“น้ำอ้อยสด”
หากพูดถึงน้ำอ้อยสด คงจะเป็นเครื่องดื่มที่หลายๆคนชื่นชอบเป็นอย่างมากน้ำอ้อยสดเป็นเครื่องดื่มคลายร้อนที่หลายคนโปรดปราน เพราะน้ำอ้อยทั้งหวาน หอม ดื่มแล้วสดชื่น แต่นอกเหนือจากความอร่อยแล้ว น้ำอ้อยยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วยเช่น
1. แก้กระหาย
น้ำอ้อยเย็น ๆ มีรสหวานจากน้ำตาลที่ได้จากอ้อย ช่วยคลายร้อนดับกระหายให้ร่างกายได้เป็นอย่างดี
2. ช่วยให้ชุ่มคอ แก้เสมหะ
น้ำตาลจากอ้อยเป็นน้ำตาลธรรมชาติ ที่มีสารอาหารและวิตามินหลากหลายชนิดด้วยกัน ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างโพลีฟีนอลที่มีส่วนช่วยต้านอาการอักเสบ น้ำอ้อยจึงช่วยให้ชุ่มคอและช่วยขับเสมหะไปด้วยในตัว
3. แก้ไอ แก้เจ็บคอ
นอกจากทำให้ชุ่มคอแล้ว น้ำอ้อยยังช่วยแก้ไอ และบรรเทาอาการเจ็บคอได้ด้วย แต่ทั้งนี้ควรต้องดื่มน้ำอ้อยอุ่น ๆ แทนน้ำอ้อยเย็น ๆ นะคะ หรือถ้าเป็นตามตำรับยาพื้นบ้าน หากใครมีอาการไอขณะออกหัด ก็ให้นำต้นอ้อยแดงทั้งเปลือกมาต้มดื่มแบบน้ำชา แต่ถ้าไอแบบมีเสมหะติดคอ ก็นำอ้อยแดงที่ยังไม่ได้ปอกเปลือกไปเผาไฟ แล้วปอกเปลือกนำมาเคี้ยวกินตอนร้อน ๆ ก็จะช่วยแก้ไอได้
4. เติมพลังงานให้ร่างกายได้ทันที
ความหวานของน้ำอ้อยมีประโยชน์ในด้านช่วยเติมพลังงานให้ร่างกายได้ทันทีที่ดื่ม ยิ่งใครที่มีอาการอ่อนเพลีย ดื่มน้ำอ้อยเย็น ๆ สักแก้วจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นได้ เนื่องจากน้ำตาลจากน้ำอ้อยจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้ร่างกายมีพลังงานทันทีทันใด
5. ขับปัสสาวะ
น้ำอ้อยมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อน ๆ ดื่มแล้วช่วยให้กระตุ้นระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย นอกจากนี้น้ำอ้อยยังมีสรรพคุณช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะน้ำอ้อยมีสารต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ขับปัสสาวะที่จะไล่เอาเชื้อโรคในทางเดินปัสสาวะออกมาด้วยนั่นเอง
6. บำรุงหัวใจ
ไม่ใช่แค่ดื่มแล้วชื่นใจเท่านั้น แต่ตำรับยาแผนโบราณยังดื่มน้ำอ้อยบำรุงหัวใจด้วย
7. ลดอาการแพ้ท้อง
น้ำอ้อย 1 แก้วผสมกับน้ำขิงอีกเล็กน้อย สูตรนี้จะช่วยลดอาการแพ้ท้องช่วงเช้า ๆ ให้คุณแม่ได้ ทั้งยังได้คุณประโยชน์จากน้ำขิงเพิ่มขึ้นมาด้วย
8. บำรุงร่างกาย
น้ำอ้อยมีแคลเซียม แมกนีเซียม และธาตุเหล็กสูง อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 และโปรตีน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยบำรุงดูแลร่างกาย พร้อมกันนั้นก็ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้อีกทางด้วย
9. บำรุงธาตุ
น้ำอ้อยจะกระตุ้นให้เจริญอาหาร และสารอาหารที่มีประโยชน์จากน้ำอ้อยยังจะช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย โดยเฉพาะตับ โดยสารชนิดหนึ่งในน้ำอ้อยจะช่วยควบคุมระดับของบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งหากร่างกายมีสารนี้มากเกินไปก็จะอาจจะทำให้ปัสสาวะ อุจจาระเหลือง และเสี่ยงต่อโรคดีซ่านได้
10. แก้ท้องผูก
น้ำอ้อย 1 แก้วผสมกับน้ำขิงอีกเล็กน้อย สูตรนี้จะช่วยลดอาการแพ้ท้องช่วงเช้า ๆ ให้คุณแม่ได้ ทั้งยังได้คุณประโยชน์จากน้ำขิงเพิ่มขึ้นมาด้วย
หลังจากการลงสำรวจพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านดอนหวาย มีความหลากหลายในด้านของผลผลิตของชาวบ้านอยู่มาก แต่ยังมีผลผลิตอีก 1 อย่างที่โดดเด่นเป็นอย่างมากนั่นคือ ” น้ำอ้อยสด ” ซึ่งชาวบ้านที่นี่ได้มีการปลูกอ้อย เพื่อนำอ้อยที่ปลูกแล้วเก็บเกี่
ยวแล้วนำเอาอ้อยสดๆมาคั้น แล้วบรรจุใส่ขวดส่งขายตามหมู่บ้านอีกด้วยซึ่ง การปลูกของเช้าบ้านที่นี่จะใช้อ้อยพันธุ์ “สุพรรณบุรี 50 ” ซึ่งแตกต่างจากอ้อยที่ปลูกส่งโรงงานแปรรูปคือ เปลือกนิ่ม ชานนิ่ม รสหวานปานกลางถึงค่อนข้างสูง
การเพาะปลูก
เตรียมดิน ได้จัดการใช้พื้นที่ปลูกบนแปลงที่เตรียมไว้ ขุดหลุมเป็นร่องแปลงปลูกในพื้นที่ เข้าไปทางด้านในแปลง 30-50 เซนติเมตร ขุดสับดินให้เป็นร่องหลุมปลูกกว้างและลึก ด้านละ 1 ศอก
การปลูก ได้วางท่อนพันธุ์อ้อยลงปลูกตามแนวยาวร่องหลุมปลูก มีระยะห่างกัน 25-50 เซนติเมตร เกลี่ยดินกลบ หนา 3-5 เซนติเมตร แล้วรดให้น้ำพอชุ่ม ในช่วงฤดูแล้งได้จัดการให้ต้นอ้อยได้รับน้ำอย่างพอเพียงและฤดูฝนปล่อยให้ต้นอ้อยได้รับน้ำจากน้ำฝนก็จะทำให้ต้นอ้อยเจริญเติบโตได้ดี ครั้งแรกได้ปลูก จำนวน 80 ต้น หรือกอ ต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มเป็น 400 ต้น เมื่อต้นอ้อยที่ปลูกเจริญเติบโตดี จำนวนต้นอ้อยก็มีเพิ่มมากขึ้นเป็น 6-10 ต้น ต่อกอ
การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา หลังจากปลูกได้ใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 ในอัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต่อปี ในอัตราครั้งละ 25 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกและใส่แต่งหน้า ครั้งแรกได้ใส่ปุ๋ยเมื่อต้นอ้อยอายุ 45 วัน ด้วยการโรยปุ๋ย 2 ข้างร่องแปลงปลูก พร้อมกับพูนดินกลบโคนและถางหญ้าหรือกำจัดวัชพืชออกไปด้วย ให้น้ำพอชุ่ม ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยเมื่อต้นอ้อยอายุ 2 เดือนครึ่ง หรือกว่า 75 วัน ด้วยการโรยปุ๋ย 2 ข้างร่องแปลงปลูก พร้อมกับพูนดินกลบโคนและถางหญ้าหรือกำจัดวัชพืชออกแล้วให้น้ำพอชุ่ม
การเก็บเกี่ยว หลังจากปลูก 6-8 เดือน ต้นอ้อยเจริญเติบโตสมบูรณ์พร้อมให้ตัดเก็บ ได้ใช้มีดอีโต้ตัดชิดโคนต้น รวบรวมต้นอ้อยไปเก็บพักที่โรงเรือน ส่วนตอต้นอ้อยที่เหลืออยู่จะแตกยอดและเจริญเติบโตเป็นต้นอ้อยใหม่ กระทั่งต้นโต อายุ 6-8 เดือนก็เริ่มทยอยตัดอีกครั้ง วิธีการนี้จะตัดอ้อยได้ 3 ครั้ง ครั้งที่ 4 ต้องรื้อออกแล้วปลูกอ้อยใหม่
การหีบคั้นน้ำอ้อยสด ทำได้ ดังนี้
1. นำต้นอ้อยที่ตัดมาล้างน้ำให้สะอาด ตั้งวางผึ่งลมให้แห้ง เพื่อป้องกันไม้ให้เกิดการบูด
2. ปอกเปลือกอ้อย จัดวางใส่ในถังสะอาด
3. หีบคั้นน้ำอ้อย ก่อนหีบคั้นให้เอามีดถากบริเวณข้อออกก่อน แล้วจึงปอกเปลือก เพราะจะไม่ทำให้น้ำอ้อยดำ ตัดให้สั้นได้ขนาดพอเหมาะแล้วนำเข้าเครื่องหีบคั้น
4. น้ำอ้อยที่หีบคั้นได้จะไหลออกมามีสีเหลืองอมเขียว และภายใน 30 นาที น้ำอ้อยจะเปลี่ยนสี ถ้าไม่นำไปแช่ในถังเย็นหรือในถังน้ำแข็ง
5. จัดบรรจุใส่ขวด นำน้ำอ้อยสดที่คั้นได้ไปบรรจุใส่ขวดที่ล้างทำความสะอาด ปิดฝา นำออกวางขาย
ซึ่งจากผลผลิตที่ชาวบ้านได้ทำสร้างรายได้ให้ชาวบ้านเป็นอย่างดี