ดิฉันนางสาวศุภนิดา สุขประเสริฐ เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน (บัณฑิตจบใหม่) หลักสูตร ID10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
การจัดกิจกรรมอบรมเสริมทักษะเรื่อง “ทฤษฎีเบื้องต้นในงานจักสานและการเตรียมตอกไม้ไผ่”
กิจกรรมได้จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2564 ณ ศาลาประชาคมบ้านกลันทา หมู่ 10 มีผู้เข้าร่วมอบรมรวมทั้งสิ้น 22 คน โดยวิทยากรในการจัดอบรมครั้งนี้คือนางสาวพัชราภร มัติโก ซึ่งเป็นคนในหมู่บ้านที่มีความเชี่ยวชาญในด้านงานสานฝาชี
จากการดำเนินกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างต้นแบบเพื่อพัฒนาหรือยกระดับสินค้า/ผลิตภัณฑ์ “ทฤษฎีเบื้องต้นในงานจักสานและการเตรียมตอกไม้ไผ่” พบว่าชาวบ้านหลายคนมีพื้นฐานทางด้านงานจักสานอยู่แล้ว แต่หลายคนยังขาดพื้นฐานอีกมาก รวมไปถึงมีช่องทางการตลาดที่กว้าง ผลิตออกมาก็มีคนรับซื้อ แต่คนในชุมชนยังมีกำลังผลิตไม่เพียงพอ ทั้งในด้านวัตถุดิบที่ต้องสั่งซื้อมาจากต่างจังหวัด ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ทั้งด้านฝีมือที่ยังไม่ชำนาญหรืออาจจะทำได้ไม่หลากหลายรูปแบบ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงได้ทำการอบรมเบื้องต้นของการทำงานจักสานเลยก็คือเรื่อง “ตอก” ที่เป็นวัสดุหลัก
ช่วงเช้าเวลา 07.30-08.00 น. ทำการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม และตรวจวัดอุณหภูมิ
08.00-12.15 น. วิทยากรเล่าประสบการณ์การทำผลิตภัณฑ์จักสานฝาชีไม้ไผ่ และอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ทฤษฎีและหลักการเบื้องต้นในงานจักสาน” เนื้อหาในการจัดอบรมนั้นเป็นทฤษฎีเบื้องต้นในการทำงานจักสาน จะอธิบายถึงประโยชน์ของไผ่และหลักการในการเลือกไม้ไผ่เพื่อที่จะนำมาทำงานจักสานในเบื้องต้น
13.00 – 17.15 น. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การตรวจสอบไม้ไผ่และการทำตอกไม้ไผ่”
- เริ่มจากการนำไม้ไผ่ที่เราคัดแล้วมาเผาไฟให้ได้สีน้ำตาลอ่อน เพื่อให้ไผ่มีความเหนียว โดยวิทยากรก็คอยให้คำอธิบายเกี่ยวกับการดูไผ่ที่เผาได้พอดี
- เผาไม้ไผ่เสร็จจะนำไม้ไผ่ไปวางตากแดดประมาณครึ่งวัน หลังจากตากแดดเสร็จแล้วจะนำไปแช่น้ำ 1-2 วันต้องแช่ให้ปล้องไผ่จมทั้งปล้อง
- นำขึ้นมาขูดเปลือกออก พอขูดเปลือกเสร็จผ่าให้ไม้ไผ่เป็นชิ้นเล็ก
- เอาท้องออกแล้วจักรเป็นตอก แล้วขูดให้บางนิ่มพอดี
- ตอกที่ได้จะนำไปย้อมสีตามชอบเป็นอันเสร็จสิ้น
17.15 – 17.30 น. สรุปเนื้อหาและปิดการอบรม สรุปได้ว่า
ผลิตภัณฑ์ที่ทางชาวบ้านจะทำเพื่อเป็นสิ้นค้าชุมชน จะเป็นงานจักสาน ได้แก่ กล่องสบู่ทั้งแบบกลม และสี่เหลี่ยม โคมไฟ ฝาชีและกระถางใส่ต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทางชาวบ้านแหละกลุ่มได้คิดเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังมีไม่แพร่หลายสามารถทำให้เป็นที่รู้จักและสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชนได้ ในอานาคตอาจจะรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาเพื่อให้ได้ตรงความต้องการของหลายๆฝ่าย
ลิ้งแบบทดสอบประจำเดือน https://forms.gle/akNtBgaNKEWQ1BNbA