ข้าพเจ้า นางสาวสุนิษา แก้วสีแสง ประเภทบัณฑิต ตำบลกระสัง
หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชุน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ในเดือนพฤษภาคม บทความนี้จะเป็นบทสัมภาษณ์ที่ข้าพเจ้าได้สัมภาษณ์หนึ่งท่านจากกลุ่มผู้ผลิตสบู่ในตำบลกระสัง ในบทความจะได้รู้ถึงจุดเริ่มต้น ปัญหา อุปสรรคที่พบ ในการรวมกลุ่มการทำสบู่ ไปอ่านบทสัมภาษณ์กันเลยค่ะ
1.ประวัติ
นายมนต์ แกจะสน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีธุรกิจส่วนตัวทำเสาศาลพระภูมิเป็นอาชีพเสริม เริ่มต้นการรวมกลุ่มทำสบู่ในปี 2562 ผู้ใหญ่มนต์ได้หาผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อมายกระดับ ในตอนนั้นได้มีการเสนอผลิตภัณฑ์มา 3 อย่าง คือ จักสาน ไข่เค็ม และสบู่สมุนไพร และเสียงส่วนใหญ่เลือก ผลิตภัณฑ์ สบู่ เนื่องจากมีชาวบ้านบางกลุ่มสามารถทำสบู่ได้ การผลิตสบู่ในชุมชนจึงเริ่มต้นขึ้น
2.เคยทำสบู่มาก่อนหรือไม่
ผู้ใหญ่มนต์เล่าว่าไม่เคยทำสบู่มาก่อนเลย ไม่มีฝีมือทางด้านนี้ แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่เลือกทำสบู่ จึงต้องหาความรู้ให้มากขึ้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สบู่ไปต่อได้ เเละนัดรวมกลุ่มชาวบ้าน มาทดลองการทำสบู่ที่บ้านเพื่อเริ่มต้นการทำสบู่
3.การทำสบู่ครั้งแรกประสบความสำเร็จหรือไม่
ผู้ใหญ่มนต์คิดว่าเมื่อมีชาวบ้านเคยทำสบู่มาก่อนก็น่าจะสำเร็จไปได้ด้วยดี แต่ไม่เป็นไปอย่างที่คิด สบู่ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่มีกลิ่นหอม ทำให้การทำสบู่ครั้งแรก ล้มเหลวไป และได้ทำสบู่อีกหลายครั้งแต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ และปรกอบกับชาวบ้านประกอบอาชีพรับจ้าง เมื่อทำแล้วไม่สำเร็จ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบในการทำ ทำให้หยุดชะงักไป
4.ทำไมถึงได้กลับมาผลิตสบู่สมุนไพรอีกครั้ง
ในปี 2563 นักพัฒนาชุมชนได้เข้ามาจัดหาวิทยากรเข้ามา สอนขั้นตอนและวธีการทำสบู่ทีถูกต้อง ทำให้การผลิตสบู่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ และสามารถทำออกไปขายได้ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมแต่ก็ไม่มากนัก
5.ทำไมถึงต้องเป็นสบู่สมุนไพร
ส่วนผสมที่ชาวบ้านใช้ เป็นสมุนไพรที่หาได้ในชุมชน และปลูกไว้ในครัวเรือน เช่น ว่านหางเจริญ ขมิ้น ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ในส่วนนี้
6.ปัญหาที่พบ และการแก้ไข้ปัญหา
-ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำให้รวมกลุ่มได้ยาก จึงแก้ปัญหาโดยการ นัดรวมตัวหลังเลิกงานที่บ้านผู้ใหญ่มนต์
-ส่วนผสมที่ใช้ทำสบู่มีราคาแพง นั่นก็คือ กลีเซอรีน (เกร็ดความรู้ : กลีเซอรีน (Glycerin) หรือ กลีเซอรอล (Glycerol) เป็นของเหลวที่ไม่มีสี มีความหนืด และมีรสหวาน รีน มีคุณสมบัติเคมีที่หลากหลาย จึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้นต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่น ๆ ได้ กลีเซอรีนบริสุทธิ์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมหรือ เป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร ยาสีฟัน ยาสระผม และนิยมใช้มากในอุตสาหกรรมสบู่ เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือน มอยซ์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง) ผู้ใหญ่มนต์กำลังค้นหาแหล่งที่ราคาถูก
