นายอำนวย จิตไทย ประเภทประชาชน
การดำเนินงานเดือนกันยายน 2564 ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) รับผิดชอบในตำบลกระสังได้แก่ บ้านม่วงเหนือหมู่ 2 บ้านเครือชุด หมู่ 4 บ้านกลันทา หมู่ 10 บ้านลำดวน หมู่ 11 และบ้านม่วงพัฒนา หมู่ 16 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ทีมปฏิบัติงานได้มีการประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการศึกษาสัมภาษณ์หาความเชื่อ ภูมิปัญญาในชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวของตำบลกระสัง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
ด้านความเชื่อของชุมชน
จากการสัมภาษณ์คุณยายสนัด อักษรณรงค์ อายุ 82 ปี เป็นชาวบ้านม่วงเหนือ หมู่ 2 ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อพิธีกรรมการเล่นแม่มดมีการบนบานและเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วยังคอยดูแลปกป้องภัยอันตรายชุมชนให้มาช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งปฏิบัติสืบทอดต่อกันมานานที่ใช้การบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้กับครอบครัวและคนที่อยู่อาศัยในชุมชน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อว่าชุมชนได้เห็นชาวบ้านที่ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลหลายครั้งแล้วไม่หายพอเข้ามาทำพิธีการเล่นแม่มดแล้วมีอาการดีขึ้นสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ชุมชนได้อย่างปกติจึงทำให้เกิดความเชื่อกันเป็นส่วนใหญ่ จากพิธีกรรมจะมีผู้สูงอายุที่ถือศิลเป็นผู้เข้าทรงมีเครื่องดนตรีมาทำพิธีเล่นแม่มดเป็นผู้ที่ชุมชนเชื่อถือ
การประกอบพิธีคนทรงเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษหรือผีเข้ามาส่งในร่างของนางรำเพื่อให้ญาติพี่น้องได้ถามคำถามหรือมีการรำและเล่นดนตรีไปด้วย ซึ่งเรียกว่าแม่มดหรือเป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วมีทั้งชายและหญิงเข้ามาในร่างคนทรง ซึ่งในช่วงนี้มีโรคโควิด 2019 ระบาดจึงยังไม่มีการจัดพิธีกรรมนี้
ภาพ สถานที่ทำพิธีกรรมเล่นแม่มด
ด้านภูมปัญญาในชุมชน
จากการสัมภาษณ์นายน้อย รักษา อายุ 68 ปี ชาวบ้านม่วงเหนือพัฒนา หมู่ 16 ได้นำด้ายไนลอน เอ็น มาสานเป็นแห เพื่อจำหน่ายให้กับชาวบ้านใกล้เคียงและใช้หาปลา ซึ่งแหเป็นเครื่องมือจับปลาของชุมชน ถักเป็นตาข่ายใช้ทอดแผ่ลงในน้ำ แล้วต้องดึงขึ้นมา ชาวบ้านจะใช้ในการหาปลาเพื่อบริโภคและที่เหลือจะนำไปจำหน่าย เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลินในยามว่าง แหถือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านได้รับการพัฒนาจากการได้รับการถ่ายทอดเบื้องต้นจากบรรพบุรุษ แล้วลองผิดลองถูกจนเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะตัวของบุคคล มีขนาด วิธีทอด วิธีย้อมที่คล้ายๆ กัน แล้วแต่ความเชื่อจากวิธีปฏิบัติจริงในการทอดแห ที่ได้จากประสบการณ์และภูมิปัญญาของตนเอง
จากการสัมภาษณ์ความเชื่อและภูมิปัญญาของชุมชนชาวบ้านตำบลกระสังที่เป็นผู้นำความเชื่อและมีความเชี่ยวชาญที่เด่นเห็นได้ชัดเจนได้ถ่ายทอดความเชื่อและภูมิปัญญา โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนที่เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนนำความรู้เผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจพร้อมเข้ามาเยี่ยมชมชุมชนให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป