ข้าพเจ้านางสาวชลันดา พงศ์ไพบูลย์ศิริ นักศึกษา ในโครงการยกระดับเศรษกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจบ้านบาตร หมู่5 และ หมู่10 ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ บ้านบาตรตั้งอยู่ในตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากอำเภอประโคนชัยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 11 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปทางทิศใต้ 45 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ เหมาะแก่การทำเกษตร อาชีพส่วนใหญ่ได้แก่ ทำการเกษตร รองลงมาคือ อาชีพเลี้ยงสัตว์ อาชีพรับจ้าง และมีอาชีพรับราชการอยู่บ้างเล็กน้อย บางครัวเรือนก็มีอาชีพเสริม เช่น ทำวิกผม เลี้ยงหนู และทอเสื่อ รายได้เฉลี่ยของประชากรในหมู่บ้านอยู่ที่ 38,000บาทต่อปี ในหมู่บ้านมีสถานที่สำคัญ ได้แก่ โรงเรียน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง ประเพณีที่สำคัญของชุมชน ได้แก่ ประเพณีแซนโฎนตา แห่นางแมว วันสงกรานต์ ลอยกระทง และวันออกพรรษา มีแหล่งน้ำสาธารณะจำนวน 5 แห่ง และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นจำนวน 3 แห่ง เป็นบ่อบาดาล 3 แห่ง จุดเด่นและจุดแข็งของชุมชน 1) กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษและกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด 2) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
วิเคราะห์จุดเด่นจุดแข็งของชุมชนที่สอดคล้องกับกลไกการตลาด
จุดเด่น/จุดแข็ง | แนวทางการพัฒนา เพื่อให้เกิดรายได้ภายในชุมชน |
พืชผักสวนครัว | ส่งเสริมให้ความรู้ด้านวิชาการเพื่อให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง และสนับสนุนด้านการตลาดรองรับ |
กลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด | สนับสนุนส่งเสริมด้านการตลาด รองรับและส่งเสริมด้านเทคนิค |
ด้านปัญหา สาเหตุหลัก และแนวทางแก้ไขภายในชุมชน
ปัญหา | สาเหตุที่มาของปัญหา | แนวทางการแก้ไข |
รายได้ของครัวเรือน | ไม่มีอาชีพเสริม | ส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ |
ขาดรายได้ | แรงงานด้อยคุณภาพ | เพื่อพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ |
ปัญหาความยากจน | ประชาชนว่างงานในฤดูหลังเก็บเกี่ยว ทำให้ไม่มีรายได้เพิ่ม | ส่งเสริมสนับสนุนด้านอาชีพและจัดฝึกอาชีพให้ประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ |
ถนนภายในหมู่บ้าน | เส้นทางขรุขระทำให้สัญจรไม่สะดวก | ซ่อมแซมและปรับปรุงถนน |
น้ำประปาในหมู่บ้านไม่พอใช้ช่วงหน้าแล้ง | ซ่อมแซม | ปรับปรุงระบบน้ำประปาให้ดีขึ้น |
ภาพการปฏิบัติงาน