สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานในพื้นที่ หมู่ 6 บ้านโพธิ์ หมู่ 7 บ้านดอนหวาย หมู่ 13 บ้านน้อยสุขเจริญ หมู่ 18 บ้านใหม่พัฒนา จากการที่ข้าพเจ้าได้มาลงพื้นที่ปฏิบัติงานใน 4 หมู่บ้านนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นหลายๆสิ่งที่แปลกใหม่ หลายๆสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน จากทั้งผู้คนในชุมชน จากทีมงานที่ลงพื้นที่ด้วยกันและจากคณาจารย์ที่ควบคุมดูแล
ด้านชุมชน
-ได้เรียนรู้วิถีชุมชน เช่น การแบ่งปันสิ่งของ ของกินกับทางทีมงานที่ไปเก็บข้อมูลตามบ้านเรือนของชาวบ้าน
-ได้รู้จักผู้คนในชุมชนมากยิ่งขึ้น เช่น คนที่ข้าพเจ้าไม่รู้จักในชุมชนก็ได้ทำความรู้จัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ต่อตัวข้าพเจ้าเอง และถือได้ว่าเรามีมิตรไมตรีที่ดีต่อกันและกัน
-ได้เห็นความมีน้ำใจของคนในชุมชนที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือทีมงานอยู่เสนอ อย่างเช่น ทีมงานไปเก็บข้อมูลตามบ้านเรือน ก็จะมีชาวบ้านค่อยให้คำแนะนำและบอกทางไปบ้านหลังอื่นๆต่อ หรือไม่ก็นำทางทีมงานไปยังอีกบ้านเลย ซึ่งถือว่าเป็นน้ำใจที่ทางชาวบ้านมีต่อทีมงานเป็นอย่างมาก
-ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันของผู้คนในชุมชน อย่างเช่น ชุมชนแต่ละชุมชนก็จะมีกฎระเบียบเป็นเป็นของตัวเอง เราเข้าไปในชุมชนเขาก็ต้องปฏิบัติตามกฎของชุมชน และเคารพซึ่งกันและกันเพียบเท่านี้เราก็อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข
ด้านการปฏิบัติงาน
-จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ทำให้เราได้รู้วิธีการเข้าพบชาวบ้าน
-ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การติดต่อกับหน่วยงานของทางภาครัฐและเอกชน
-ได้รับทราบถึงปัญหาต่างๆของชาวบ้าน เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด ปัญหาด้านการศึกษา เป็นต้น
-ได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานแบบเป็นทีม
-ได้เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เนื่องจากการทำงานจะได้มีปัญหาและเราก็จะต้องแก้ไขเฉพาะหน้าให้ได้ หรือแก้ไขเป็นเรื่องๆไป
-ได้ประสบการณ์ทำงานในชุมชน อย่างตัวข้าพเจ้ากำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาสังคม ทำให้ข้าพเจ้าได้รับประสบการณ์ตรงจากการทำงานในครั้งนี้
-ได้รู้จักการเข้าหาคนแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน ทำให้เราอาจพิถีพิถัน เตรียมตัวมากหน่อยเมื่อคนที่จะไปพบมีหน้าที่การงานสำคัญ เช่น การเตรียมตัวในการตัวในการเข้าพบชาวบ้าน ควรเป็นชุดลำรองแบบสุภาพ เพื่อให้เรากลมกลืนกับชาวบ้านให้ได้มากที่สุด ส่วนการเตรียมตัวเข้าพบเจ้าหน้าที่รัฐควรแต่งตัวแบบกึ่งทางการ สุภาพเรียบร้อย เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่ราชการ
ด้านการฝึกทักษะ
-เรียนรู้ทักษะด้านการเงิน ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
-เรียนรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทำให้ได้ทบทวนภาษาอังกฤษ
-เรียนรู้ทักษะด้านสังคม ทำให้รู้ระบบสังคมมากยิ่งขึ้น
-เรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัล ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
ด้านงานเขียน
