ข้าพเจ้า นางสาวสุนิษา แก้วสีแสง ประเภทบัณฑิต ตำบลกระสัง
หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชุน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ในเดือนเมษายน ข้าพเจ้าและสมาชิกได้มีการจัดทำ SWOT ขึ้น ณ ศาลากลางหมู่บ้านหมู่ 1 ตำบลกระสัง ได้รับความร่วมมือจาก 4 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ 1 , 12 , 14 , และหมู่ 17 การจัดทำ SWOT กลุ่มของข้าพเจ้าได้เลือกผลิตภัณฑ์ “สบู่สมุนไพร” มายกระดับ แต่การจะนำมาพัฒนาต่อยอดได้นั้น เราต้องทราบการผลิต และปัญหาที่เกิดขึ้นเสียก่อน จึงเป็นที่มาในการเขียนหัวข้อ ผู้ผลิต ในครั้งนี้
ผู้ผลิต หมายถึง หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรให้เป็นสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ผู้ผลิตเป็นผู้ที่ทำหน้าที่นำทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นทรัพยากรเศรษฐศาสตร์มาแปรสภาพ โดยกระบวนการการผลิต และสิ่งที่ได้คือผลผลิต ซึ่งอยู่ในรูปของสินค้าต่าง ๆ
ดังนั้น การเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพจึงหมายถึงผู้ที่มุ่งสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างความเจริญให้ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม หรือมีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนในอนาคต
จุดเริ่มต้นของการร่วมกลุ่มผู้ผลิตสบู่สมุนไพร หมู่ 1 บ้านกระสัง เริ่มต้นจากผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โดยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและลูกบ้านที่มีความสนใจในการทำสบู่อยู่ก่อนแล้ว ได้เสนอโครงการทำสบู่เสนอต่อกรมการพัฒนาชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านนักพัฒนาชุมชนที่เข้าส่งเสริมพัฒนาอาชีพของชุมชน ในปี 2562 ประจวบกับที่มีลูกบ้านบ้างส่วนเคยทำสบู่มาบ้างแล้ว และสามารถพัฒนาต่อยอดได้ จึงได้เกิดการรวมกลุ่มขึ้น จากการสัมภาษณ์ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หลังจากการรวมกลุ่มผู้ที่สนใจในการทำสบู่ ได้มีการทดลองทำสบู่ขึ้น ผลที่ออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจนัก สบู่ไม่แข็งเป็นก้อน ไม่มีกลิ่นหอม และไม่มีฟอง นักพัฒนาชุมชน จึงจัดหาวิทยากรเข้ามาสอน ทำให้รู้วิธีทำและขั้นตอนที่ถูกต้อง
หลังจากที่สัมภาษณ์ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแล้ว ได้สัมภาษณ์พี่สุนีย์และกลุ่มแม่บ้านที่ร่วมกลุ่มการทำสบู่สมุนไพร ได้ความว่าในปี 2562 ได้เริ่มการซื้ออุปกรณ์ในการทำสบู่จากร้านสัมมาอาชีพซึ่งทางร้านได้จัดทำเป็นชุดไว้ หลังจากที่นำมาผลิตทำในครั้งแรกนั้นเนื่องจากยังขาดประสบการณ์ ทำให้การประมาณสัดส่วนที่ไม่พอดี สบู่ที่ทำในครั้งแรกนั้นจึงไม่แข็งตัวเป็นก้อน ไม่เกิดฟอง ไม่มีกลิ่นหอมหอม เนื่องจากวิธีการทำไม่ถูกต้อง ใส่ส่วนผสมทุกอย่างลงไปพร้อมกัน ทำให้ไม่ได้ตามสูตร และมีต้นทุนสูง หลังจากนั้นในปีถัดมาได้มีวิทยากรเข้ามาให้ความรู้ จึงได้มีการเพิ่มสมุนไพรเข้าไป เช่น ขมิ้น นั้นได้มีการทำขาย เป็นของชำร่วยในงานต่าง ๆ แต่เนื่องจากต้นทุนสูง ราคาจึงค่อยข้างสูงตามไปด้วย จึงไม่มีการสั่งซื้อเข้ามา กลุ่มที่ร่วมตัวกันจึงหยุดชะงัก
รายการ | จำนวนเงิน (บาท) | หมายเหตุ |
ต้นทุนวัตถุดิบ/ครั้ง | ||
1. ชุดทำสบู่กรีเซอรีนใส
2.ว่านหางจระเข้ 3. ค่าน้ำ 4. ค่าไฟฟ้า 5. ถุงมือ 6. ผ้าปิดปาก 7. ผ้าเช็ดมือ |
160
– 7 3 2 5 20 |
ร้านสัมมาชีพ บุรีรัมย์
ปลูกในครัวเรือน น้ำดื่มขายทั่วไป คำนวณจากสูตร * ร้านขายของทั่วไป ร้านขายของทั่วไป ร้านขายของทั่วไป |
ต้นทุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ | ||
1.เตาไฟฟ้า
2. ผ้ากรอง 3. หม้อสแตนเลส 4. แบบหล่อ/พิมพ์สบู่ |
699
20 600 120 |
|
*กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ชนิดนั้นๆ x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต (ที่มา:http://www.student.chula.ac.th/~49718863/elec.htm)
จากการ SWOT ในครั้งนี้ทำให้ทราบปัญหาที่เกิดมากขึ้น ทำให้ข้าพเจ้าและกลุ่มของข้าพเจ้าสามมารถวางแผนพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคตในหลายประเด็นดังนี้
- การพัฒนารูปแบบหน้าตาสบู่ และบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- การหาช่องทางการขายและวิธีการขาย
- การคำนวณต้นทุน การลดต้นทุนการผลิตและการกำหนดราคาขาย
- การพัฒนาคุณภาพเนื้อสบู่
- การเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ (การขอ มอก. และมาตรฐานอื่น ๆ) เป็นต้น
ลิงค์แบบทดสอบ:https://docs.google.com/forms/d/1otVKpukIX7KoheIjGNYlzsXfbvCPdaxOiXt2AtXAUBk/edit