ดิฉันนางสาวพนิดาพรชัย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา
หลักสูตรID-10 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสังอำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์

บันทึกการทำงานประจำเดือนตุลาคม ของการทำงานกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้แก่ประเทศ สำหรับบทความประจำเดือนนี้ดิฉันจะเขียนบทความไปในทิศทางการสะท้อนความเห็นความรู้สึกจากการทำงานในพื้นที่ตำบลกระสังอำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์

กลุ่มของดิฉัน มีสมาชิกจำนวน 4 คน โดยแบ่งเป็น ประเภท ประชาชน 1 คน, บัณฑิต 2 คน และนักศึกษา 1 คน ทีมของพวกเราได้รับผิดชอบจำนวนสี่หมู่บ้านได้แก่
1.หมู่ที่ 5 บ้านหนองม้า
2.หมู่ 8 บ้านโพธิ์ไทร
3.หมู่ 9 บ้านหนองหว้า
4.หมู่ 15 บ้านโนนรัง     ทั้ง 4 หมู่อยู่ติดกันมีเพียงแนวถนนแบ่งเขตพื้นที่  เพื่องานสะดวกและรวดเร็วจึงแบ่งพื้นที่เข้าสำรวจข้อมูล ดิฉันรับผิดชอบ หมู่ 15 บ้านโนนรัง ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน

งานที่ได้รับมอบหมาย 
ถ้าหากพูดถึงงานที่ได้รับมอบหมาย ก็คงต้องเริ่มตั้งแต่ตอนเริ่มปฏิบัติงานโครงการU2T ในเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงเริ่มต้นโครงการเดือนกุมภาพันธ์ดิฉันลงพื้นที่เก็บข้อมูลและสำรวจชุมชน ตามแบบฟอร์ม01: แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน และแบบฟอร์ม02: แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19  โดยดิฉันเป็นคนในพื้นที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโนนรัง ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่แล้วจึงเริ่มเก็บข้อมูลจากคนในชุมชนของตนเองก่อน และการเก็บข้อมูลในทุกๆ หลังคาเรือนจนครบ หลังจากเก็บข้อมูลเสร็จก็นำข้อมูลที่เก็บมาคีย์ลงระบบ และเริ่มเก็บข้อมูลจากหมู่บ้านที่รับผิดชอบ อีกจำนวน 3 หมู่บ้าน โดยส่วนใหญ่ดิฉันจะมีหน้าที่คีย์ข้อมูลลงระบบ และมีพี่ในกลุ่มทำหน้าที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล และงานอื่นๆอีกเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูล CBD  ทีมงานของพวกเราก็ช่วยกันทำงานมาตลอดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม  นอกจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและการคีย์ข้อมูลลงระบบแล้ว งานที่ดิฉันต้องกระทำในทุกๆ เดือน คือ จัดทำคลิปวิดีโอประจำตำบล ในช่วงแรกๆดิฉันไม่มีความถนัดและไม่มีความสนใจที่จะทำคลิปวิดีโอเลย  คิดว่าการจัดทำคลิปวิดีโอเป็นเรื่องที่ยากมาตลอด อีกทั้งตัวดิฉันเองก็ไม่ได้มีความชอบในการทำคลิปวิดีโอเลย แต่ระยะเวลาในการทำงานหลาย ๆ เดือนที่ผ่านมาทำให้ดิฉันรู้สึกว่า คนเราไม่จำเป็นต้องทำในสิ่งที่ชอบไปตลอด เราอาจจะเริ่มต้นจากสิ่งที่ไม่ชอบก่อนทำมันเรื่อยๆจนกว่ามันจะออกมาดีที่สุด พอมองย้อนกลับไปและรู้สึกว่าระยะเวลาที่ผ่านมาดิฉันรู้สึกว่าการจัดทำคลิปวิดีโอประจำเดือนก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย เพียงแต่ต้องคิดที่จะทำหรือลงมือทำก่อน ลองผิดลองถูกจนกว่างานเราจะออกมาดี และพัฒนาไปเรื่อยๆให้งานออกมาดีที่สุด

