ข้าพเจ้า  นางสาวจริยา  หมายบุญ  ประเภทประชาชน  ตำบลกระสัง                                                                              หลักสูตร : ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์     ได้ลงพื้นที่ปฏิบัตงานกับทีมและอาจารย์ประจำหลักสูตร  ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีการนัดประชุม ณ ศาลากลางหมู่บ้าน  หมู่  1  ตำบลกระสัง

อาจารย์ได้พาทีมงานไปร่วมประชุมประจำเดือนของตำบลกระสัง และแนะนำให้รู้จักกับผู้นำตำบล  ผู้ใหญ่บ้าน  และคณะกรรมการ  เพื่อสะดวกในการทำงานและประสานงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ  โดยแจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ  1  มหาวิทยาลัย  1  ตำบล  ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ประชาชนในตำบลกระสังจะได้ประโยชน์ในการพัฒนาตามเป้าหมายโครงการ

                 

กลุ่มของข้าพเจ้า มี 4 คน แบ่งเป็น ประชาชน 1 คน, บัณฑิต 2 คน และนักศึกษา 1 คน ได้รับผิดชอบตำบลกระสัง หมู่ที่ 1, 12, 14 และ 17  ทั้ง 4 หมู่อยู่ติดกันมีเพียงแนวถนนแบ่งเขตพื้นที่  เพื่องานสะดวกและรวดเร็วจึงแบ่งพื้นที่เข้าสำรวจข้อมูล  ข้าพเจ้ารับผิดชอบ หมู่ 12 บ้านกระสัง  สำรวจข้อมูลศักยภาพตำบล  16 เป้าหมาย  และแบบสอบถาม (01) (02)

       วางแผนการหาข้อมูล       

ในการสำรวจครั้งนี้ได้ขอข้อมูล กับ นายณรงค์  ไชยโย  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 12  เกี่ยวกับข้อมูลในหมู่บ้าน  บ้านกระสัง หมู่ 12 มีจำนวนครัวเรือน  110  ครัวเรือน  แบ่งเป็นชาย  212  คน  หญิง  257  คน  รวมมีประชากร  469  คน  ในพื้นที่มีหน่วยงานที่สำคัญ  คือ  องค์การบริหารส่วนตำบลกระสัง  โรงเรียนบ้านกระสัง (หรุ่นราษฎร์รังสรรค์)  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระสัง  และวัดจำปาทอง

     องค์การบริหารส่วนตำบลกระสัง                  โรงเรียนบ้านกระสัง (หรุ่นราษฎร์รังสรรค์)

                                                                          

 

 

 

วัดจำปาทอง

ในการลงพื้นที่หมู่ 12  ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทำงานในตัวเมือง  ชาวบ้านที่อยู่จะเป็นผู้สูงอายุและเด็กเล็ก  และผู้ประกอบการร้านค้า  ร้านอาหาร   จากการสำรวจหาเอกลักษณ์  ผลิตภัณฑ์  กลุ่มอาชีพ OTOP  ยังไม่มีการรวมกลุ่มแบบจริงจัง  แต่ก็มีชาวบ้านที่มีฝีมือด้านหัตถกรรม  แบบภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทอเสื่อจากต้นกก  ซึ่งทำเป็นรายได้หลักของครอบครัว

บ้านหลังที่  1

                

บ้านหลังที่ 2

       

และยังมีงานฝีมืออีกอย่างคือการทำไม้กวาดทางมะพร้าวคุณตากับคุณยายทำเป็นอาชีพเลี้ยงคนในครอบครัว  วัตถุดิบก็หาในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง

บ้านหลังที่ 3

       

“หากมีการส่งเสริมและพัฒนารวมกลุ่มในหมู่บ้านจะช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นอาชีพหลักเลี้ยงคนในครอบครัว  ยกระดับเศรษฐกินของหมู่บ้านได้ดียิ่งขึ้น”

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู