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้ออนไลน์
  6. ส่งเสริมตำบลทำความดี พบว่า มีการจัดกรรมจิตอาสาพัฒนาพื้นที่สาธารณะ มีกิจกรรมการรักษาศีล และมีการเข้าร่วมทุกครัวเรือน

 

ผลที่ได้จากการดำเนินงานโครงงานโครงการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ

ทีมงานอาจารย์และทีมผู้ปฎิบัติงานได้จัดอบรมการเผาถ่านไร้ควันให้ประชาชนตำบลตะโกตาพิ  ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นจำนวนมากทำให้ได้ความรู้มากมายจากการอบรม และยังสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้ และแปรรูปให้เป็นระบบอุตสาหกรรมขนาดย่อม สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับชุมชน ทั้งนี้แต่ละหมู่บ้านได้ส่งสมาชิกเข้าอบรมหมู่บ้านละ 30 คน สมารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับประชาชนในหมู่บ้าน ให้ชาวบ้านได้ผลิตถ่านชาโคลไร้ควันเพื่อใช้ในครัวเรือน การสร้างเตาเผาถ่านไร้ควันให้ถูกต้องตามหลัก จนเกิดกระบวนการน้ำส้มควันไม้ สามารถจำหน่ายได้ เลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อพัฒนาให้สามารถจำหน่ายได้และทางวิทยากรยังสอนช่องทางการจำหน่าบทางออนไลน์ทำให้ชาวบ้านสะดวกมากยิ่งขึ้น

 ผลประโยชน์ที่ได้จากผลผลิตของโครงการ/กิจกรรม

  1. ทำให้ประชาชนในตำบลประหยัดค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้นเพราะสามารถผลิตถ่านให้เองได้
  2. ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตถ่านไร้ควัน และน้ำส้มควันไม้
  3. ประชาชนเกิดการเรียนรู้จากการอบรมและนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนา ต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น
  4. เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพการทำถ่านและการทำถ่ายอัดแท่งในการประกอบอาชีพภายในชุมชน
  5. ทำให้ชุมชนมีฐานะทางความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  6. ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความรักไคร่สามัคคี กลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

 

 

อื่นๆ

เมนู