จากการสำรวจและการลงพื้นที่อยู่บ่อยครั้งจะพบได้ว่าภายในตำบลกระสัง และชุมชนที่เราลงพื้นที่หรือลงปฏิบัติงานนั้นจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในชุมชนมีอะไรบ้าง โดยแต่ละชุมชนก็จะมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไป  และบริบทที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างคือ หมู่บ้านโนนรัง ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของหมู่บ้านโนนรัง ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าทอมือ ผ้าลายขิด ผ้าซิ่นตีนแดง ซึ่งดิฉันเห็นว่าในหมู่บ้านของเราก็มีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการถักทอ มาจากงานฝีมือมากมาย มีความละเอียดและสวยงาม ดิฉันจึงเห็นว่าก็สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ของเราให้เป็นสินค้า OTOP ที่สามารถสร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้มากขึ้น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนมีการทอผ้า เป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว คนในชุมชนส่วนใหญ่ได้ทอผ้าเพื่อการจำหน่าย  แต่ยังขาดบรรจุภัณฑ์ที่น่าดึงดูดและลักษณะโดดเด่นของชุมชนดิฉันจึงคิดว่าควรที่จะเข้ามาส่งเสริมและช่วยเหลือให้คนในชุมชนสามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชนเพิ่มขึ้นได้

ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
1. ปัญหาเรื่องของอัตลักษณ์ของชุมชน ความน่าสนใจในผลิตภัณฑ์ของชุมชน ที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากหมู่บ้านโนนรัง มีการทอผ้า ซึ่งชาวบ้านมีความถนัดในด้านการทอผ้าอย่างมากและสามารถทอผ้าได้อย่างหลากหลายแต่ยังมีปัญหาในเรื่องของการไม่มีลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ต่อมาจึงมีการจัดอบรมเพื่อหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านโนนรัง และออกแบบลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์โดยการวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกชุมชน ผลจากการจับอบรมเรื่องการหาผลิตภัณฑ์และการออกแบบลายผ้าของผลิตภัณฑ์พบว่า
พบว่าจุดอ่อนของกลุ่มทอผ้าบ้านโนนรัง คือ
1.1 ปัญหาการขาดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน

1.2 ปัญหาเรื่องวัตถุดิบในการทอผ้าที่ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากภายนอกเข้ามาในชุมชนจึงทำให้วัตถุดิบมีราคาที่สูงขึ้น

1.3 ปัญหาที่คนในชุมชนยังขาดความรู้และการขาดช่องทางการตลาดอื่นๆเพิ่มเติม

2. ปัญหาเรื่องของการประสานงานเพื่อวิทยากรมาจัดอบรมในแต่ละครั้ง เนื่องจากหาวิทยากรที่เหมาะกับเรื่องที่จะอบรมไม่ได้ ในบางครั้งอาจจะมีปัญหาในเรื่องของเวลาว่างที่ไม่ตรงกัน จึงทำให้ไม่สามารถที่จะอบรมได้ตามเวลาที่กำหนด

3. ปัญหาเรื่องการระบาดของโรคโควิด-19 จนไม่สามารถจัดอบรมได้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเลื่อนแผนการจัดอบรมออกไป จนทำให้เกิดความล่าช้า

4.อุปสรรคในการทำงานร่วมกับทีมงาน  ในการปฏิบัติงานช่วงแรกเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานไม่ได้มีความรู้จักกันจึงทำให้ช่วงแรกเป็นการทำงานที่แยกกันทำงานใครงานเรา ไม่มีการวางแผนที่ดี และผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไม่ค่อยดีนัก รู้สึกว่าการทำงานค่อนข้างช้า  แต่หลังจากที่มีการทำงานร่วมกันบ่อยๆครั้งก็สามารถทำงานที่ได้รับให้สำเร็จตามเป้าหมาย

5. อุปสรรคในการทำงานร่วมกับคนในชุมชน  จะเป็นในเรื่องการให้ความร่วมมือของคนในชุมชน การจัดอบรมบ่อยครั้งทำให้ชาวบ้านรู้สึกไม่อยากที่เข้ามาอบรม สามารถดูจากจำนวนคนที่เข้าอบรม มีจำนวนน้อยลงหากเทียบกับการจัดอบรมครั้งแรกๆเนื่องจากการจัดอบรมเป็นการจัดอบรมตลอดทั้งวัน ชาวบ้านก็มีภาระที่ต้องการทำจึงไม่มีเวลาที่เข้าอบรมและอีกหนึ่งอุปสรรคของการทำงานในพื้นที่คือ การเข้าเก็บข้อมูลก็จะปัญหาบ้างเล็กน้อยเนื่องจากชาวบ้านบางคนที่มองว่าดิฉันยังเป็นนักศึกษาการเข้ามาเก็บข้อมูล คือทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ จึงไม่ให้ข้อมูลในส่วนที่เราต้องการได้ และดิฉันเป็นคนในพื้นที่ก็จริง แต่บางครั้งการเข้าเก็บข้อมูลครัวเรือนบางครัวเรือนก็ไม่สามารถที่จะให้ข้อมูลได้และบางครัวเรือนก็ไม่สะดวกที่จะให้ข้อมูลแต่เป็นจำนวนน้อยเท่านั้นเพราะชาวบ้านส่วนมากก็ยินดีที่จะให้ข้อมูลจึงทำให้ดิฉันปฏิบัติงานจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี

บริบทที่ส่งเสริมให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
• ศักยภาพของพื้นที่ ถ้าพูดถึงศักยภาพของพื้นที่แล้วถือได้ว่าเป็นข้อดีและเป็นประโยชน์ต่อดิฉันและตัวทีมงานเลย เพราะในพื้นที่มีการทอผ้าเป็นประจำอยู่แล้วซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานโดยที่คนในชุมชนมีการทอผ้าจริงๆ สามารถที่จะขายได้จริงๆ จึงถือได้ว่าในพื้นที่มีศักยภาพในการทอผ้าค่อนข้างสูง และศักยภาพของผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่ลำไย แขนรัมย์ ผู้ช่วยบุญเรือง แก้วฉลาด มีศักยภาพที่สูงเพราะคอยเป็นตัวกลางที่เชื่อมตัวทีมงานกับชาวบ้านให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ให้ความร่วมมือกับทีมงานมาเป็นอย่างดี  อีกทั้งต้องขอบคุณท่านทั้งสองท่านที่ค่อยให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มโครงการมา
• ศักยภาพในตัวผู้ปฏิบัติงาน ส่วนตัวดิฉันเป็นคนที่ต้องการให้เสร็จให้รวดเร็วที่สุดและอยากให้งานออกมามีประสิทธิภาพที่สุด ถึงบางครั้งผลลัพธ์ของงานที่ออกมาจะไม่เป็นตามที่คาดหวังไว้ก็ตามก็ถือว่าดีที่ได้ลงมือทำ ในระหว่างการทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่าน มีทั้งงานที่ต้องทำร่วมกันเป็นกลุ่มและงานที่เราจะต้องรับผิดชอบคนเดียว ในการทำงานนนั้นอาจจะมีอุปสรรคในการทำงานร่วมกับคนอื่นบ้างแต่สามารถผ่านไปได้ด้วยดี และงานที่ต้องรับผิดชอบคนเดียว ดิฉันทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ และได้รับประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เพราะการได้ทำงานร่วมกับคนหลายๆคนมีความคิดที่หลาก ทำให้เราต่างก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน

สิ่งที่ได้รับจากการทำงาน
1. การได้ลงพื้นที่ในชุมชนที่รับผิดชอบ ทำให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน บริบทของคนในชุมชนสภาพพื้นที่ของชุมชน  ปัญหาต่างๆของคนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหาการว่างงาน และผลกระจากการระบาดของโรคโควิด-19

2.ได้รับประสบการณ์จริงจากการลงพื้นที่ เนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่ก็สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงภายในชุมชน ได้มากกว่าคนนอกที่เข้ามาในชุมชน ประสบการณ์ในการลงพื้นที่ที่บางครั้งก็เกิดปัญหาบ้าง

3. ได้ฝึกทักษะเกี่ยวกับการจัดทำโครงการการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละชุมชน การจัดทำเอกสารต่างๆ

4. ได้ฝึกทักษะประสานงานการติดต่อสื่อสารกับผู้นำในแต่ละชุมชนคนในชุมชน และการทำงานกับเพื่อนในทีม

5.ได้ฝึกทักษะการตัดต่อวิดีโอ การถ่ายวิดีโออย่างไรให้ภาพที่ออกมามีความสวยงาม ทักษะการเขียนบทความในแต่ละเดือน

6.ได้ฝึกตนเองให้มีความรับผิดในงานที่ต้องกระทำภายในเวลาที่กำหนด

 

ภาพกิจกรรม

คลิปวิดีโอ

 

 

 

อื่นๆ

เมนู