-ยังไม่มีการทำการตลาดที่ดี ทำให้ไม่เป็นที่รู้จัก ขายได้แค่ช่วงที่มีงานศพ และคนในชุมชน
7.ความคุ้มทุนจากการทำสบู่หรือไม่
ถ้าถามถึงคุ้มทุนผู้ใหญ่บอกว่าพอได้บ้างแต่ได้ไม่เยอะ พอแบ่งให้ชาวบ้านได้ทุกคนเท่ากัน เเละต้องแบ่งเงินไว้ส่วนหนึ่งในการซื้อส่วนผสมทำสบู่ในครั้งต่อๆไป
8.ในช่วงสถานการณ์โควิค 19ส่งผลกระทบไหมคะ
เกิดการแพร่ระบาดระรอกใหม่ทำให้ไม่สามารถผลิตได้ ชาวบ้านไม่กล้ามารวมกลุ่มกัน และไม่มีออเดอร์เข้ามาทำให้ขาดรายได้ในช่วงนี้ไป
9.เป้าหมายที่ตั้งไว้
ผู้ใหญ่มนต์บอกว่าอยากทำให้ได้มาตราฐานมากขึ้น ทำรูปลักษณ์ใหม่ๆให้มีความน่าสนใจ ขยายตลาดของผู้ซื้อให้มากขึ้นไม่ใช่แค่คนในหมู่บ้านที่ซื้อ หรือเป็นแค่ของชำร่วยในงานศพ อยากพัฒนาจนเป็นของฝากให้ได้ และที่สำคัญสามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
(เกร็ดความรู้ : มาตราฐานของสบู่
เมื่อความน่าเชื่อถือและความเชื่อใจ รวมถึงความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ใช้เป็นตัวชี้วัดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือเลือกใช้บริการ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานต่างๆ จึงเข้ามามีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
ก่อนหน้านี้ เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. นั้น ครอบคลุมสินค้าขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่เมื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) รวมถึงวิสาหกิจชุมชน เริ่มปรับตัวและพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมความสามารถทางการแข่งขันในโลกการค้า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงได้ออก “มอก.เอส” หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส ขึ้นมา เพื่อช่วยให้กิจการขนาดเล็กได้มีเครื่องหมายการันตีและรับรองมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการ และเพิ่มความมั่นใจต่อผู้ซื้อ ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการดังกล่าวมีมาตรฐานที่ดี มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย
ทั้งนี้ มอก.เอส จะเป็นการกำหนดมาตรฐานการผลิตในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงบริการด้านต่างๆ (มาตรฐาน มอก.เอส) เช่น มอก.เอส 1-2561 ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนสำหรับโรมแรมและที่พักสาธารณะ, มอก.เอส 6-2561 เสื้อกีฬา, มอก.เอส 13-2562 สบู่ก้อนผสมสมุนไพร, มอก.เอส 24-2561 การบริการซ่อมบำรุงและล้างเครื่องปรับอากาศ, มอก.เอส 25-2561 การบริการนวดและสปา และ มอก.เอส 79-2562 การบริการร้านกาแฟ เป็นต้น)
จากบทสัมภาษณ์นี้ ทำให้เห็นถึงปัญหาและความต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นไปจากเดิมและสร้างรายได้ให้คนในชุมชน สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้ใหญ่มนต์ที่ให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้
อ้างอิง : https://www.prosoft.co.th/Article/Detail/122505
ลิงค์แบบฝึกหัด : https://docs.google.com/forms/d/1oiqUlj8IdV4zPHPQj_TZYIPGqTwTNr-1wxq_WR6V5y0/edit