ข้าพเจ้านายเรืองเดช กิชัยรัมย์ ประเภทประชาชน

หลักสูตรID-10 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความในเดือนนี้ เป็นการเล่าถึงการทำงานที่ผ่านมา ทั้งในสิ่งที่ได้ทำงานในพื้นที่ ได้เรียนรู้ต่างๆในพื้นที่ และในการทำงานในพื้นที่กระผมจะมีทีมงานผู้ปฏิบัติงานจำนวน 4 คนประกอบไปด้วย ประชาชน 1 คน บัณฑิตจบใหม่ 2 คน นักศึกษา 1 คน และมีพื้นที่รับผิดชอบ 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านหนองหว้า บ้านหนองม้า บ้านโพธิ์ไทร บ้านโนนรัง และหัวข้อในการทำงานคือการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

งานที่ได้รับมอบหมาย

ในช่วงเดือนแรกที่ทำงานผมยังคงมีภารกิจติดตัวคืองานเก่าที่ได้ทำยังคงค้างคาอยู่ ซึ่งในช่วงครึ่งเดือนแรกนั้นการทำงานจะเป็นการช่วงทีมงานตรวจสอบเอกสารแต่ยังคงไม่ได้เริ่มลงพื้นที่ ซึ่งทีมงานก็มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงาน

การลงพื้นที่

หลังจากนั้นในการลงพื้นที่ในครั้งแรก คือการลงพื้นที่ไปรายงานตัวกับที่ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและส่วนปกครองที่เกี่ยวข้อง ในกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการลงพื้นที่ครั้งแรกในพื้นที่ใหม่สำหรับกระผม ในบริบทของคนที่มีภูมิลำเนาในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นคนต่างพื้นที่ จึงทำให้ต้องมีการเตรียมตัวในการศึกษาเส้นทาง และการไปพื้นที่ก่อนเวลา และหลังการพบที่ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและส่วนปกครองที่เกี่ยวข้อง ทางคณะทำงาน และอาจารย์ที่ปรึกษาได้เข้าพบนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระสัง ในการพบปะแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้ในความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบริบทในพื้นที่ต่างๆและได้ในคำแนะนำในการลงพื้นและยังถือเป็นการสร้างความร่วมมือก่อนลงพื้นที่ให้กับผู้ปฏิบัติงาน

และต่อมาคือการลงพื้นที่ในการประสานงานในการจัดกิจกรรมยกระดับชุมชนร่วมกับคนในพื้นที่ และผู้นำชุมชน จึงได้ตกลงในทีมว่าจะใช้พื้นที่บ้านโนนรัง หมู่ที่ 15 เป็นพื้นที่ดำเนินงานหลักในการจัดอบรมและการยกระดับผ้าทอ ซึ่งจากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลพบว่าพื้นที่บ้านโนนรังนั้น มีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อคือ ผ้าทอมือ ผ้าสไบขิด ผ้าไหม และหมู่บ้านโนนรังยังเป็นหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ OTOP นวัตวิถี แต่ยังคงขาดการยกรับดับองค์ความรู้ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น จึงทำให้ทีมงานเลือกพื้นที่บ้านโนนรังเป็นจุดศูนย์กลางในการยกระดับ และการจัดกิจกรรมในพื้นที่

การจัดกิจกรรมในพื้นที่ประกอบไปด้วย

ครั้งที่ 1 การจัดกิจกรรม SWOT เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน ร่วมไปถึงอุปสรรค์ และโอกาสในพื้นที่

ครั้งที่ 2 การอบรมการออกแบบลายผ้า ในหัวข้อ“การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างต้นแบบเพื่อพัฒนาหรือยกระดับสินค้า/ผลิตภัณฑ์”(กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ)

ครั้งที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติมาตรฐานงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) (กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ)

และยังมีการจัดกิจกรรมลงพื้นที่รณรงค์การฉีดวัคซีนและการมอบอุปกรณ์ป้องกันโรคระบาด เช่น แมส เจลแอลกอฮอล์ และเอกสารประชาสัมพันธ์การป้องกันตัวเอง ในกับโรงเรียน วัด และชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ

และอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้จัดคือการจัดประกวดชุมชนชมเพลิน ซึ่งเป็นการปลูกต้นไม้และการปรับภูมิทัศน์ในบริเวณชุมชน ให้มีความสวยงาม ซึ่งทางกระผมและทีมงานได้มีการลงพื้นที่ในการสำรวจความต้องการต้นไม้เพื่อการจัดซื้อให้กับชุมชน รวมไปถึงการร่วมลงพื้นที่ปลูกต้นไม้ในพื้นที่แต่ละชุมชน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาการทำงานที่ผ่านมา

– ได้เรียนรู้บริบทพื้นที่ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน และการเรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของพื้นที่ จากคนในพื้นที่ ผ่านการลงชุมชนที่รับผิดชอบ และทำให้ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตของคนในชุมชนจากคนนอกพื้นที่ ซึ่งผมเป็นคนอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ทำให้เห็นการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันของคนในชุมชน ซึ่งชุมชนนี้เป็นชุมชนมีพูดภาษาอีสาน ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงในเขตเมืองจะพูดภาษาเขมร ซึ่งเป็นความโชคดีในการใช้ภาษาที่มีความถนัด และเป็นประโยชน์ในการลงพื้นที่

– ได้รับประสบการณ์จาการจัดกิจกรรมในชุมชน ซึ่งในการจัดกิจกรรมในชุมชนนั้น กระผมจะมีความถนัดในระดับหนึ่ง ด้วยศาสตร์สาขาที่เรียนคือสาขาวิชาการพัฒนาสังคม แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ใหม่ทำให้ กระผมต้องเรียนรู้บริบทต่างๆเพิ่มเติม และในการเรียนรู้นั้นคือประสบการณ์ในการทำงานใหม่ๆในพื้นที่ใหม่ๆ  และอีกหนึ่งสิ่งที่ได้คือทักษะการสังเกต และ การสื่อสาร เพราะทั้งสองสิ่งนี้คือสิ่งสำคัญในการลงชุมชน

– ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดโครงการในชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีสถานการณ์โรคระบาดโคโรน่า ทำให้การจัดกิจกรรมในพื้นที่ต้องมีความระวัง และต้องปฏิบัติตามมาตรการของจังหวัดอย่างเคร่งคัด และอีกส่วนในการจักทำโครงการคือการประสานงานกับผู้นำในชุมชน ชาวบ้านผู้เข้าร่วมการอบรม  และการประสานงานกับวิทยากรที่มาอบรมทั้งในส่วนของการออกแบบกิจกรรมร่วมกัน การศึกษาเนื้อหาที่ควรจัดการอบรมให้กับชาวบ้าน ซึ่งในส่วนนี้กระผมและทีมงานจะได้มีการพูดคุยในทุกครั้งก่อนจัดการอบรมเสมอมา

– ได้เรียนรู้การทำเอกสารงานสารบรรณ การทำหนังสือราชการต่างๆเช่น หนังสือโครงการ หนังสือเชิญวิทยากร หนังสือขออนุญาตสถานที่ หนังสือประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมโครงการ ซึ่งทักษะนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในระบบราชการไทยและในการทำงานอื่นๆเพราะเดิมนั้นการทำหนังสือราชการจะไม่มีในวิชาเรียนสักเท่าไร ซึ่งบัณฑิตที่จบใหม่และคนทั่วไปจะไม่มีความเข้าใจในส่วนนี้ ซึ่งทักษะนี้คือการเรียนรู้ที่มีคุณค่าสำหรับผมเป็นอย่างมาก และเป็นประโยชน์ในการทำงานส่วนอื่นหากครบกำหนดโครงการแล้ว

– ได้เรียนรู้การจัดต่อวีดิโอ จากกิจกรรมพิเศษที่อาจารย์ได้หยิบยื่นให้คือการประกวดโครงการแข่งขันแฮกกาธอน (U2T Hackathon 2021) ในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระผมได้ฝึกกระบวนการคิดและการจัดลำดับเพื่อนำเสนองานที่กลุ่มเราได้ทำ และอีหนึ่งสิ่งที่ท้าทายคือการถ่ายทำและตัดต่อวีดิโอเอง ซึ่งผลงานที่ออกมาถือว่าอยู่ในระดับดี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เข้ารอบแต่ประสบการณ์ในครั้งนี้คือการได้นำเสนองานที่เราได้ทำให้กับชุมชน

– ได้เพิ่มประสบการณ์การเขียนบทความในแต่ละเดือน ซึ่งในแต่ละเดือนนั้นการมอบหมายในหัวข้อการเขียนก็จะแตกต่างกันไป ในส่วนนี้กระผมก็จะมีความพยายามเสมอและผลที่ออกมาอาจจะยังไม่ดีสักเท่าไร แต่การที่ได้นำเสนอในสิ่งที่เราได้ทำถึงแม้ว่าจะไม่ถูกต้องหรือถูกใจใคร แต่สิ่งที่ได้นำเสนอไปนั้นคือสิ่งที่กระผมได้เขียนจากการทำงานจริง และขอบคุณทุกคำชี้แนะในการเขียนงานในทุกครั้ง

ปัญหาและอุปสรรค์ในการทำงาน

– ปัญหาในการลงพื้นที่ ด้วยที่พักอาศัยในปัจจุบันของผมอยู่ที่อำเภอห้วยราช และมีระยะทางที่ห่างจากพื้นที่ปฏิบัติงานอยู่มาก ทำให้ในส่วนใหม่การลงพื้นที่เก็บข้อมูล กระผมจะไม่ค่อยได้ลงและอีกหนึ่งสิ่งคือสภาพอากาศในการทำงานซึ่งทำให้ไม่สะดวก ซึ่งในส่วนนี้ ต้องขอบคุณสมาชิกในกลุ่มที่เข้าใจและได้ทำหน้าที่แทนกระผม

– ปัญหาในการจัดโครงการ เช่น บางครั้งในวันที่กำหนดไว้วิทยากรไม่ว่างทำให้กิจกรรมไม่สามารถจัดได้ซึ่งทำให้การจัดกิจกรรมให้กับชาวบ้านล่าช้าไป

– ปัญหาในสถานการณ์โรคระบาดโคโรน่า 19 ด้วนในช่วงหนึ่งมีการแพร่ระบาดในพื้นที่ทำให้การลงพื้นที่มีความลำบากและทำให้กระผมต้องมีการป้องกันและระวังตัวมากขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองและเป็นการช่วยเหลือชุมชนเพื่อเราไม่รู้ว่าเราจะเป้นคนเอาเชื้อไปแพร่ในพื้นที่หรือไม่สิ่งที่เลยเป็นอุปสรรค์ในการทำงาน

– ปัญหาในการเข้าร่วมการอบรมกับคนในชุมชน เพราะการกิจกรรมอบรมหลายครั้งทำให้ชาวบ้านรู้สึกไม่อยากที่เข้ามาอบรม สามารถดูจากจำนวนคนที่เข้าอบรมและอีกส่วนคือความไม่มั่นใจในการจัดโครงการซึ่งเป็นสิ่งที่กระผมและทีมงานต้องเรียนรู้และปรับการทำงานตลอดทุกครั้งที่ได้ลงพื้นที่ในการจัดกิจกรรม

ความประทับใจในการทำงาน

คือความเมตตาที่ได้รับจากผู้นำในชุมชน ชาวบ้าน ร่วมไปถึงอาจารย์ที่ปรึกษาในโครงการที่ได้ให้คำแนะนำใรการทำงาน ตลอดจนสมาชิกในทีมงานในการปฏิบัติงานที่ได้ช่วยกันทำงานเพื่อการยกระดับชุมชนในครั้งนี้ ถึงแม้จะเหลือเวลาอีกไม่มาก การทำงานก็จะมีความเข้มข้นขึ้นในข่วงท้าย และอีกหนึ่งสิ่งที่กระผมมีความประทับใจคือความน่ารักในพื้นที่ทั้งคนและบริบทต่างๆ ที่มีความเป็นกันเองมากๆในพื้นที่ ด้วยการอยู่ด้วยกับแบบญาติพี่น้องมีอะไรก็พูดกันได้ง่ายไม่ค่อยมีข้อขัดแย้งในพื้นที่เลย และจาการทำงานที่ผ่านมากระผมยังคงต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขึ้นอีก เพื่อความต้องใจที่ได้ตกลงที่คิดไว้ว่าจะพัฒนาสินค้าในพื้นที่และการสร้างอัตลักษณ์ให้ชุมชนในพื้นที่ ที่ดูแลเป็นที่รู้จักของคนอื่นๆ

อื่นๆ

เมนู