-ได้เรียนรู้การสะกดคำที่ถูกต้อง
-ได้เรียนรู้การเว้นวรรค การเว้นคำที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
-ได้เรียนรู้การใช้คำที่เหมาะสม การใช้ภาษาเขียนอย่างถูกต้องมากขึ้น
-ได้เรียนรู้การจัดเรียงประโยคที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง
-ได้เรียนรู้การเขียนบทความที่มีความถูกและชัดเจนในเนื้อหา
-ได้เรียนรู้การทบทวนงานเขียนของตัวเองให้ถูกต้องก่อนการเผยแพร่สู่สาธารณะ
ด้านอุปสรรคการทำงาน
-ปัญหาสภาพอากาศ ที่เป็นอุปสรรคต่อการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงมรสุมทำให้เกิดฝนตกติดต่อกันหลายวันจนไม่สามารถลงพื้นที่ปฏิบัติงานได้
-ปัญหาเรื่องการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน ทำให้เข้าใจไม่ตรงกันกับชาวบ้าน ผู้นำชุมชน อาจารย์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การระบุวันเวลานัด อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการฟังผิด หรือจำวันและเวลาผิดได้เป็นบางครั้ง
-ปัญหาการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น หน่วยงานของเอกชนที่เป็นร้านค้าเราอาจจะเข้าไปติดต่อประสานงานได้เลย แต่ถ้าเป็นหน่วยงานของภาครัฐเราต้องเข้าไปติดต่อเพื่อขอเข้าพบ หรือต้องทำการนัดหมายก่อนถึงจะเข้าพบเจ้าหน้าที่ได้
-ปัญหาเรื่องการเขียนบทความ เนื่องจากข้าพเจ้าเขียนบทความไม่เก่ง จึงต้องค่อยๆเรียนรู้ต่อไปจากอาจารย์ผู้ดูแลโครงการ เช่น การเขียนบทความข้าพเจ้าจะต้องทบทวนทุกครั้ง และต้องให้อาจารย์ผู้ดูแลโครงการติชมเสมอก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่อการสื่อสาน
-ปัญหาเรื่องงบประมาณในการจัดการอบรม ที่มีจำนวนจำกัด ซึ่งไม่เพียงพอต่างการปฏิบัติงาน เนื่องจากงบประมาณที่ทางโครงการมีมาให้จัดการอบรมแต่ละครั้งมีจำนวนจำกัด ดังนั้นเราต้องรู้จักบริหารงบประมาณส่วนนี้ให้เพียงพอแต่การจัดอบรม และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-ปัญหาเรื่องการจัดเก็บข้อมูล 01 02 และ CBD ที่มีอุปสรรคเป็นอย่างมาก จากการที่ชาวบ้านไม่อยู่บ้าน การไม่ให้ความร่วมมือ เป็นต้น ถึงจะมีอุปสรรคในด้านนี้ เราก็ยังคงต้องเก็บข้อมูลให้ครบ โดยวิธีการไปเก็บข้อมูลในช่วงเย็น หรือเวลาที่ชาวบ้านเลิกงาน และเน้นการขอความร่วมมือการชาวบ้านและผู้นำชุมชน
-ปัญหาเรื่องการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร เนื่องจากการรวมกลุ่มเป็นสิ่งที่ยากของเกษตรกร เช่น เกษตรกรยังมองไม่เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม และชาวบ้านคิดว่ามีความยุ่งยาก ดังนั้นเราต้องทำให้เขาเห็นความแตกต่างของการรวมกลุ่มกับไม่รวมกลุ่ม และให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับหลังทำการรวมกลุ่ม
จากการที่ข้าพเจ้าได้ทำงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้เป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคและปัญหาต่างๆ แต่ข้าพเจ้าก็พยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ จนผ่านมาได้ด้วยดี จากวันแรกที่เข้าร่วมโครงการจนถึงวันนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับชุมชน ข้าพเจ้าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานในครั้งนี้ ไปพัฒนาและต่อยอดในอนาคตของข้าพเจ้าให้ดียิ่งขึ้น